วิธีใช้ปูแดง
 ประสบการณ์เกษตรกร
 ผลงานของเรา
 
 โปรโมชั่นสารปรับปรุงดิน
 
 งานสัมมนาพิเศษ
 ทีมงานมืออาชีพ
 
 กิจกรรม & ข่าวสาร
 สาระเกษตรไทย
 
 สื่อการขาย
 วิธีการชำระเงิน
 ดาวน์โหลดเอกสาร
 
 

 

 

 
รู้จัก  "ไคโตซาน "
 
     ไคโตซาน เป็นไบโอโพลิเมอร์ธรรมชาติอย่างหนึ่ง ซึ่งมีองค์ประกอบสำคัญในรูปของ D – glucosamine พบได้ในธรรมชาติ โดยเป็นองค์ประกอบอยู่ในเปลือกนอกของสัตว์พวก กุ้ง ปู แมลง และเชื้อรา เป็นสารธรรมชาติที่มีลักษณะโดดเด่นเฉพาะตัว คือ ที่เป็นวัสดุชีวภาพ ( Biometerials ) ย่อยสลายตามธรรมชาติ มีความปลอดภัยในการนำมาใช้กับมนุษย์ ไม่เกิดผลเสียและปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม ไม่เกิดการแพ้ ไม่ไวไฟและไม่เป็นพิษ ( non – phytotoxic ) ต่อพืช นอกจากนี้ยังส่งเสริมการเพิ่มปริมาณของสิ่งมีชีวิตที่มีประโยชน์
   
    ไคโตซานกับการเกษตรด้านการควบคุมศัตรูพืช
    1. ยับยั้งและสร้างความต้านทานโรคให้กับพืช
    การยับยั้งเชื่อสาเหตุของโรคพืช ได้แก่ เชื้อไวรัส แบคทีเรีย และเชื้อราบางชนิด โดยไคโตซานจะซึมผ่านเข้าทางผิวใบ ลำต้นพืช ช่วยยับยั้งการเกิดโรคพืชในกรณีที่เกิดเชื่อโรคพืชแล้ว (รักษาโรคพืช) และสร้างความต้านทานโรคให้กับพืชที่ไม่ติดเชื้อ โดยไคโตซานมีคุณสมบัติที่สามารถออกฤทธิ์เป็นตัวกระตุ้น (elicitor) ต่อพืชได้ จะกระตุ้นระบบป้องกันตัวเองของพืช ทำให้พืชผลิตเอนไซม์และสารเคมีเพื่อป้องกันตนเองหลายชนิด พืชจึงลดโอกาสที่จะถูกคุกคามโดยเชื่อสาเหตุโรคพืชได้ 
    2. ทำให้เกิดโอกาสการสร้างความต้านทานของพืชต่อแมลงศัตรูพืช
    ไคโตซานจะกระตุ้นให้มีการผลิตสารลิกนินและแทนนินของพืชมากขึ้น พืชสามารถป้องกันตัวเองจากการกัด – ดูด ทำลายของแมลงศัตรูพืช จะสังเกตุว่าต้นพืชที่ได้รับไคโตซานจะมีแวกซ์เคลือบที่ผิวใบ
    3. ช่วยเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในดิน
    ไคโตซานสามารถส่งเสริมการเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในดิน เช่น เชื้อ Actiomycetes sp. Trichoderma spp. ทำให้เกิดการลดปริมาณของจุลินทรีย์ที่เป็นเชื้อโรคพืช เช่น เชื้อ ( Furarium ) Phythophthora spp. ฯลฯ 
   
    รายชื่อศัตรูพืชที่มีการทดสอบแล้วว่าไคโตซานมีศักภาพในการควบคุม
    1. การกระตุ้นให้พืชมีความต้านทานแมลงศัตรูพืช คือ หนอนใยผัก หนอนคืบและอื่น ๆ  
    การใช้ การพ่นทางใบ ลำต้น (ขึ้นกับส่วนที่ศัตรูพืชอาศัยอยู่)  
    อัตราการใช้ 10 – 20 ซีซี / น้ำ 20 ลิตร
    2. การยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อสาเหตุโรคพืช   
    - ไวรัสโรคพืช   
    - แบคทีเรีย เช่น แคงเคอร์ ใบจุด   
    - เชื้อรา เช่น เชื้อไฟทอปธอร่า พิเทียม ฟิวซาเรียม Botrytis cineres Rhizopus stolonifer  
    - แอนแทรคโนส เมลาโนส ราน้ำค้าง ใบติด ราขาว รากเน่า
    – โคนเน่า ใบจุด โรคใบสีส้ม ใบลาย
 

ประโยชน์ของไคโตซานด้านการเกษตร

 

คุณสมบัติ

วิธีการใช้

อัตรา

1. แมลง : กระตุ้นให้พืชสร้างความภูมิคุ้มกัน โดยผลิตพืช เอนไซม์และสารเคมีป้องกันตนเอง เช่น สร้างลิกนิน แทนนิน และกระตุ้นให้สร้างไคติเนส ซึ่งจะย่อยผนังเปลือกหุ้มตัวแมลง ศัตรูพืช เช่น หนอนใย หนอนคืบ

พ่นทางใบ

10 – 20 ซีซี / น้ำ 20 ลิตร

2. โรค : ยับยั้ง การเจริญเติบโตเชื้อสาเหตุของโรคพืชรักษาและสร้างภูมิต้านทานโรค
- ไวรัสโรคพืช
- แบคทีเรีย เช่น แคงเคอร์ ใบจุด
- เชื้อรา เช่น ไฟทอปธอร่า พิเทียม
Botrytis cineres Rhizopus stolonifer
แอนแทรคโนส เมลาโนส ราน้ำค้าง ใบติดราขาว รากเน่า -โคนเน่า โรคใบจุด โรคใบสีส้มข้าว ใบลาย

พ่นทางใบ

 

10 – 50 ซีซี / น้ำ 20 ลิตร

 

3. ใช้เคลือบเมล็ดพันธุ์ ลดความเสียหายจากการถูกทำลายโดยเชื้อรา และแมลง

ชุบเมล็ดพันธุ์นาน 6 ชั่วโมง

10 ซีซี / น้ำ 1 ลิตร

 

4. ใช้ควบคุมไส้เดือนฝอย (รวมทั้งเชื้อรา เช่น Furarium spp. )
(ในฝ้าย พืชผัก กล้วยไม้ ผลไม้ ฯลฯ )
* วิธีการนี้ยังใช้ต้นทุนสูงไม่คุ้มการลงทุน

ใช้เป็นรูปผง ใส่ลงดินแล้วไถกลบลึก 6-8 นิ้ว
2-4 สัปดาห์ ก่อนปลูกพืช

1 กรัม / ตารางวา ( 1 ตัน / Acre ) ( 3% ปริมาตร / ปริมาตร)

5. ช่วยเพิ่มจำนวนจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ เช่น Actiomycetes sp. Trichoderma spp. ในดิน ลดจุลินทรีย์ที่เป็นเชื้อโรค เช่น Furarium sp. Phythozhthora spp.

 

 

6. เพิ่มความเจริญเติบโตในพืชผัก ได้แก่ คะน้า หอม หน่อไม้ฝรั่ง ผักต่าง ๆ ( ผลดีกว่าไม่พ่น 20% และน้ำหนักมากกว่า 20-40% )

ฉีดพ่นทุก ๆ 7วัน
( 3-4 ครั้ง )

10-15 ซีซี

 

 
เอกสารอ้างอิง
1. ภาวดี เมธะดานนท์, 2544. ความรู้เกี่ยวกับไคติน – ไคโตซาน. ศูนย์เทคโนโลยีโลหะวัสดุแห่งชาติ. 10 หน้า.
2. รัฐ พิชญางภรู, 2543. คุณสมบัติและกลไกการทำงานของสารไคติน – ไคโตซานที่สามารถช่วยเพิ่มผลผลิต ทางการเกษตร. ภาควิชาชีวเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 4 หน้า.
3. สุวลี จันทร์กระจ่าง, 2543. การใช้ไคติน – ไคโตซานในประเทศไทยสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย. ปทุมธานี. 5 หน้า.
 
 

Copyright © 2024 www.poodangkaset.com All Rights Reserved.
ทำเว็บ  ออกแบบเว็บ  Web Design  เว็บสำเร็จรูป  เว็บไซต์สำเร็จรูป