Revolutionary Press Agency : Online Journal and News Agency for Peace
สำนักสื่อปฏิวัติ  : วารสารข่าวออนไลน์เพื่อสันติภาพ
8 มิ.ย. 2554 กองหน้าประชาชนรุ่นใหม่ อนุสรณ์ สมอ่อน ตอบคำถามคาใจทำไมต้องปฏิวัติประชาธิปไตย? 
 คำประกาศการนำใหม่
โดย นายชิงชัย มงคลธรรม
หัวหน้าพรรคความหวังใหม่
รักษาการประธานคณะกรรมการบริหารขบวนการประชาธิปไตยแห่งชาติ
 
 
          ความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ตลอดระยะเวลาทางประวัติศาสตร์อันยาวไกลตลอดมาตั้งแต่อดีตจวบจนถึงกาลปัจจุบัน และตั้งแต่ปัจจุบันถึงอนาคตกาลอันคดเคี้ยวยาวนาน ล้วนแต่เกิดจาก “การนำที่ถูกต้องสอดคล้อง” กับเงื่อนไขสถานการณ์ต่าง ๆ ทั้งสิ้น 

          "การนำทางจิตวิญญาณ” ที่บรรดาศาสดาทั้งปวงที่สถาปนาการนำต่อมวลมนุษยชาติ อันเป็นการนำสูงสุดในด้านนามธรรมที่มองไม่เห็นแต่มีพลังการนำที่ทรงพลังอย่างยิ่งยวดมากกว่าการนำทางรูปธรรมต่างๆ เช่นการนำทางความคิด การนำทางการเมือง และการนำทางการจัดตั้ง เช่น ศาสดาที่นำมนุษยชาติ และคำสอนหรือศาสนาที่ทรงอำนาจตลอดระยะเวลาอันยาวนานแม้ว่าศาสดาจะจากโลกไปนานแล้วก็ตามนับพันๆปี เช่น ศาสนาพราหมณ์ ฮินดู พุทธ คริสต์ อิสลาม เป็นต้น

          ต่อมามีการนำอีกอย่างหนึ่งคือ “การนำทางความคิด” ซึ่งเป็นการนำที่เป็นรูปธรรมหรือเป็นวิทยาศาสตร์ที่เป็นการนำสูงสุด การนำทางความคิดได้นั้นจะต้องเป็นความคิดระดับลัทธิ (Doctrine) คือ ต้องครบถ้วนเป็นระบบทั้งด้านทฤษฎีทางปรัชญา ทฤษฎีทางรัฐศาสตร์ ทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ คือ ต้องเข้าใจและเข้าถึงลัทธินั้นๆ ทั้ง๓ ด้าน ทางทฤษฎีจึงจะเกิดการเหนี่ยวนำทางความคิดขึ้น  เพราะตามธรรมชาติของความคิดมนุษย์มีส่วนประกอบต่างๆหรือที่เรียกว่าทั้งหมดของความคิดคือ “ระบบความคิด” (Ideology) ถ้าเรียกด้านอุดมการณ์คือลัทธิ เช่นลัทธิประชาธิปไตย หรือลัทธิคอมมิวนิสต์ หรือลัทธิเผด็จการ เป็นต้น  ดังนั้น การนำทางความคิด คือการเข้าใจและเข้าถึงลัทธิตั้งแต่ “จุดยืน” (Standpoint) อันเป็นตัวความคิด ซึ่งมี ๒ จุดยืนคือ จุดยืนเห็นแก่ตัวกับจุดยืนเห็นแก่ส่วนรวม ต่อไปเอาจุดยืนไปมองปัญหาต่างๆ เช่นปัญหาสังคม (การเมือง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม) ก็จะบังเกิดเป็นความเห็น หรือทฤษฎี (Theory) แล้วแปรให้เป็นรูปธรรมเป็น “แนวทาง” (Line) แล้วแปรเป็นรูปธรรมมากขึ้นเป็น “หลักนโยบาย” แปรเป็นรูปธรรมมากขึ้นไปอีกเป็น “นโยบาย” แปรเป็นรูปธรรมอย่างที่สุดเป็น “มาตรการ” (Measure) เป็นวิธีการ (Means) ทั้งหมดนั้นคือ “การนำทางความคิด”

          ต่อจากการนำทางความคิดคือ “การนำทางการเมือง” ซึ่งเป็นการนำรองลงมา คือการนำเอาความคิดมาประยุกต์เข้ากับแนวโน้มทางประวัติศาสตร์และเงื่อนไขลักษณะพิเศษทางสังคมขึ้นเป็นการต่อสู้ให้สำเร็จหรือประสบชัยชนะทางการเมืองคือ  การกำหนดขึ้นเป็นการต่อสู้เพื่อไปสู่ความสำเร็จขั้นสุดท้ายเป็น “ยุทธศาสตร์” (Strategy) และเป็น “ยุทธวิธี” (Tactic)

        ยุทธศาสตร์คือความมุ่งหมาย ยุทธวิธีคือวิธีการในการต่อสู้ทางการเมือง  เช่น ยุทธศาสตร์ประชาธิปไตย ยุทธศาสตร์คอมมิวนิสต์ ส่วนยุทธวิธีคือวิธีการต่อสู้ที่จะไปสู่ความสำเร็จตามยุทธศาสตร์นั้น ซึ่งต้องมี “การนำทางยุทธศาสตร์” ที่เหนือกว่าศัตรูคือ “จุดเข้าตี” และมีความฉลาดเฉพาะหน้าทางยุทธวิธีที่เหนือกว่าศัตรูสามารถพลิกเอาชนะได้ในทุกสถานการณ์ (Tactical Leadership) เช่นยุทธศาสตร์ประชาธิปไตย ยุทธวิธีปฏิวัติสันติ  เป็นต้น เมื่อได้เสนอขึ้นมาแล้วก็จะสามารถสถาปนาการนำทางการเมืองได้สำเร็จ คือต่อสู้ไปก็จะชนะไม่ว่าคนจะร่วมมากหรือน้อยก็ตาม ไม่ใช่คนเข้าร่วมน้อยจะพ่ายแพ้หรือคนเข้าร่วมมากจะมีชัยชนะเสมอไป ดังคำกล่าวว่า “ถ้าการเมืองถูกมีทหารคนเดียวเหมือนมีทั้งกองทัพ แต่ถ้าการเมืองผิด มีทหารทั้งกองทัพเหมือนไม่มีทหารสักคน” นั่นหมายถึง การเมืองกับการจัดตั้ง คือ การจัดตั้งจะมีมากมายสักเพียงใดคือมีทหารหรือมวลชนมากสักเท่าใดก็ไม่ชนะถ้าการเมืองผิดหรือการเมืองแพ้การจัดตั้งก็จะแพ้ตามไป 

              การเมืองคือการต่อสู้หรือสงครามเพื่อบรรลุชัยชนะหรือความสำเร็จ เป็นศิลปะศาสตร์ขั้นสูง หรือ เป็นศิลปะศาสตร์แห่งสงคราม (Art of War) การนำทุกชนิดมาชี้ขาดที่การเมืองคือ “แพ้หรือชนะ” หรือ “สำเร็จหรือล้มเหลว”

              เมื่อมียุทธวิธีที่แหลมคมเหนือกว่าแล้วก็ขึ้นอยู่กับผู้ปฏิบัติจะสามารถปฏิบัติยุทธวิธีได้หรือไม่? ถ้าปฏิบัติได้จนครบถ้วนก็คือ ชนะ หรือ สำเร็จประการเดียว ทั้งหมดนี้คือการเมือง

             การนำทางการจัดตั้งอันเป็นการนำรองจากการนำทางการเมือง มีอำนาจ หรือมีพลังการเหนี่ยวนำน้อยที่สุดกว่าทุกการนำ  การจัดตั้งองค์การ (Organization) ไม่ว่าจะเป็นองค์การมวลชน (Mass Organization) องค์การพรรคการเมือง (Party Organization) องค์การรัฐ (State Organization) จะมีอำนาจการนำเพื่อให้สมาชิกขององค์การนั้นๆปฏิบัติตามมติ นโยบายหรือกฎระเบียบใดๆได้ระดับหนึ่ง  แต่อยู่ในระดับการเหนี่ยวนำทางองค์การ ไม่ใช่การนำทางจิตวิญญาณ การนำทางความคิดหรือการนำทางการเมือง แต่องค์การสามารถจะนำทางการเมือง นำทางความคิด และนำทางจิตวิญญาณได้ ขึ้นอยู่กับว่าองค์การนั้นได้มีลัทธิศาสนา ลัทธิการเมือง ยุทธศาสตร์การต่อสู้และหลักการจัดตั้งที่สมบูรณ์หรือไม่ ? ถ้ามีครบก็นำทั้ง ๔ ระดับได้ แต่ถ้าไม่ครบก็นำไม่ได้หรือนำได้เท่าที่มีเท่านั้น

              การนำใหม่คืออะไร ? คือไม่ใช่การนำแบบเก่าที่ผิดพลาดทั้งสิ้น เช่นการนำทางจิตวิญญาณที่ผิดมิจฉาทิฎฐิ การนำทางความคิดเป็นลัทธิรัฐธรรมนูญหรือลัทธิเผด็จการ การนำทางการเมืองที่มียุทธศาสตร์ ม็อบ ปฏิรูป เลือกตั้ง ยุบสภา ลาออก การนำทางการจัดตั้งที่เป็นการพรรคสส.หรือม็อบ หรือรัฐบาลเก่า รัฐสภาเก่า รัฐธรรมนูญเก่า
 
 
              พรรคความหวังใหม่ภายใต้การนำใหม่ ละทิ้งการนำเก่าที่ผิด และมีการนำใหม่ที่ถูกต้องดังต่อไปนี้คือ

พรรคความหวังใหม่  ไม่ยึดถือการนำทางจิตวิญญาณที่ผิด ที่เป็นมิจฉาทิฎฐิ เช่น การเมืองไม่เกี่ยวกับศาสนา แต่ประสานโมกษธรรมเข้ากับการเมือง นักการเมืองต้องปฏิบัติโมกษธรรมทางศาสนาของตน

พรรคความหวังใหม่ ไม่ยึดถือการนำทางความคิดที่ผิด เช่น ลัทธิรัฐธรรมนูญหรือลัทธิเผด็จการแต่ใช้ลัทธิประชาธิปไตย

พรรคความหวังใหม่ ไม่ยึดถือการนำทางการเมืองผิด เช่น ระบอบเผด็จการรัฐสภาและระบอบเผด็จการรัฐประหาร แต่ยึดถือการสร้างระบอบประชาธิปไตยอย่างสันติวิธีตามวิถีแห่งอหิงสาพุทธ

พรรคความหวังใหม่     ไม่ยึดถือการนำทางการจัดตั้งที่ผิด เช่น เป็นพรรค สส. พรรคค้าการเมือง พรรคนัก
เลือกตั้ง และพรรคนักการเมือง แต่ยึดถือหลักการจัดตั้งเป็นพรรคมวลชนแบบธรรมะประชาธิปไตย
 
 
 การนำทางจิตวิญญาณ การนำใหม่โดยพรรคความหวังใหม่
     
 
               ศาสนาคือสิ่งแรกที่มนุษยชาติรู้จัก ต่อมาคือปรัชญา เพราะมนุษย์เกิดมาพร้อมความกลัวหรืออวิชชา  มนุษย์จึงต้องแก้ปัญหาความกลัวอันเป็นปัญหาจิตวิญญาณด้วยการยึดถือเอาสิ่งต่าง ๆ เป็นที่พึ่งจึงเป็นศาสนาแห่งศาสดาหลายองค์  และต่อมาเป็นศาสนาพยากรณ์ ซึ่งแบ่งออกเป็นศาสนาแบบอัตตากับศาสนาแบบอนัตตา  ดังนั้นศาสนาจึงเป็นศาสตร์พ่อ (Father of Science) มาก่อนศาสตร์ทั้งปวงและมีความสำคัญยิ่งยวดเพราะเป็นแก่นแท้ของความเป็นมนุษย์ (Human Essence) ดังพุทธพจน์ว่า “ ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นใหญ่ มีใจเป็นประธาน สำเร็จด้วยใจ” 

               การนำทางจิตวิญญาณ เช่นศาสนาพราหมณ์มีอายุยืนยาวเก่าแก่ถึงประมาณ 5,000-6,000 ปี นำพามวลมนุษยชาติทางจิตวิญญาณอย่างมีพลังด้วยคุณธรรมแม้จะเป็นมิจฉาทิฏฐิก็ตาม ปฏิบัติกิจกรรมตั้งแต่เกิดจนตายอย่างไม่มีการนำใดเหนือกว่า  ต่อมาพระพุทธเจ้าพัฒนาจากพราหมณ์มาสู่พุทธอันเป็นพัฒนาการสูงสุดแห่งมวลมนุษยชาติ เป็นผู้นำสูงสุดที่แก้ปัญหาวิชาการทางจิตวิญญาณสำเร็จในโลกทางจิตวิญญาณ (Spiritual World) และเป็น “วิทยาศาสตร์ทางจิตวิญญาณ” (Spiritual Science) ไม่ใช่มีเพียงวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ (Natural Science) กับวิทยาศาสตร์สังคม (Social Science) อย่างเช่นนักวิชาการของบางลัทธิการเมืองได้อธิบายไว้เท่านั้น เพราะ “คำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นวิทยาศาสตร์ที่เหนือกว่าวิทยาศาสตร์หลายขั้นอีกด้วย”

                ศาสดาเช่น พระพุทธเจ้า พระเยซูคริสต์  พระมูฮัมหมัดล้วนแต่เป็นผู้นำปฏิวัติที่ยิ่งใหญ่ ที่ลึกซึ้งสูงสุด นำไปสู่การปฏิวัติทางการเมือง ทำลายความไม่เป็นธรรมทั้งปวง เช่น พระพุทธเจ้าทำลายการกดขี่ทางสังคมของระบบวรรณะพราหมณ์ลงได้  พระเยซูคริสต์ทำลายการปกครองยุคทาสแห่งอาณาจักรโรมันอันโหดร้ายลงได้  ท่านนะบีมูฮัมหมัดทำลายการกดขี่ของเมืองต่างๆในยุคนั้น สถาปนารัฐใหม่ที่มีคุณธรรมได้ 
          
                การสร้างสังคมที่ไม่เห็นแก่ตัว ไม่ว่าจะเป็นอุดมคติของลัทธิใดก็ตาม ก็ไม่มีทางสำเร็จตลอดมาเพราะคนสร้างยังเห็นแก่ตัว คือการปฏิวัติทุกชนิด ไม่สามารถแก้ปัญหาถึงขั้นมนุษยปฏิวัติได้ (Human Revolution) ทำได้แค่เพียงปฏิวัติทางการเมืองเช่น ปฏิวัติประชาธิปไตย ปฏิวัติคอมมิวนิสต์ นั่นคือ แก้ปัญหาวัตถุได้ แต่แก้ปัญหาจิตใจไม่ได้  โลกจึงไม่ว่างจากสงครามและไม่อาจมีสันติภาพโลกถาวรได้ แม้จะเรียกร้องสันติภาพกันมากมายเพียงใดก็ตาม

              มนุษย์ที่เข้าถึงศาสนาต่างๆ จึงมีพลังร่วมกันอย่างกว้างใหญ่ไพศาลและยืนหยัดตลอดกาลนานในการปฏิบัติภารกิจเพื่อมวลมนุษยชาติและระบบลัทธิทั้งหลาย ทุ่มเททุกสิ่งทุกอย่างให้แก่ภารกิจ สามารถเอาชนะอุปสรรคทั้งปวงได้อย่างสันติอหิงสา ละเอียดประณีต สุขุมคัมภีรภาพ มีความรักความเมตตากรุณาเป็นพื้นฐานทางจิตวิญญาณ

               ภารกิจทางประวัติศาสตร์ (Historical Mission) อันเป็นภารกิจแบ่งยุคแบ่งสมัย เช่น การปฏิวัติประชาธิปไตยหรือการสร้างประชาธิปไตย ซึ่งประเทศประชาธิปไตยทั้งหลายได้ทำปฏิวัติประชาธิปไตยแบบรุนแรง (Violent Revolution) แต่ประเทศไทยนั้นเป็นประเทศผู้นำในการปฏิวัติสันติ (Peaceful Revolution) อันเป็นการปฏิวัติขั้นสูงสุดของขบวนมนุษยชาติ   จะกระทำสำเร็จด้วยการปฏิวัติสันติตามหลักพุทธอหิงสาธรรม  โดยการประสานโมกษธรรมเข้ากับการเมือง หรือนักปฏิวัติจะต้องปฏิบัติโมกษธรรมให้เข้าถึงโมกษธรรมระดับใดระดับหนึ่ง คือ โสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี อรหันต์ เป็นต้น จึงจะสามารถทำปฏิวัติสันติตามหลักพุทธอหิงสาธรรมได้  ดังเช่น คำกล่าวของผู้นำทางความคิดผู้ยิ่งใหญ่ของไทยท่านหนึ่งว่า....

           “แต่ก็เห็นความจำเป็นว่าถ้าจะแก้ไขประเทศไทยให้ได้แล้ว ต้องเข้าถึงโมกษธรรมสักระดับหนึ่ง เพราะระบอบเผด็จการรัฐสภาในประเทศแข็งมาก เพราะหลอกประชาชนให้เชื่อว่าเป็นระบอบประชาธิปไตยเสียแล้ว พอดีพอร้ายไม่สามารถจะสร้างประชาธิปไตยในประเทศไทยได้ กระผมจึงเสนอให้ผู้ต้องการจะแก้ไขประเทศไทยปฏิบัติโมกษธรรม เพื่อยึดถือแนวทางการต่อสู้สันติตามหลักพุทธอหิงสาธรรมให้ได้จริง  ถ้าไม่จริงต่อแนวทางนี้แล้วก็อย่ามาแก้ไขประเทศไทยเสียให้ยากเลย” (จากหนังสือนายประเสริฐชี้แจงเล่ม 13 วันที่ 23 ต.ค.37)

             หรือจะให้เป็นไปตามคำเทศนาของท่านพุทธทาสที่ว่า “เย็นท่ามกลางเตาหลอมเหล็ก” หรือ “ถือเอาการปฏิบัติหน้าที่เป็นการปฏิบัติธรรม” เมื่อประยุกต์การปฏิบัติธรรมเข้ากับภารกิจการปฏิวัติประชาธิปไตยหรือการสร้างประชาธิปไตย โดยถือเอาการปฏิวัติประชาธิปไตยเป็นอุปกรณ์หรือเป็นเงื่อนไขให้แก่การปฏิบัติโมกษธรรมคือ “ถือเอาการปฏิบัติปฏิวัติเป็นการปฏิบัติธรรม” หรือสรุปเป็นรูปธรรมเป็นคุณธรรมสำหรับนักปฏิวัติ 3 ไม่ คือ “ไม่อยากใหญ่ ไม่อยากดัง ไม่อหังการ์มะมังการ์”

            ดังเช่นระบบสุริยะ(Solar System) มีดวงอาทิตย์เป็นผู้ถือดุล ดำรงความเป็นระบบอยู่ได้และเหนี่ยวนำดวงดาวทุกดวงให้เคลื่อนไหวไปในวิถีโค้งแห่งทางช้างเผือก  กล่าวอย่างถึงที่สุดแล้วสุญญตาหรือสภาวธรรมแห่งความว่างคือผู้ถือดุลที่แท้จริง ดังเช่น ผู้ที่เข้าถึงสภาวธรรมแห่งสุญญตาสูงสุดคือพระพุทธเจ้า  สามารถเหนี่ยวนำทางจิตวิญญาณต่อพระองค์เองและเหนี่ยวนำต่อพุทธศาสนิกชนบริษัททั้ง 4 และศาสดาพร้อมทั้งสาวกทั้งหลาย การเหนี่ยวนำทางจิตวิญญาณนี้จะมีพลังเหนี่ยวนำให้มนุษย์ผ่าทะลุทะลวงทุกสิ่งทุกอย่างแม้กระทั่งความกลัว กิเลสตัณหา อัตตาตัวตน สามารถปฏิบัติภารกิจทางประวัติศาสตร์อันใหญ่หลวงที่ต้องใช้เวลาอันยาวนานได้สำเร็จอย่างที่ไม่มีการนำชนิดใด ๆ จะนำได้ยิ่งกว่าเลย
          
            ในลัทธิคอมมิวนิสต์มี 3 การนำเท่านั้น คือการนำทางการจัดตั้ง การนำทางการเมือง และการนำทางความคิด เพราะคอมมิวนิสต์ยึดถือลัทธิวิทยาศาสตร์เป็นอุดมการณ์ เช่นลัทธิสังคมนิยมวิทยาศาสตร์ อันเป็นความเชื่อสูงสุดหรือเป็นความเชื่อระดับลัทธิหรือความเชื่อระดับอุดมการณ์ จินตภาพของคำว่าวิทยาศาสตร์ของคอมมิวนิสต์คือ ‘Seeking Truth from Concrete Fact’ หรือแปลว่า “ค้นหาความจริงจากรูปของวัตถุ” ฉะนั้น วิทยาศาสตร์ไม่สามารถค้นหาความจริงจากเนื้อของวัตถุที่มีสภาวะเป็นนามธรรมได้  นั่นคือ ค้นได้แต่สังขตธรรม ส่วนอสังขตธรรมเช่น สุญญตา อนัตตา นิพพาน วิทยาศาสตร์ไม่สามารถค้นพบได้ แม้ว่าจะมีสภาวะเช่นนี้อยู่จริง ถ้าวิทยาศาสตร์ค้นไม่พบหรือพิสูจน์ไม่ได้ ก็ไม่ยอมรับ ฉะนั้นการนำจึงมีแต่การนำที่วิทยาศาสตร์ค้นพบพิสูจน์ได้เท่านั้นจึงไม่มีการนำทางจิตวิญญาณ   

            ดังนั้น ลัทธิมาร์กซ์ -ลัทธิเลนิน จึงไม่สามารถแก้ปัญหาปรัชญาให้ตกไปได้  นั่นคือ ความสัมพันธ์ระหว่างจิตกับวัตถุ อันเป็นส่วนสำคัญที่สุดของลัทธิ คือทฤษฎีทางปรัชญา และเป็นสาเหตุหนึ่งที่สำคัญของความผิดพลาดบกพร่องของลัทธิมาร์กซ์ อันนำมาสู่ความล่มสลายของคอมมิวนิสต์ที่ได้อำนาจรัฐทั่วโลกเช่น  คอมมิวนิสต์โซเวียตและคอมมิวนิสต์ยุโรปตะวันออก รวมทั้งที่อื่นๆทั่วโลก ซึ่งผู้รู้คอมมิวนิสต์ชาวไทยคนหนึ่งได้วิเคราะห์ถึงเหตุแห่งความล่มสลายของคอมมิวนิสต์ไว้ว่า

             1. แก้ปัญหาทฤษฎีทางปรัชญาความสัมพันธ์ระหว่างจิตกับวัตถุไม่ตก  
             2. มีการนำปฏิวัติที่ผิดคือนำโดยเผด็จการชนกรรมาชีพ ที่ถูกต้องต้องนำโดยประชาชนคือเอา
การนำมาไว้ที่ประชาชนคือเอาอำนาจไว้ที่ประชาชน  
             3. ความเห็นที่ขัดแย้งระหว่างมาร์กซ์กับเลนินในปัญหาการปฏิวัติโดยต้องปฏิวัติพร้อมกันของ
มาร์กซ์กับต้องปฏิวัติในในประเทศที่มีเงื่อนไขสุกงอมแล้วขยายไปประเทศอื่นตามเงื่อนไขของเลนิน

             เมื่อลัทธิคอมมิวนิสต์ปฏิเสธศาสนาคือปฏิเสธการนำทางจิตวิญญาณโดยกำหนดความคิด
ของคอมมิวนิสต์ที่ถูกต้องคือ ปัญหาจุดยืนประกอบด้วย3 ด้าน คือ “มีจุดยืนชนกรรมาชีพ มีทัศนะวัตถุนิยม มีมรรควิธีวิภาษ” จึงไม่มีการนำทางจิตวิญญาณเลย  ให้ยึดถือแต่ลัทธิคอมมิวนิสต์อย่างเดียวเท่านั้น ซึ่งลัทธิคอมมิวนิสต์ไม่ใช่ลัทธิการนำทางจิตวิญญาณ  แต่เป็นลัทธิการนำทางความคิดอันเป็นวิทยาศาสตร์ที่เป็นรูปธรรม ซึ่งจัดตั้งความเป็นมนุษย์ (Human Being, Humankind) เพราะมนุษย์มีด้านจิตวิญญาณเป็นแก่นแท้ (Human Essence) ซึ่งสะท้อนอยู่กับทุกศาสนานั่นเอง ถ้ามนุษย์ไม่มีด้านจิตวิญญาณแล้วจะมีภาพสะท้อนเป็นศาสนาได้อย่างไร และยังเป็นศาสตร์แรกก่อนศาสตร์ของมนุษย์อีกด้วย  เมื่อคอมมิวนิสต์ไม่มีศาสนาเป็นการนำทางจิตวิญญาณจึงทดแทนด้วยการเอาลัทธิคอมมิวนิสต์มาเป็นการนำทางจิตวิญญาณจึงเป็นลักษณะหนึ่งของความล่มสลายของคอมมิวนิสต์โลก ดังคำกล่าวของดร.มหาเธร์ มูฮัมหมัด อดีตผู้นำประเทศมาเลเซียว่า “คอมมิวนิสต์ล่มสลายเพราะเอาลัทธิคอมมิวนิสต์ยกขึ้นแทนศาสนา”

            ลัทธิมาร์กซ์-เลนิน ยึดถือทฤษฎีความขัดแย้ง (Contradiction) คือสิ่งทั้งปวงมีแต่ความขัดแย้ง ไม่ยอมรับความไม่ขัดแย้งตามทฤษฎีกฎวิภาษวิธีคือ “เอกภาพของด้านตรงข้าม” (Unity of Opposite) นั่นคือ สิ่งหนึ่งมีสองด้านที่ตรงข้ามกันและต่อสู้กัน ดังเช่น ความมีสิ่งนี้ตรงข้ามกับความไม่มีสิ่งนี้ ดังนั้น ถ้าไม่มีความไม่ขัดแย้ง แล้วความขัดแย้งจะไปขัดแย้งกับอะไร? ความขัดแย้งจะดำรงอยู่ได้เพราะมีความไม่ขัดแย้งดำรงอยู่ หรือถ้าไม่มีความไม่ขัดแย้งจะมีความขัดแย้งได้อย่างไร  ความขัดแย้งกับความไม่ขัดแย้งเป็นขั้วตรงข้ามที่ขัดแย้งกัน เช่น ขั้วบวก กับขั้วลบของไฟฟ้า  จึงสรุปได้ว่า “ความไม่ขัดแย้งคืออสังขตธรรม ความขัดแย้งคือสังขตธรรม ” อันเป็น 2 สภาวะที่ตรงข้ามกัน และ2 สภาวะนี้มีความสัมพันธ์กันอย่างไร อะไรเป็นบ่อเกิด หรืออะไรเกิดจากอะไร

             สรรพสิ่งและปรากฏการณ์ทั้งปวงในลัทธิใด ๆ ก็ตาม ล้วนแต่มีบ่อเกิดหรือมีผู้สร้าง ไม่มีสิ่งใดที่จะไม่มีบ่อเกิด ไม่มีผู้สร้าง นั่นคือ พระผู้เป็นเจ้าหรือพระผู้สร้าง (Creator)  ในลัทธิศาสนาต่างๆ คือ อสังขตธรรมในพระพุทธศาสนา เพราะอสังขตธรรมคือบ่อเกิดของสังขตธรรม ดังเช่น ความมีเกิดจากความไม่มี ถ้าเรียกอสังขตธรรมด้วยคำว่า “ศูนย์” หรือ “สูญ” ส่วนสังขตธรรมคือ 1 2 3 ฯลฯ ก็เกิดมาจาก 0 นั่นเอง ถ้าไม่มี 0 จะเกิด  1 2 3 ฯลฯ ขึ้นมาได้อย่างไร และพระผู้เป็นเจ้าหรือพระผู้สร้างในทุกลัทธิศาสนาต่าง ๆ และบ่อเกิดของสรรพสิ่งและปรากฏการณ์ในทุกลัทธิการเมืองหรือปรัชญา คือ อสังขตธรรม นั่นคือ อนัตตา นั่นเอง ตามพุทธภาษิตว่า “สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา – ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา”  นี่คือการแก้ปัญหาการนำทางจิตวิญญาณในทุกๆ ลัทธิศาสนาได้สำเร็จ และแก้ปัญหาปรัชญาระหว่างจิตกับวัตถุได้สำเร็จครั้งแรกในโลกในยุคประวัติศาสตร์สมัยใหม่ อีกทั้งสะท้อนสัมพันธภาพระหว่างการนำทางจิตวิญญาณกับการนำทางความคิดได้ถูกต้องชัดเจน

           ความรักความเมตตาคือคุณสมบัติของพระผู้เป็นเจ้าในบางลัทธิศาสนา มนุษย์เราแม้ว่าจะยังไม่สามารถเข้าถึงพระเจ้าได้ก็ขอให้นับถือพระผู้เป็นเจ้าไว้ก่อน  เพราะการนับถือพระผู้เป็นเจ้าหมายความถึงการยอมจำนนต่อคุณธรรมซึ่งเป็นคุณธรรมของพระผู้เป็นเจ้า  ความเชื่อว่าพระผู้เป็นเจ้ามีจริง ก็คือการยอมรับว่าคุณธรรมทั้งปวงซึ่งเป็นคุณสมบัติของพระผู้เป็นเจ้านั้นเป็นสัจธรรมภาววิสัย  คุณธรรมทั้งปวงหาใช่เป็นแต่เพียงภาพสะท้อนของความสัมพันธ์ทางสังคมในสมองมนุษย์ตามทฤษฎีของลัทธิคอมมิวนิสต์ไม่  ความรักความเมตตากรุณาเป็นสัจธรรมภาววิสัย(Objective Truth) เพราะเป็นคุณสมบัติของพระผู้เป็นเจ้า ฉะนั้น มนุษย์จึงต้องยอมจำนนและเชื่อถือต่อความรักความเมตตากรุณาโดยปราศจากเงื่อนไข  ซึ่งทางพระพุทธศาสนาถือว่า เป็นธรรมค้ำจุนโลก ความเมตตากรุณา ความรักในพระพุทธศาสนาเป็นแบบอนัตตา เป็นอัปมัญญาคือความรักความเมตตากรุณาอันไม่มีประมาณและเสมอภาค

             การต่อสู้แบบอหิงสาพุทธะคือการต่อสู้ด้วยความรักความเมตตากรุณาอย่างอัปมัญญาไม่มี
ประมาณเป็นอนัตตาเสมอหน้ากันอย่างแท้จริงปราศจากความเบียดเบียนและความรุนแรงอย่างสิ้นเชิง คือ ปฏิบัติตามมรรคมีองค์ 8 ประการนั่นเอง
 
            การปฏิวัติประชาธิปไตยอย่างสันติตามหลักพุทธอหิงสาธรรม คือการปฏิบัติโมกษธรรมทางจิตใจโดยใช้การฏิบัติปฏิวัติเป็นอุปกรณ์เงื่อนไข คือการนำทางจิตวิญญาณเพื่อสร้างประชาธิปไตยที่สูงส่งยิ่งใหญ่นำไปสู่มนุษยปฏิวัติ (Human Revolution) ครั้งแรกของโลก
การนำทางความคิด การนำใหม่โดยพรรคความหวังใหม่
 
             กิจกรรมทั้งปวงของมนุษย์ขึ้นอยู่กับกิจกรรมทางความคิด มนุษย์เราแตกต่างจากสัตว์เดรัจ
ฉานโดยธรรมชาติคือ เป็นสัตว์ที่มีความคิด (Humankind) ดังเช่น สิทธิมนุษย์กับสิทธิสัตว์  สิทธิมนุษย์คือสิทธิทางความคิด  แต่สิทธิสัตว์ไม่มีสิทธิทางความคิดคือคิดไม่เป็น  ดังนั้น สิทธิมนุษยชนที่ประกาศไว้ในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนจึงประกาศยืนยันในสิทธิทางความคิด หรือมีเสรีภาพทางความคิด และเป็นรากฐานของเสรีภาพทั้งสิ้นว่า... “เสรีภาพทางความคิดเป็นรากฐานของเสรีภาพทั้งปวง”  ดังคำว่า “มนุษย์” มาจากคำว่า “มนะ”(ความคิดจิตใจ) กับ “อุษยะ” (แปลว่าสูงส่ง) คือเป็นผู้มีความคิดจิตใจสูง เป็นจริงตามพุทธภาษิตว่า  “ มโนปุพพํ คมา ธมฺมา มโนเสฎฐา มโนมยา – ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นใหญ่ มีใจเป็นประธาน สำเร็จได้ด้วยใจ”  

           ความคิดเกิดจากสมองซึ่งเป็นวัตถุที่พัฒนาสูงสุดแห่งสากลจักรวาล (Highest Organs) คือ สมองพัฒนาสูงสุดจนสามารถสะท้อนภาพวัตถุและสะท้อนภาพตัวมันเองได้  สัจธรรมหรือความจริง (Truth) คือภาพสะท้อนของวัตถุที่เป็นความจริงแท้ (Reality) ในสมองมนุษย์  กล่าวอย่างชัดเจนคือ วัตถุที่อยู่นอกสมองมนุษย์ดำรงอยู่ตามธรรมชาติ ถูกจิตของมนุษย์สะท้อนภาพมาอยู่ในสมองมนุษย์ เป็นภาพสะท้อนของวัตถุ  ภาพสะท้อนของวัตถุในสมองมนุษย์นี้แหละคือ สัจธรรมหรือความจริง (ไม่แท้แต่เป็นเพียงภาพความจริงแท้)  กล่าวอย่างถึงที่สุดคือ ความจริงมี 2 อย่างคือ ความจริงแท้ (Reality) ที่เป็นวัตถุอยู่นอกสมองมนุษย์หรือความเป็นจริงอันเป็น“สภาวธรรม”  และความจริงเฉยๆ ที่เป็นความคิดหรือจิตที่เป็นภาพสะท้อนของวัตถุอยู่ในสมองมนุษย์ที่เรียกว่า “สัจธรรม” (Truth) แต่ความจริงหรือสัจธรรมอาจตรงหรือไม่ตรงกับความเป็นจริงหรือความจริงแท้ก็ได้  Truth อาจตรงหรือไม่ตรงกับ Reality ก็ได้  ชี้ขาดที่ความถูกต้องหรือความผิดพลาด คือ ความถูกต้อง คือความจริงที่ตรงกับความเป็นจริง (ความจริงแท้)  หรือสัจธรรมที่ตรงกับสภาวธรรม ส่วนความผิดพลาดคือ Truth ไม่ตรงกับ Reality เรียกว่า “ปัญหาความคิด” หรือ “ปัญหาความเห็น” ที่จะต้องแก้ให้ตกไป คือ ทำให้ความจริง (Truth) ตรงกับความเป็นจริงหรือความจริงแท้อันเป็นสภาวธรรม (Reality) เป็นการทำให้เกิดความถูกต้อง 

             ระบบความคิด หรือทั้งหมดของความคิด (System of Thinking) ของมนุษย์ ซึ่งประกอบด้วย 2 ด้าน คือความคิดหรือตัวความคิด (Ideology) และวิธีคิด (Way of Thinking)

             ความคิดหรือตัวความคิดหมายถึงจุดยืน (Standpoint) ซึ่งมี 2 อย่าง คือเพื่อส่วนตัวและส่วนรวม ซึ่งเป็นเอกภาพที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกัน “คือถ้าเพื่อส่วนตัวมาก เพื่อส่วนรวมก็น้อย หรือเพื่อส่วนตัวน้อย เพื่อส่วนรวมก็มาก”  จุดยืน  2 อย่างของแต่ละคนนี้ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า “ประโยชน์ตน ประโยชน์ท่าน” ตามธรรมดาต้องมีประโยชน์ 2 อย่างคู่กันอยู่เสมอไปประโยชน์ตนเพียงอย่างเดียวไม่มี หรือประโยชน์ท่านอย่างเดียวไม่มี  มีแต่ประโยชน์ตนมากกว่าประโยชน์ท่าน  ประโยชน์ท่านมากกว่าประโยชน์ตน  หรือเท่า ๆ กัน  อัตราส่วนของประโยชน์ประโยชน์ท่านในจิตใจของแต่ละคนนั่นเอง คือมาตรฐานวัดค่าของคุณธรรม  ประโยชน์ตนน้อยก็มีคุณธรรมมาก  ประโยชน์ตนมากก็มีคุณธรรมน้อย  กล่าวอีกนัยหนึ่ง เห็นแก่ตัวมากก็มีคุณธรรมน้อย  แต่เห็นแก่ตัวน้อยก็มีคุณธรรมมาก  ดังนั้น คุณธรรม (Moral Principle) จึงเป็นเรื่องของความคิด (Ideology) หรืออุดมการ กล่าวอย่างเป็นรูปธรรมว่า “ การเมืองคือคุณธรรม” นั่นเอง ฉะนั้น ความคิด หรืออุดมการ หรือคุณธรรม คือการเมือง  และศาสนาให้คุณธรรมแก่การเมือง

             วิธีคิดหรือ Way of Thinking คือการนำเอาความคิดไปมองปัญหาต่างๆ บังเกิดเป็นความเห็นหรือทฤษฎี (Theory) ซึ่งเมื่อจะนำไปใช้สำหรับแก้ปัญหานั้นๆโดยเฉพาะในทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ก็จะต้องทำการแปรทฤษฎีออกไปให้เป็นแนวทาง (Line) หลักนโยบาย (Program) หรือ (Platform) นโยบาย (Policy) มาตรการ (Measure) วิธีการ (Means) ยุทธศาสตร์ (Strategy) และยุทธวิธี (Tactics) เป็นต้น  ฉะนั้น ทฤษฎี (Theory) จึงเป็นเรื่องของวิธีคิด (Way of Thinking) และเมื่อกล่าวรวมๆ ทั้งปัญหาความคิดและปัญหาทฤษฎีหรือจะเรียกว่าปัญหาความคิดคำเดียวก็ได้

             การนำทางความคิดจะเกิดขึ้นได้มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับว่ามีระบบความคิดที่ถูกต้องดีงามสูง
ส่งสะท้อนประโยชน์ประชาชนได้มากน้อยเพียงใด คือมีอุดมคติ (Ideal) คือ สังคมใดเป็นความมุ่งหมายสูงสุด  เช่น สังคมประชาธิปไตยหรือสังคมคอมมิวนิสต์  มีอุดมการ (Ideology)  คือความคิดใดเป็นวิธีคิดสูงสุด เช่น ลัทธิประชาธิปไตยหรือ ลัทธิคอมมิวนิสต์ แต่ลัทธิการเมืองใหม่ในโลกยุคประวัติศาสตร์สมัยใหม่มี 3 ลัทธิคือ ลัทธิเผด็จการ ลัทธิประชาธิปไตย ลัทธิคอมมิวนิสต์  ถ้าศึกษาเพียงลัทธิใดลัทธิหนึ่งก็จะไม่มีความรู้แจ่มชัดจะต้องเรียนรู้ทั้ง 3 ลัทธิและจะต้องรู้เพื่อต่อสู้เอาชนะกันทางความคิดเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติให้ปรากฏเป็นจริงบรรลุความสำเร็จในการสร้างการปกครองและสร้างสังคมตามลัทธินั้น  การศึกษาอย่างเข้าถึงลัทธิเท่านั้นจะทำให้เกิดพลังการนำทางความคิดสูงสุดโดยศึกษาตามหลักพุทธเช่น กาลามสูตนั่นเอง  บางลัทธิใช้การศึกษาแบบวิภาษแต่ก็ยังไม่ดีเท่ากับศึกษาแบบพุทธ ซึ่งขบวนการประชาธิปไตยแห่งชาติกำหนดไว้ว่า “ศึกษาเป็นใช้เป็น” นั่นเอง เพื่อบรรลุความสำเร็จของการศึกษาจึงมีวินัยว่า “ไม่รู้ไม่พูด ไม่รู้ไม่ทำ” พลังการนำทางความคิดที่ทรงพลังเหนี่ยวนำขับเคลื่อนได้จะต้องมีความเชื่อขั้นอุดมการคือ “ เชื่ออย่างสูงสุด อย่างไม่ลังเลสงสัย” ไม่เชื่อลัทธิอื่นใดสูงกว่า อย่างเช่นความเชื่อสูงสุดอันเกิดจากสัมมาทิฎฐิ ไม่มี “วิจิกิจฉา”  คือไม่มีความลังเลสงสัยใด ๆ อีกเลย  ในพุทธศาสนานั้น คุณสมบัติของอริยบุคคลขั้นต้นคือ “พระโสดาบัน”  ส่วนลัทธิการเมืองเป็นความเชื่อระดับโลกียธรรม ไม่ใช่โลกุตรธรรม แต่ในโลกียธรรมก็มีโลกุตรธรรมอยู่ระดับหนึ่ง จึงสามารถยกระดับให้มีโลกุตรธรรมมากขึ้นได้ด้วยการประสานโมกษธรรมเข้ากับการเมือง  โดยนักการเมือง นักเคลื่อนไหว นักประชาธิปไตย นักปฏิวัติจะต้องปฏิบัติโมกษธรรมให้ได้สักระดับหนึ่ง นั่นคือ สร้างการนำทางจิตวิญญาณ จะนำไปสู่การสร้างการนำทางความคิดได้สำเร็จ  คือถ้าไม่ปฏิบัติโมกษธรรมก็สร้างประชาธิปไตยไม่สำเร็จ เพราะการสร้างประชาธิปไตยในประเทศไทยนั้น ต้องยึดถือแนวทางสันติตามหลักพุทธอหิงสาธรรมเท่านั้น นี่คือความสัมพันธ์ระหว่างการนำทางจิตวิญญาณกับการนำทางความคิดที่แยกกันไม่ออกขาดกันไม่ได้ และนี่คือ “สิ่งใหม่ในโลก” ที่ดีที่สุด เป็นการแก้ปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างศาสนากับการเมืองได้ตกไป คือ เชื่อมประสานสร้างเอกภาพโลกทางจิตวิญญาณ (Spiritual World) กับโลกทางสังคม (Social World) ได้สำเร็จ อันเป็นไปตามความจริงแท้สูงสุด (Ultimate Reality) ที่เป็นสภาวธรรมนั่นเอง แต่บางลัทธิไม่มีการนำทางจิตวิญญาณ จึงขาดแก่นแท้ของมนุษย์ไปจึงล่มสลาย
 
 
             ว่าด้วยทฤษฎีทางปรัชญาของลัทธิประชาธิปไตย 
 
             ความคิด “ลัทธิประชาธิปไตย” (Democratic Doctrine) เป็นลัทธิการเมืองของชนชั้นกลางอยู่ร่วมกันได้ทุกชนชั้น ไม่ว่าชนชั้นสูงหรือชนชั้นล่างตามทฤษฎีทางปรัชญา คือ “เอกภาพของความแตกต่าง” (Unity of Diversity)  เป็นลัทธิการเมืองทางสายกลางระหว่างลัทธิเผด็จการชนชั้นสูงกับลัทธิเผด็จการชนชั้นล่าง 

             ลัทธิการเมืองในยุคใหม่จะประกอบขึ้นจาก 3 ทฤษฎีรวมกันคือ ทฤษฎีทางปรัชญา ทฤษฎีทางรัฐศาสตร์และทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์  การศึกษาอย่างเข้าถึงทฤษฎีทั้ง 3 ด้านนี้ก็คือการเข้าถึงลัทธินั่นเองก็คือการมีอาวุธทางความคิด (Ideological Weapon) ซึ่งเป็นอาวุธที่แหลมคมที่สุดหรือมีการนำที่ทรงพลังที่สุด ดังเช่นพลังทางปัญญาในพลังทั้ง 5 ของศาสนาพุทธคือ พลังความศรัทธา พลังความเพียร พลังสติ พลังสมาธิ และพลังปัญญา บางลัทธิเรียกว่า “พลังทางอุดมการ ” 

             ทำไมลัทธิการเมืองในยุคประวัติศาสตร์สมัยใหม่จึงนำเอาทฤษฎีทางปรัชญามาเป็นส่วนแรกที่เป็นส่วนนำของลัทธิ  เพราะวิชาปรัชญาเป็นศาสตร์แม่ของศาสตร์ทั้งหลาย (Mother of Science) เป็นวิชาที่ค้นหาความจริงหรือกฎทั่วไป (General Law) ของสรรพสิ่งและปรากฏการณ์  เป็นวิชาแห่งปัญญาหรือรักในความรู้ (Philosophy/Love of Wisdom) เมื่อรู้กฎทั่วไปโดยวิชาปรัชญาก็จะสามารถรู้ครอบคลุมศาสตร์ทั้งหลายที่เป็นการค้นหากฎเฉพาะจึงจะสามารถสร้างการปกครองและทำการปกครอง บริหารจัดการได้ทุกสิ่งทุกประการในสังคม เพราะรู้ทั้งกฎทั่วไปและกฎเฉพาะอย่างทั่วด้าน  ถ้าไม่รู้ปรัชญา รู้เฉพาะด้านก็จะแก้ปัญหาไม่ได้เพราะกฎเฉพาะอยู่ภายใต้กฎทั่วไปหรือรู้ปรัชญาซึ่งเป็นศาสตร์แม่ก็จะทำให้รู้ศาสตร์ลูกทั้งหลายอย่างครบถ้วนและเป็นระบบ  เพราะการแก้ปัญหาทั้งปวงจะต้องรู้ทั้งกฎทั่วไปและกฎเฉพาะ  หากรู้กฎทั่วไปอย่างเดียวก็ไม่สามารถแก้ปัญหาเฉพาะได้ หรือรู้กฎเฉพาะอย่างเดียวก็แก้ปัญหาบางปัญหาแต่แก้ปัญหาทั้งหมดไม่ได้  คือการเมืองต้องปกครองทุกสิ่งทุกอย่างนั่นเอง

             ลัทธิประชาธิปไตย สามารถยึดถือทางปรัชญาได้อย่างกว้างขวางคือจะยึดถือแบบ “เอกนิยม” (Monism) ก็ได้ หรือ “ทวินิยม” (Dualism) หรือ “พหุนิยม” (Pluralism) ก็ได้  เช่นขบวนการคอมมิวนิสต์ซึ่งยึดถือปรัชญาวัตถุนิยมอย่างเดียวแบบเอกนิยมก็อยู่ในประเทศประชาธิปไตยได้ แต่ในประเทศคอมมิวนิสต์ไม่ยินยอมให้ยึดถือแบบทวินิยมหรือพหุนิยมได้

             ลัทธิคอมมิวนิสต์มีทฤษฎีทางปรัชญา คือ “เอกภาพของด้านตรงข้าม” (Unity of Opposite) หมายถึง สิ่งหนึ่งมี  2 ด้านที่ตรงข้ามกัน ต่อสู้กัน เช่น มีสิ่งนี้กับไม่มีสิ่งนี้ กรรมกรกับนายทุน โดยด้านหนึ่งต้องทำลายอีกด้านหนึ่งลง เช่นกรรมกรต้องทำลายนายทุนในสังคมทุนนิยมคือถือทฤษฎีแห่งความขัดแย้ง หรือถือทฤษฎีชนชั้น เมื่อเป็นการเมืองและเศรษฐกิจ  ถือทฤษฎีปรัชญาวัตถุนิยมวิภาษ  โดยแท้จริงแล้วคาร์ลมาร์กซ์ก็มิได้คิดขึ้นเอง แต่มีมาก่อนมาร์กซ์เกิดทั้งวัตถุนิยม(Materialism) และทั้งวิภาษวิธี(Dialectic)เช่น มาร์กซ์นำเอาปรัชญาของเฮเกล คือ “ จิตนิยมวิภาษ” มากลับหัวกลับหางเป็นวัตถุนิยมวิภาษเป็นต้น ดังนั้น ทั้งวัตถุนิยม ทั้งวิภาษวิธีไม่ใช่ของคอมมิวนิสต์มีมานับพันปีก่อนมาร์กซ์เกิดเสียอีก  ฝ่ายประชาธิปไตยก็ใช้วัตถุนิยมและวิภาษวิธีก็ได้เพราะไม่ได้ทำให้ประชาธิปไตยเป็นคอมมิวนิสต์ไปได้   อันเป็นการพัฒนาลัทธิประชาธิปไตยนั่นเอง คือมีทัศนะทั้งวิทยาศาสตร์และเหนือวิทยาศาสตร์เช่นพุทธศาสนา

             ปรัชญากับศาสนามีความเกี่ยวข้องกันและซ้อนเหลื่อมกันอยู่ นั่นคือ “ในศาสนามีปรัชญา แต่ในปรัชญาไม่มีศาสนา”  เพราะศาสนาเป็นศาสตร์พ่อและปรัชญาคือศาสตร์แม่  ส่วนศาสตร์ที่ค้นหากฎเฉพาะกฎทั้งหลายเป็นศาสตร์ลูกทั้งสิ้น  ทั้งศาสนาและปรัชญาล้วนนำเอามาใช้ในทางการเมืองทั้งสิ้น เช่น ลัทธิการเมืองต่างๆ คำกล่าวข้างต้นว่า  “ในศาสนามีปรัชญา แต่ในปรัชญาไม่มีศาสนา” นั่นคือ ปรัชญาว่าด้วย “กฎทั่วไป” (General Law, General Cause, General Principle)  ของสรรพสิ่งและปรากฏการณ์  แต่ศาสนาว่าด้วย “กฎแห่งความไม่กลัว” หรือ “ กฎแห่งความพ้นทุกข์” ของความคิดจิตใจหรือจิตวิญญาณของมวลมนุษยชาติ เช่น ในพุทธศาสนามีปรัชญาคือกฎทั่วไปหรือกฎใหญ่ที่ทุกสิ่งทุกอย่างต้องอยู่ภายใต้กฎนี้ คือ “อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา” แต่ในปรัชญาไม่มีศาสนาคือ “ภาววิทยา” (Onthology) ว่าด้วยระหว่างจิตนิยม วัตถุนิยม อะไรคือความจริงแท้ (Reality) มรรควิธีวิทยาว่าด้วยการดำรงอยู่อย่างไร (Methodology) ความรู้เกิดมาอย่างไร “ญาณวิทยา” (Episthemology)  “คุณวิทยา” (Axiothology)  “ตรรกวิทยา” (Logic) “อภิปรัชญา” ว่าด้วยการค้นหาความจริงสูงสุด (Metaphysic) เป็นต้น ไม่มีการบูชา (Worship) และไม่มีอำนาจเหนือมนุษยชาติ (Super Human Power) ซึ่งเป็นลักษณะในศาสนา กล่าวคือ ในศาสนามีกฎทั่วไปของปรัชญาแต่ปรัชญาไม่มีการบูชาหรือมีอำนาจเหนือธรรมชาติเพื่อขจัดความกลัวหรือความพ้นทุกข์ของศาสนา เพราะศาสนาเกิดขึ้นเพื่อแก้ “ปัญหาความกลัว”  (Fearness) ของมนุษย์ แต่ปรัชญาเกิดขึ้นเพื่อแก้ “ปัญหาความรู้” (Philos+Sophia = รักในความรู้) ดังเช่น บทสวดมนต์ในพุทธศาสนาบทหนึ่งว่า... “พาหุง เว สรณํ ยนฺติ ปพฺพตานิ วนานิจ อารามรุกฺขเจตฺยานิ มนุสฺสา ภย  ตชฺชิตา เนตํ โข สรณํ เขมํเนตํ สรณมุตฺตมํ ...จนถึง...สพฺพทุกฺขาปมุจฺจติ” แปลความว่า “มนุษย์ทั้งหลายอันความกลัวครอบงำแล้ว ถือเอาภูเขาบ้าง ป่าบ้าง วัดบ้าง ต้นไม้บ้าง เจดีย์บ้าง เป็นที่พึ่ง  นั่นไม่ใช่ที่เกษมอันอุดม  เขาถือเอาเป็นที่พึ่งแล้ว ย่อมไม่พ้นทุกข์  ส่วนผู้ใดถึงพระพุทธเจ้า พระธรรมพระสงฆ์ ว่าเป็นที่พึ่งเห็นอริยสัจทั้งสี่ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ด้วยปัญญาอันชอบนี่แลเป็นที่พึ่งอันเกษมอันอุดม เขาถืออันนี้เป็นที่พึ่งแล้ว ย่อมพ้นทุกข์ทั้งปวง”

             ศาสนาพราหมณ์ในคัมภีร์ภควัตคีตาหรืออุปนิษัท ประกาศว่า... “ ถ้าจะมีบาปสักอย่างในโลกนี้ บาปนั้นคือความกลัว จึงหลีกหนีความกลัวทุกอย่างไปให้พ้น ความกลัวคือบาป ความกลัวคือความตาย ทำไมคนเราจะต้องกลัวสิ่งต่างๆด้วยเล่า ? ” และศาสดาพยากรณ์ทั้งหลาย เช่น พระเยซูคริสต์ พระนบีมูฮัมหมัด ล้วนแต่สอน “ความไม่กลัว” (Fearlessness) โดยถือเอาการเข้าถึงพระผู้เป็นเจ้าหรือพระอัลเลาะห์เป็นวิธีขจัดความกลัว

               ในศาสนาพุทธ มีลักษณะปรัชญาเป็นอันมาก ทั้งปรัชญาวัตถุนิยมและปรัชญาจิตนิยม  การบูชาพระพุทธเจ้าก็ไม่เน้นการบูชา แต่ทรงเน้นการปฏิบัติ คือ “ทรงยกย่องการปฏิบัติ เป็นการบูชาอันสูงสุด คือปฏิบัติบูชา” และพุทธศาสนาไม่มีลักษณะให้ศรัทธาอย่างที่สุดแบบงมงายแต่ให้ศึกษาก่อนว่าอะไรถูกอะไรผิดแล้วจึงปลงใจเชื่อตามจริงตามหลักกาลามสูตร เช่นอย่าเชื่อแม้กระทั่งพระองค์เอง ดังลักษณะของปรัชญาคือการตั้งปัญหาสงสัยสิ่งทั้งปวง ค้นหาต่อไปไม่หยุดหย่อนไม่มีสิ้นสุด (Philosophizing)   และไม่ทรงยืนยันอำนาจเหนือมนุษยชาติ แต่ทรงยืนยันธรรมาธิปไตย  และใจเป็นใหญ่ ใจเป็นประธาน สำเร็จด้วยใจ และตนเองแลเป็นที่พึ่งแห่งตน ดังนั้น ศาสนาพุทธเป็นปรัชญาที่นำพาไปสู่ความพ้นทุกข์ หรือ ความหลุดพ้น เหนือโลก อันเป็นความประเสริฐ สูงส่ง (Noble) ที่เป็นวิทยาศาสตร์และยังเหนือกว่าวิทยาศาสตร์อีกหลายชั้นอีกด้วย ครอบคลุมและเหนือกว่าโลกธรรมชาติ (Natural World) ตั้งแต่ปรมาณูจนถึงเอกภพ ทั้งโลกสังคม (Social World) ตั้งแต่ครอบครัวถึงการทำให้เป็นโลก (Globalization) ทั้งโลกความคิดจิตวิญญาณ (Thinking & Spiritual World) ตั้งแต่ความรู้สึกสุขทุกข์จนถึงโมกษธรรม

               การถกกันทางปรัชญาระหว่างสาขาจิตนิยมกับสาขาวัตถุนิยมยังคงแก้ปัญหากันไม่ตกตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันและจะเถียงกันต่อไปในอนาคตไม่มีที่สิ้นสุด จนกลายเป็นปัญหาโลกแตก ถึงกับจนปัญญาสรุปกันว่า “วัตถุไม่ใช่จิต จิตไม่ใช่วัตถุ” (Matter Is Not Mind, Mind Is Not Matter) หรือ คาร์ล มาร์กซ์เจ้าแห่งลัทธิคอมมิวนิสต์ก็ไม่สามารถแก้ปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างจิตกับวัตถุตกเช่นกัน เพียงแต่ยุติปัญหานี้ด้วยการยึดถือปรัชญาวัตถุนิยม  ส่วนจิตนั้นก็อธิบายว่าเป็นภาพสะท้อนของวัตถุในสมองคนเท่านั้นคือ “วัตถุเป็นความจริงแท้ จิตเป็นภาพสะท้อนของวัตถุในสมองคน จิตเป็นอิสระจากวัตถุ เปลี่ยนแปลงวัตถุได้”  ยังหาจุดร่วมกันที่ถูกต้องตามความจริงแท้ที่สุดคือ Ultimate Reality หรือ สัจธรรมสูงสุด (Absolute Truth) ของสรรพสิ่งและปรากฏการณ์ไม่ได้อย่างสมบูรณ์ที่สุด
 
               โดยแท้จริงแล้วปมเงื่อนของปัญหาปรัชญานี้อยู่ที่ “อนัตตา” เช่น ศาสนาพราหมณ์คิดค้นได้สูงสุดคือ “อนิจจัง ทุกขัง” จึงแก้ปัญหาทุกข์ไม่ตก ปฏิบัติตามทฤษฎีพราหมณ์ก็ไม่มีวันพ้นทุกข์  ต่อมาเมื่อพระพุทธเจ้าทรงบรรลุโมกษธรรมเข้าถึงสภาวะ “อนัตตา” จึงแก้ปัญหาทุกข์ได้ตกไปจึงได้ทรงประกาศไว้ว่า “สัพเพ ธัมมา อนัตตา” แปลว่า “ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา” นั่นคือ ไม่ว่าวัตถุหรือจิตก็เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันคืออนัตตา (Matter and Mind Are Anatta) การค้นหาความจริงแบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย คือแบบจิตกับแบบวัตถุ การถกเถียงโต้แย้งกันนี้ยังอยู่ในมิติของสังขตธรรมหรืออัตตาทั้ง 2 ฝ่าย จะถกเถียงกันสักเพียงใดก็ไม่มีทางจะแก้ปัญหาตก  แม้ว่าฝ่ายจิตนิยมจะมีลักษณะคล้ายๆกับอนัตตาก็ไม่ใช่อนัตตายังคงเป็นอัตตาอยู่ดี เพราะจิตนิยมจะหมายถึงพระผู้เป็นเจ้า (God) ซึ่งมีความเห็นกันทั่วไปว่าเป็นลักษณะอัตตา ยังเข้าไม่ถึงสภาวะอสังขตธรรมคืออนัตตา

               คาร์ล มาร์กซ์ เจ้าลัทธิคอมมิวนิสต์ อาศัยวิทยาศาสตร์มาเป็นทางออกในการแก้ปัญหาปรัชญา  แต่วิทยาศาสตร์มีขีดจำกัดในการค้นคว้าหรือเข้าถึงคือ “ค้นหาความจริงจากรูปของวัตถุ” (Seeking Truth from Concrete Fact) แต่วิทยาศาสตร์ไม่อาจจะค้นหาความจริงจากเนื้อของวัตถุได้เพราะเนื้อของวัตถุตามคำอธิบายของ วี.ไอ.เลนิน คือ “วัตถุไม่มีแดนเกิด ไม่มีที่สิ้นสุด ไม่มีต้นไม่มีปลาย เข้าถึงไม่ได้นอกจากจะแสดงออกมาเป็นรูปและดำรงอยู่เป็นอนันตกาล”  ถ้าตัววัตถุหรือเนื้อของวัตถุหมายถึงลักษณะนี้ก็คือ สภาวะของอสังขตธรรมหรืออนัตตานั่นเอง  แต่คาร์ลมาร์กซ์และเลนินยึดถือแต่วิทยาศาสตร์อย่างเดียวจึงมองไม่เห็นเข้าไม่ถึง หรืออาจจะกล่าวได้ว่ารู้แต่โลกียธรรมเข้าไม่ถึงโลกุตตรธรรม

                ดังเช่น ทฤษฎีวัตถุนิยมวิภาษหรือทฤษฎีความขัดแย้งที่ถือว่า “ทุกสรรพสิ่งและปรากฏการณ์ล้วนมีแต่ความขัดแย้งทั้งสิ้น” ดังเช่น สิ่งหนึ่งมี 2 ด้านที่ตรงข้ามกันและต่อสู้กัน (Unity of  Opposite) คือมีแต่ความขัดแย้ง (Contradiction) แต่ไม่ยอมรับว่ามี “ความไม่ขัดแย้ง” ด้วย ความขัดแย้งคือสังขตธรรม และความไม่ขัดแย้งคืออสังขตธรรม สังขตธรรมเกิดจากอสังขตธรรมหรือ อสังขตธรรมเป็นบ่อเกิดของสังขตธรรม นั่นคือ 0 เป็นบ่อเกิดของ 1 2 3 4 ฯลฯ หรือความมีเกิดจากความไม่มี

                ฉะนั้น ถ้าดูจากการแก้ปัญหาทางโลกจิตวิญญาณก็จะเห็นว่าเริ่มต้นจากศาสนาพราหมณ์คือ “อนิจจัง ทุกขัง” ซึ่งเป็นสังขตธรรม แต่แก้ปัญหาทุกข์ไม่ตก  เมื่อพระพุทธเจ้าทรงค้นพบอนัตตาต่อยอดศาสนาพราหมณ์คือ “อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา” จึงแก้ปัญหาทุกข์ตก เช่นเดียวกันในทางปรัชญาตะวันตกที่มีรากเหง้ามาจากศาสนาคริสต์และผู้ไม่ถือศาสนาที่ได้ปรัชญาคือ “ จิตนิยม วัตถุนิยม ” ซึ่งเป็นสังขตธรรม  แต่แก้ปัญหาไม่ตก เพื่อแก้ปัญหาปรัชญานี้ให้ตกครบถ้วนบริบูรณ์สมบูรณ์จึงเติมสิ่งที่ขาดเข้าไปคือ “ จิตนิยม วัตถุนิยม อนัตตานิยม ” จะได้มีข้อยุติได้ไม่เป็นปัญหาโลกแตกอีกต่อไป  หรือแก้ปัญหาปรัชญาจิตนิยม วัตถุนิยมด้วยการยกระดับขึ้นสู่อนัตตาด้วยการยกระดับจากด้านปริยัติขึ้นสู่การปฏิบัติชี้ขาด  คือทำที่สุดของปรัชญาด้วยการปฏิบัติสูงสุดของปรัชญา คืออนัตตา อันเป็นสัจธรรมสัมบูรณ์ (Absolute Truth) ที่เป็นความจริงแท้อัลติมะ (Ultimate Reality)

            การแก้ปัญหา “เอกภาพของความแตกต่าง” ของลัทธิประชาธิปไตย (Unity of Diversity) และ  “เอกภาพของด้านตรงข้าม” ของลัทธิคอมมิวนิสต์ (Unity of Opposite) ก็เช่นเดียวกันคือแก้ปัญหาด้วยปรัชญาของพระพุทธศาสนาคือ “อนัตตา” โดยนำเอาปรัชญาทั้ง2 ลัทธินั้นมาอยู่ภายใต้ปรัชญาสูงสุดอนัตตาคือ “เอกภาพทั่วไประหว่างเอกภาพของความแตกต่างกับเอกภาพของด้านตรงข้าม” Anatta General Unity Between Unity of Diversity And Unity of Opposite)

            หรือจะแทนค่าเอกภาพด้วยอนัตตาก็จะแก้ปัญหาปรัชญาตกได้เช่นเดียวกัน  เพราะเอกภาพของความแตกต่างคือ “ความแตกต่างหลากหลายอยู่ภายใต้อนัตตา” และเอกภาพของด้านตรงข้ามคือ “ความขัดแย้งอยู่ภายใต้อนัตตา” เมื่อแปรปรัชญามาเป็นการเมืองก็จะได้ว่า “ สงครามถูกครอบงำโดยสันติภาพ” และจาก “สันติภาพชั่วคราว สู่ สันติภาพถาวร”

             นี่คือการแก้ปัญหาปรัชญาตกไป อันเป็นการพัฒนาลัทธิการเมืองด้านทฤษฎีทางปรัชญาซึ่งเป็นด้านที่สำคัญที่สุดอย่างสัมพันธ์กับการนำทางจิตวิญญาณอันเป็นการเพิ่มเติม “ทฤษฎีทางจิตวิญญาณ” เข้าไปในลัทธิการเมืองซึ่งจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงลักษณะของลัทธิคือถ้าเป็นลัทธิประชาธิปไตยก็เป็นการปฏิรูปลัทธิประชาธิปไตย หรือพัฒนาลัทธิประชาธิปไตยขั้นสูงสุด  แต่ถ้าเป็นลัทธิคอมมิวนิสต์ก็เป็นการปฏิวัติลัทธิคอมมิวนิสต์เลยทีเดียวคือจะเปลี่ยนเป็นคุณภาพใหม่ไม่ใช่ลัทธิเดิมอีกต่อไป
             นี่คือการแก้ปัญหาปรัชญาตกไป อันเป็นการพัฒนาลัทธิการเมืองด้านทฤษฎีทางปรัชญาซึ่งเป็นด้านที่สำคัญที่สุดอย่างสัมพันธ์กับการนำทางจิตวิญญาณอันเป็นการเพิ่มเติม เข้าไปในลัทธิการเมืองซึ่งจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงลักษณะของลัทธิคือถ้าเป็นลัทธิประชาธิปไตยก็เป็นการปฏิรูปลัทธิประชาธิปไตย หรือพัฒนาลัทธิประชาธิปไตยขั้นสูงสุด  แต่ถ้าเป็นลัทธิคอมมิวนิสต์ก็เป็นการปฏิวัติลัทธิคอมมิวนิสต์เลยทีเดียวคือจะเปลี่ยนเป็นคุณภาพใหม่ไม่ใช่ลัทธิเดิมอีกต่อไป

             กล่าวอย่างถึงที่สุด “ จิตนิยมและวัตถุนิยมคือสัจธรรมสัมพัทธ์” (Relative Truth) ที่เป็นสังขตธรรม “อนัตตานิยมคือสัจธรรมสัมบูรณ์” (Absolute Truth) อันเป็นความถูกต้องอย่างปราศจากเงื่อนไขที่เป็นอสังขตธรรม
 
             ว่าด้วยทฤษฎีทางรัฐศาสตร์ของลัทธิประชาธิปไตย 
 
             ทฤษฎีทางรัฐศาสตร์ของลัทธิประชาธิปไตยนั้นต้องสอดคล้องกับทฤษฎีทางปรัชญา นั่น
คือ “เอกภาพของความแตกต่าง” (Unity of Diversity) เมื่อแปรทุกปรัชญามาเป็นการเมืองคือ “อำนาจอธิปไตยของปวงชน” (Sovereignty of the People) อันเป็นการให้ประชาชนที่มีความแตกต่างกันมาเป็นเอกภาพเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยร่วมกัน ในขณะเดียวกันจะต้องทำให้ “เสรีภาพของบุคคลบริบูรณ์” (Freedom of Person) 
     
           ในอดีตก่อนหน้าที่จะมีทฤษฎีอำนาจอธิปไตยของปวงชนซึ่งเกิดขึ้นในระบบทุนนิยมเมื่อประมาณไม่กี่ร้อยปีที่ผ่านมา ได้มีทฤษฎีว่าด้วย “เทวสิทธิ์ของพระมหากษัตริย์” (Divine Right of the King) หรืออำนาจอธิปไตยมาจากสรวงสวรรค์เป็นของพระมหากษัตริย์ 

            โดยแท้จริงแล้ว ประชาธิปไตยกับเผด็จการเป็นวิธีอยู่ร่วมกันของมนุษย์ ซึ่งต่างก็มีมาแต่ดึกดำบรรพ์คู่กับมนุษย์ ต่อเมื่อชุมชนได้พัฒนายกระดับขึ้นเป็นรัฐ (State) มนุษย์ได้นำเอาเผด็จการมาเป็นระบอบการปกครองเรียกว่าการปกครองระบอบเผด็จการ (Dictatorship) ซึ่งใช้มาตลอดประวัติศาสตร์สมัยโบราณ (Ancient History) และสมัยกลาง (Middle History) อันยาวนานหลายพันปี  จนถึงระยะแรกของประวัติศาสตร์สมัยใหม่หรือปลายยุคกลาง  โดยใช้รูปของระบอบการปกครองต่างๆกัน ส่วนใหญ่มี 2 รูปคือระบอบอภิชนาธิปไตย(Aristocracy) และระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (Absolute Monarchy) ครั้นเมื่อประมาณ 300 ปีเศษมานี่ มนุษย์ได้เริ่มนำเอาประชาธิปไตยมาใช้เป็นระบบการปกครองเรียกว่าการปกครองแบบประชาธิปไตย (Democratic Government) ซึ่งมีระบอบประชาธิปไตยเป็นหัวใจสำคัญสูงสุดในการปกครองชนิดนี้

              ระบบทุนนิยม (Capitalism) ได้ทำให้เกิดลัทธิประชาธิปไตยขึ้นในชนชั้นกลาง (Bourgeoisie) ในยุคสมัยกลางหรือนายทุน (Capitalist) ในยุคสมัยใหม่เป็นผู้คิดค้นลัทธิประชาธิปไตยขึ้นเพื่อต่อสู้กับระบบเจ้าครองนคร(Feudalism) ดังนั้น ปรัชญาของชนชั้นกลางจึงตรงข้ามกับปรัชญาของเจ้าครองนครที่เป็นปรัชญาจิตนิยมรวมศูนย์อยู่ที่พระผู้เป็นเจ้า เช่น อภิปรัชญา นักปรัชญาของชนชั้นกลางจึงต่อสู้ด้วยทฤษฎีเอกภาพของความแตกต่างเพื่อดึงกรรมกรชาวนาและทุกกลุ่มพลังเข้าโค่นล้มเจ้าครองนครเพื่อนำเอาอำนาจอธิปไตยมาเป็นของปวงชนทุกคน จึงเป็นที่มาของทฤษฎีทางการเมืองคือ “อำนาจอธิปไตยของปวงชน” (Sovereignty of the People)

             ถ้าเผด็จการนั้นในทางความคิดเป็น “อนุรักษ์นิยม” (Conservative) แปรเป็นการเมืองจะเป็น “เผด็จการ” (Dictatorship) แปรเป็นกฎหมายก็จะเป็นกฎหมายเผด็จการ

             ถ้าประชาธิปไตยนั้นในทางความคิดจะเป็น “เสรีนิยม” (Liberalism) แปรเป็นการเมืองจะเป็น “ประชาธิปไตย” (Democracy) แปรเป็นกฎหมายก็จะเป็นกฎหมายประชาธิปไตย
 
               อำนาจอธิปไตยของปวงชน หมายความว่าประชาชนปกครองตนเองก็คือการปกครอง
ของประชาชนซึ่งมาจากคำภาษากรีก 2 คำ คือ Dimo แปลว่าประชาชน Kratien แปลว่าการปกครอง  รวมกันเข้าเป็นคำอังกฤษว่า Democracy แปลเป็นคำไทยว่าประชาธิปไตย  แต่คำว่า “ประชาธิปไตย” เป็นจินตภาพทั่วไป (General Concept) ซึ่งก็ยังไม่อาจเข้าใจได้ เพราะไม่ว่าจินตภาพใด ๆ การเข้าใจแต่จินตภาพทั่วไปไม่สามารถจะนำไปสู่การแก้ปัญหาได้  จะแก้ปัญหาใด ๆได้จะต้องเข้าใจรูปธรรม (Concrete) ของจิตภาพนั้น ๆ ดังนั้นจะแก้ปัญหาประชาธิปไตย  ต้องให้เข้าใจจินตภาพรูปธรรมของประชาธิปไตย  ประเทศไทยละเลยจินตภาพรูปธรรมของประชาธิปไตย  จึงยังแก้ปัญหาประชาธิปไตยไม่ได้  จินตภาพรูปธรรมของประชาธิปไตยที่ถูกต้องครบถ้วนสมบูรณ์มี 8 จินตภาพรูปธรรมคือ

             1.วิธีการประชาธิปไตย (Democratic Means)
             2.ระบอบประชาธิปไตย (Democratic Regime)
             3.การปกครองแบบประชาธิปไตย (Democratic Government)
             4.ลัทธิประชาธิปไตย (Democracy หรือ Democratic Doctrine)
             5.ระบบประชาธิปไตย (Democratic System)
             6.สังคมประชาธิปไตย (Democratic Society)
             7.การสร้างประชาธิปไตย (Democratic Construction)
             8.ประเทศประชาธิปไตย (Democratic Country)

             ฉะนั้น จะรู้ประชาธิปไตยและแก้ปัญหาประชาธิปไตยให้ตกไปได้จะต้องรู้ทันจินตภาพรูปธรรมของประชาธิปไตยทั้ง 8 ประการนี้ นอกจากนั้นจะต้องศึกษาให้รู้ลัทธิเผด็จการและลัทธิคอมมิวนิสต์ด้วยจึงจะรู้ประชาธิปไตยอย่างแจ่มชัดตัดขาวตัดดำ
 
             ทั้ง 8 จินตภาพรูปธรรมของประชาธิปไตยนี้ มีด้านแรกที่เป็นด้านความคิดทฤษฎีที่จะต้องมาก่อนอื่นทั้งสิ้น คือ “ลัทธิประชาธิปไตย” นอกนั้น เป็นด้านวัตถุทางกายภาพทั้งสิ้นที่ต้องขึ้นต่อด้านความคิดอันเป็นกิจกรรมแรกสุดของมนุษย์  มนุษย์ผู้ใดยึดถือศรัทธาในลัทธิประชาธิปไตยกว่าลัทธิอื่นใดทั้งสิ้น เรียกว่าผู้นั้น “อุดมการณ์ลัทธิประชาธิปไตย” (Ideology) ที่เป็นวิธีคิดเพื่อนำไปสู่การสร้างสังคมประชาธิปไตยอันเป็น “อุดมคติ” (Ideal) ที่เป็นความมุ่งหมาย
             ความคิดหรืออุดมการณ์ (Ideology) ของลัทธิประชาธิปไตยเมื่อจะนำเอาไปปฏิบัติให้ปรากฏเป็นจริงก็ต้องผ่านระบบความคิดคือ เริ่มจากจุดยืนประชาชน (Standpoint) วิธีคิดประชาธิปไตย ประกอบด้วย ทฤษฎีประชาธิปไตยทางปรัชญา ทางรัฐศาสตร์ ทางเศรษฐศาสตร์ แนวทางประชาธิปไตย หลักนโยบายประชาธิปไตย นโยบายประชาธิปไตย วิธีการประชาธิปไตย มาตรการประชาธิปไตย ยุทธศาสตร์ประชาธิปไตย ยุทธวิธีประชาธิปไตย กล่าวอย่างชัดเจนคือจากอุดมการลัทธิประชาธิปไตยที่เป็นนามธรรมแปรมาเป็นนโยบายประชาธิปไตยที่เป็นรูปธรรมนั่นเอง
 
              ว่าด้วยทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ของลัทธิประชาธิปไตย 
 
              ตามระบบสังคมประกอบด้วย 3 ด้านคือ ด้านการเมือง ด้านเศรษฐกิจ ด้านวัฒนธรรม โดยมีด้านการเมืองเป็นส่วนนำ ด้านเศรษฐกิจเป็นรากฐาน ด้านวัฒนธรรมเป็นผลพวง 

             ระบบทุนนิยมเกิดขึ้นท่ามกลางยุคสมัยกลาง (Middle Age) ประมาณศตวรรษที่ 13-15 ชนชั้นกลาง(Bourgeoisie) เป็นผู้คิดค้นขึ้นมา  ซึ่งต่อมาชนชั้นกลางก็คือนายทุน (Capitalist) ในยุคประวัติศาสตร์สมัยใหม่นั่นเอง  ระบบเศรษฐกิจฟิวดัล (Feudalism) คือระบบเศรษฐกิจผลิตเพื่อกินเพื่อใช้ (Self-sufficient Economy) แต่แตกต่างกับระบบเศรษฐกิจทุนนิยม (Capitalism) คือเศรษฐกิจผลิตเป็นสินค้าเพื่อขาย (Commodity Economy)  ปัจจุบันนิยมเรียกว่า เศรษฐกิจการตลาด (Market Economy)

            ด้านกรรมสิทธิ์นั้น ระบบทุนนิยมส่งเสริม “กรรมสิทธิ์เอกชน” (Private Ownership/Private Property) ซึ่งพัฒนามาจากระบบเจ้าศักดินา(Feudalism) ที่มีเพียงสิทธิ์ในที่นาคือสิทธิในการทำกินอยู่อาศัยเท่านั้น แต่ไม่มีกรรมสิทธิ์เป็นของตนเอง  ส่วนกรรมสิทธิ์เป็นของรัฐโดยมีพระมหากษัตริย์องค์รัฏฐาธิปัตย์ และแตกต่างจากระบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์คือกรรมสิทธิ์เป็นของรัฐหรือสาธารณะ (State Ownership หรือ Public Ownership) โดยมีชนกรรมาชีพเป็นองค์รัฏฐาธิปัตย์
 
             ระบบทุนนิยมนั้นมีหัวใจ 2 อย่างคือ ทางเศรษฐกิจเป็นอุตสาหกรรม(Industry) ทางการเมืองเป็นประชาธิปไตย (Democracy)
          เศรษฐกิจของระบบทุนนิยมหรือระบบเสรีนิยม (Liberalism) เรียกว่า “ระบบเศรษฐกิจแห่งชาติ” (Nation Economy) อันเป็นระบบเศรษฐกิจของรัฐสมัยใหม่คือ รัฐแห่งชาติ (Nation State) ไม่ใช่ระบบเศรษฐกิจฟิวดัลในยุคเจ้าครองนครของรัฐสมัยกลางคือ รัฐเจ้าครองนคร(Feudal State) ไม่ใช่ระบบเศรษฐกิจสังคมนิยมของรัฐชาติสังคมนิยม (Socialist Nation State) ฉะนั้นระบบเศรษฐกิจจะเป็นอย่างไรขึ้นอยู่กับ “ชนิดของรัฐ” ที่มีพัฒนาการตั้งแต่ก่อกำเนิดรัฐตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน คือรัฐแห่งนครหรือนครรัฐ (City State) รัฐแห่งจักรวรรดิหรือจักรวรรดิรัฐ (Empire State) รัฐแห่งชาติ หรือรัฐประชาชาติ(Nation State) รัฐแห่งชาติสังคมนิยม (Socialist State) เพราะคำว่า “Nation” นี้เพิ่งเกิดขึ้นในโลกเมื่อประมาณ 300-400 ปี ก็คือระบบเศรษฐกิจทุนนิยม หรือ เศรษฐกิจเสรีนิยมหรือเศรษฐกิจตลาดนั่นเอง   แต่เมื่อพูดถึงระบบเศรษฐกิจแห่งชาติมักจะเข้าใจผิดว่าเป็น “เศรษฐกิจระดับชาติ” ซึ่งเปรียบเทียบกับระดับท้องถิ่นหรือนานาชาติ แต่เท็จจริงแล้วระบบเศรษฐกิจแห่งชาติคือ เศรษฐกิจของชาติสมัยใหม่(Nation) นั่นเอง  ดังเช่นนโยบายแห่งชาติหรือนโยบายสร้างประชาธิปไตยได้กำหนดไว้ว่า “ 2. สร้างระบบเศรษฐกิจแห่งชาติให้สำเร็จ” ไม่ใช่สร้างเศรษฐกิจระดับชาติหรือ สร้างเศรษฐกิจของประเทศ เพราะเศรษฐกิจระดับชาติหรือเศรษฐกิจของประเทศมีอยู่แล้ว  แต่เป็นระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมด้อยพัฒนา ไม่ใช่ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมกำลังพัฒนา หรือทุนนิยมพัฒนาแล้ว  กล่าวคือ ระบบเศรษฐกิจแห่งชาติได้สร้างขึ้นแล้วแต่ยังไม่แล้วเสร็จ  จะต้องสร้างให้แล้วเสร็จ นั่นคือ เปลี่ยนจากระบบเศรษฐกิจแห่งชาติ  ด้อยพัฒนาขึ้นสู่ระบบเศรษฐกิจแห่งชาติกำลังพัฒนาเพื่อไปสู่ระบบเศรษฐกิจแห่งชาติพัฒนาแล้ว
     
        ก่อนจะเกิดระบบทุนนิยมนั้น ในสมัยฟิวดัล เขตแคว้นต่างๆอยู่ได้ด้วยตัวเองไม่ต้องพึ่งพาอาศัยกัน ทุกหมู่บ้าน ทุกตำบล ทุกเมือง ทำเองใช้เองกันทั้งนั้น เขตแคว้นฟิวดัลจึงต่างคนต่างอยู่ในลักษณะปิดพรมแดน  ต่อมาประมาณศตวรรษที่ 15 เกิดระบบเศรษฐกิจระบบใหม่แตกหน่อขึ้นในระบบเศรษฐกิจฟิวดัล  และได้เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรม (Industrial Revolution) ในศตวรรษที่ 18 ซึ่งเปลี่ยนเครื่องจักรใช้พลังงานธรรมชาติมาเป็นเครื่องจักรใช้พลังงานวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วยประดิษฐกรรมใหม่ๆ ได้ผลักดันเศรษฐกิจทุนนิยมให้ขยายตัวอย่างรวดเร็วซึ่งต้องการตลาดอันกว้างขวาง  ทำให้เกิดความจำเป็นที่จะต้องทะลายพรมแดนของแคว้นฟิวดัล  เพื่อให้สินค้าเดินทางได้สะดวก เป็นเหตุให้ต้องเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยรวมเขตแคว้นและหัวเมืองฟิวดัลให้เข้ามาอยู่ภายใต้นครหลวงอันเดียวกัน  ไม่กระจัดกระจายกันอยู่หรือขึ้นต่อนครหลวงอย่างหลวมๆ เหมือนแต่ก่อน กระบวนการนี้คือ กระบวนการเปลี่ยนแปลงรัฐแบบเก่าหรือรัฐฟิวดัลมาเป็นรัฐแบบใหม่หรือรัฐแห่งชาติ ก็คือกระบวนการรวมประเทศ รวมราชอาณาจักร รวมชาติหรือก่อตั้งชาติ (Nation) ซึ่งเป็นเงื่อนไขอันจำเป็นของพัฒนาการของระบบทุนนิยม
             ทฤษฎีต่าง ๆ รวมทั้งทฤษฎีทางเศรษฐกิจของลัทธิประชาธิปไตยนี้ โดยส่วนใหญ่แล้วมันจะเกิดการพัฒนาไปก่อนอย่างเป็นไปเอง  แล้วจึงสรุปขึ้นเป็นทฤษฎีแล้วรวบรวมทฤษฎีด้านต่าง ๆ ยกขึ้นเป็นลัทธิภายหลัง  ส่วนการตั้งข้อสมมุติฐานนั้นก็เป็นเพียงส่วนประกอบหนึ่งในการคิดค้นหรือค้นพบทฤษฎีเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์สังคม (Social Science)
 
             ดังเช่น ประชาธิปไตยซึ่งแม้จะมีใครบรรลุความรู้ลัทธิประชาธิปไตยก็ไม่สามารถเอามาใช้ปฏิบัติให้เป็นจริงได้ถ้าไม่ใช่ยุคสมัยที่สอดคล้องกับระบอบประชาธิปไตยคือยุคใหม่ยุคทุนนิยม ซึ่งมีอุตสาหกรรมเป็นเงื่อนไขสำคัญ  จะไปใช้ลัทธิประชาธิปไตยในยุคสมัยโบราณ หรือยุคกลางไม่ได้  ตามกฎเกณฑ์แล้วเศรษฐกิจเป็นรากฐาน (Economic Base) ของการเมืองการปกครอง ดังนั้น ประชาธิปไตยจึงเริ่มที่ด้านเศรษฐกิจก่อน คือ เมื่อเกิดเศรษฐกิจอุตสาหกรรมขึ้นก็จะเกิดประชาธิปไตยในเศรษฐกิจ แต่ถ้ายังไม่มีอุตสาหกรรม ประชาธิปไตยในเศรษฐกิจก็ยังไม่มี เพราะคนส่วนใหญ่ทำงานเปล่าๆ โดยไม่มีค่าตอบแทน  ตัวอย่างเช่น สมัยกรีกโรมัน พวกทาสซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ล้วนแต่ทำงานฟรีทั้งนั้น  ไม่ต่างอะไรกับสัตว์เลี้ยง  มาถึงสมัยกลางพวกชาวนาซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่มีค่าตอบแทนบ้างแต่ก็น้อยเต็มที  เพราะยังต้องทำงานฟรีให้แก่เจ้าขุนมูลนายผู้เป็นเจ้าสังกัดอยู่อีกมาก  ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะไม่มีอุตสาหกรรม ผลิตกรรมจึงอยู่ในวงแคบ  ส่วนสำคัญก็อยู่ในการทำไร่ทำนา และมีหัตถกรรมเป็นส่วนประกอบ  แต่พอมีอุตสาหกรรมเกิดขึ้น ผลิตกรรมก็กว้างขวางออกไป เพราะอุตสาหกรรมย่อมประกอบด้วยการใช้เครื่องจักร ทำให้มีกำลังผลิตสูง บังเกิดผลผลิตที่อุดมสมบูรณ์ขึ้นโดยลำดับ  ทั้งผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมและผลผลิตเกษตรกรรม ยังผลให้พาณิชยกรรมขยายตัวยิ่งขึ้น  ต่อมาเมื่อมีการปฏิวัติอุตสาหกรรมในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 โดยเปลี่ยนเครื่องจักรสมัยเก่าเป็นเครื่องจักรสมัยใหม่  ซึ่งเริ่มด้วยเครื่องจักรไอน้ำ ผลผลิตก็อุดมสมบูรณ์ยิ่งขึ้นอย่างรวดเร็ว และเครื่องจักรสมัยใหม่ก็ยังช่วยให้การขนส่งขยายตัวอย่างรวดเร็วอีกด้วย ทั้งทางบกและทางน้ำ ซึ่งผลักดันให้พาณิชยกรรมขยายตัวอย่างรวดเร็วเช่นเดียวกัน เป็นอันว่าเกษตรกรรม อุตสาหกรรม พาณิชยกรรมและการขนส่งอันประกอบกันเข้าเป็นองค์รวมของเศรษฐกิจแห่งชาติของแต่ละประเทศได้พัฒนารุดหน้าอย่างใหญ่หลวง  สภาวการณ์เช่นนี้ยังผลให้การทำงานฟรีหมดไป ประชากรทั่วประเทศได้รับส่วนแบ่งจากรายได้แห่งชาติอย่างทั่วถึง ต่างกันแต่บางพวกได้มาก บางพวกได้น้อย การทำงานไม่ได้ส่วนแบ่งเลยอย่างสมัยกรีกโรมันหรือสมัยกลางไม่มีอีกต่อไป

             การที่ประชาชนทั่วไปต่างมีส่วนในรายได้แห่งชาตินั่นแหละ คือสาระสำคัญของประชาธิปไตยในเศรษฐกิจ ประชาธิปไตยในเศรษฐกิจจะมีมากมีน้อย  วัดด้วยการแบ่งรายได้แห่งชาติว่าจะยุติธรรมหรือไม่เพียงใด ในประเทศที่ช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนกว้างมาก ประชาธิปไตยในเศรษฐกิจก็น้อย ในประเทศที่ช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนแคบลง  ประชาธิปไตยในเศรษฐกิจก็มากขึ้น  โดยทั่วไปในประเทศกำลังพัฒนามีประชาธิปไตยในเศรษฐกิจก็มากขึ้นกว่าประเทศด้อยพัฒนา  และประเทศกำลังพัฒนามีประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจน้อยกว่าในประเทศพัฒนาแล้ว

             เมื่อประชาธิปไตยในเศรษฐกิจเกิดขึ้น ก็ผลักดันให้เกิดประชาธิปไตยในการเมือง แต่ก่อนการเมืองเล่นกันอยู่เฉพาะระหว่างคนกลุ่มน้อย  เช่นระหว่างกลุ่มอภิสิทธิ์ชน แย่งอำนาจกัน ระหว่างราชวงศ์ชิงอำนาจกัน ต่อมาเมื่อคนส่วนใหญ่มีรายได้ดีขึ้น ฐานะในสังคมก็สูงขึ้น จึงเริ่มมีส่วนในการเมือง ชนชั้นกลางเรียกร้องสิทธิขึ้นก่อน  ต่อมาเป็นพวกอื่นๆเช่น ปัญญาชน ชาวไร่ชาวนา ตลอดถึงกรรมกรก็เรียกร้องสิทธิบ้าง  เป็นอันว่าการเมืองไม่ได้อยู่ในวงแคบของคนส่วนน้อยอีกต่อไป  แต่คนส่วนใหญ่ของประเทศได้เข้ามีส่วนในการเมืองด้วย  การที่คนทั่วไปเข้ามีส่วนในการดำเนินการเมืองนี่เอง คือประชาธิปไตยในการเมือง
 
              ประชาธิปไตยในการเมือง ผลักดันให้มีประชาธิปไตยในการปกครอง เพราะความมุ่งหมายของการเมืองนั้น  ก็เพื่อไปดำเนินการปกครอง ชนชั้นกลางเคลื่อนไหวทางการเมืองก็เพื่อจะได้เข้าไปดำเนินการปกครอง ปัญญาชนตลอดจนชาวนากรรมกรก็เคลื่อนไหวทางการเมืองเพื่อจะดำเนินการปกครองเช่นเดียวกัน ดังนี้ จึงก่อให้เกิดการปกครอง ที่มีประชาชนเข้าดำเนินการในรูปต่าง ๆ กันเช่น ระบบรัฐสภา (Parliamentary System) ในอังกฤษ และระบบประธานาธิบดี (Presidential System) ในอเมริกา รูปร่างต่าง ๆ ของการปกครองเหล่านี้คือ การปกครองที่ประชาชนเข้าดำเนินการ และการปกครองที่ประชาชนเข้าดำเนินการก็คือ ประชาธิปไตยในการปกครอง หรือที่เรียกกันว่าระบอบประชาธิปไตย นั่นเอง จึงเห็นได้ว่า ประชาธิปไตยในการปกครองนั้น เกิดขึ้นบนรากฐานของประชาธิปไตยในการเมืองและประชาธิปไตยในเศรษฐกิจ โดยประชาธิปไตยในเศรษฐกิจมาก่อน แล้วประชาธิปไตยในการเมืองจึงตามมาแล้วก็ตามหลังด้วยประชาธิปไตยในการปกครองอีกทีหนึ่ง เรียงตามลำดับดังนี้

              เมื่อมีประชาธิปไตยในการปกครอง คือ ระบอบประชาธิปไตยหรืออำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน (Sovereignty of the People) ก็จะผลักดันส่งเสริมให้เศรษฐกิจไปสู่ทุนนิยมกำลังพัฒนา และไปสู่ทุนนิยมพัฒนาแล้วตามลำดับ ดังเช่น สัจธรรมที่ว่า “ ไม่ว่าบ้านเมืองใด เมื่ออุตสาหกรรมขยายตัวขึ้นถึงระดับหนึ่งแล้ว จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงการปกครองให้เป็นแบบประชาธิปไตย มิฉะนั้นการขยายตัวของอุตสาหกรรมซึ่งจะเป็นไปตามกฎเกณฑ์ของเศรษฐกิจ จะทำลายเกษตรกรรม และทำลายการประกอบกิจการขนาดกลางและขนาดเล็ก นำความหายนะมาสู่เศรษฐกิจของชาติ แต่ถ้าเปลี่ยนแปลงการปกครองให้เป็นแบบประชาธิปไตย การพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติก็จะเป็นไปอย่างสมดุลบรรลุถึงความเป็นประเทศอารยะหรือประเทศพัฒนาสามารถขจัดความจนบรรลุความมั่นคงแห่งชาติได้”
     
              ประชาธิปไตย คือดุลยภาพระหว่างสิทธิของบุคคลและอธิปไตยของปวงชน แต่สิทธิของบุคคลและอธิปไตยชองปวงชนต่างก็ตั้งอยู่บนรากฐานของกรรมสิทธิ์เอกชน (Private Ownership) ในทางเศรษฐกิจ เพราะระบบเศรษฐกิจเป็นรากฐานของระบบการเมืองและระบบการปกครอง ถ้าเอกชนไม่มีกรรมสิทธิ์ในทางเศรษฐกิจแล้ว สิทธิขั้นมูลฐานทางการเมืองของบุคคลก็จะสมบูรณ์ไม่ได้ และอธิปไตยที่สะท้อนความต้องการอันแท้จริงของประชาชนก็จะมีไม่ได้เช่นกัน

             กรรมสิทธิ์เอกชนในทางเศรษฐกิจ  ซึ่งประกอบเป็นรากฐานอันสำคัญที่สุดก็คือ กรรมสิทธิ์ของชาวนาชาวไร่ เพราะชาวนาชาวไร่เป็นประชาชนฝ่ายข้างมากที่สุดในสังคมของประเทศชาติ (80%) ที่จะสร้างประชาธิปไตย ฉะนั้น ถ้าชาวนาชาวไร่ไม่มีกรรมสิทธิ์เอกชนในทางเศรษฐกิจแล้ว กล่าวโดยพื้นฐานก็ไม่สามารถมีสิทธิของบุคคลและอธิปไตยของปวงชนได้ คือ ไม่สามารถจะมีประชาธิปไตยได้นั่นเอง กรรมสิทธิ์เอกชนในทางเศรษฐกิจของชาวไร่ชาวนาคือ กรรมสิทธิ์ในที่ดินของชาวนาชาวไร่ อันเกิดจากผลของการยกเลิกระบบเจ้าที่ดิน ต้องทำให้ชาวนาชาวไร่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินเสียก่อน สิทธิของบุคคลและอธิปไตยของปวงชนตามลัทธิประชาธิปไตยจึงจะมีขึ้นได้จริง ถ้าไม่ทำให้ชาวนาชาวไร่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินอย่างทั่วถึงแล้ว ถึงจะประกาศสิทธิของบุคคลและอธิปไตยของปวงชนไว้ในรัฐธรรมนูญอย่างสวยงามสักเพียงใดก็ตาม ก็จะเป็นเพียงลมๆแล้งๆ ไม่สามารถสร้างประชาธิปไตยได้จริงเลย
 
              ด้วยเหตุนี้ การปฏิวัติประชาธิปไตยชั้นสูงในทุกประเทศ เมื่อปวงชนได้อธิปไตยแล้ว สิ่งแรกที่จะต้องกระทำก็คือ การปฏิรูปที่ดิน (Land Reform) ยกเลิกระบบเจ้าที่ดินเวนคืนอย่างยุติธรรมจากเจ้าที่ดิน เอาที่ดินมาแบ่งให้ชาวนาชาวไร่ จึงเห็นได้ว่าการสร้างประชาธิปไตยคือการสร้างสิทธิของบุคคลและอธิปไตยของปวงชนนั้น  หัวใจจึงอยู่ที่การปฏิรูปที่ดิน ถ้าไม่ทำการปฏิรูปที่ดินก็เท่ากับไม่ได้ทำอะไรเลย การที่เราสร้างประชาธิปไตยไม่สำเร็จมาเกือบ77 ปีแล้วนั้นก็เพราะเราไม่ได้ทำการปฏิรูปที่ดินนั่นเอง แม้ว่าบางรัฐบาลและบางสถาบันจะเสนอแก้ปัญหาชาติด้วยการเก็บภาษีที่ดินและมรดกในอัตราก้าวหน้า ตั้งธนาคารที่ดินและจัดรูปที่ดินก็ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ถ้าไม่ปฏิวัติประชาธิปไตยและปฏิรูปที่ดิน
 
              การปฏิรูปที่ดินคือ การยกเลิกระบบเจ้าที่ดิน เพื่อทำให้ที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์เอกชน โดยเฉพาะชาวไร่ชาวนา  เพราะระบบเจ้าที่ดินเป็นระบบกรรมสิทธิ์เอกชน แต่เป็นกรรมสิทธิ์เอกชนของเจ้าที่ดินซึ่งเป็นคนจำนวนน้อย  ส่วนชาวนาชาวไร่ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน แต่ต้องเช่าที่ดินจากเจ้าที่ดิน การที่กรรมสิทธิ์เอกชนในที่ดินตกอยู่แก่เจ้าที่ดินซึ่งเป็นคนส่วนน้อย เป็นการบั่นทอนกรรมสิทธิ์เอกชนอย่างร้ายแรง  เพราะเป็นอุปสรรคมิให้กรรมสิทธิ์เอกชนส่วนใหญ่ที่สุดของประเทศ คือกรรมสิทธิ์ชาวไร่ชาวนาขยายตัวออกไปได้ ด้วยเหตุนี้การตัดทอนกรรมสิทธิของเจ้าที่ดินเพื่อขยายกรรมสิทธิ์ของชาวนาชาวไร่จึงเป็นการส่งเสริมกรรมสิทธิ์เอกชนอย่างกว้างขวางที่สุด อันเป็นการส่งเสริมรากฐานของประชาธิปไตย นั่นเอง ซึ่งตรงข้ามกับคอมมิวนิสต์ก็คือ การทำลายกรรมสิทธิ์เอกชนทั้งสิ้น เปลี่ยนเป็นกรรมสิทธิ์ของรัฐ
              ขบวนการชาวนาในระบบเจ้าที่ดินคือกำลังหลัก (Main Forces) ทั้งของขบวนการประชาธิปไตยและขบวนการคอมมิวนิสต์  ถ้าชาวนาชาวไร่เป็นกำลังหลักให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฝ่ายนั้นก็จะชนะ แต่ชาวไร่ชาวนาไทยอยู่กับฝ่ายขบวนการประชาธิปไตย  ฝ่ายประชาธิปไตยจึงจะเป็นฝ่ายมีชัยชนะ ประเทศก็จะเป็นประชาธิปไตยที่แท้จริง หรือเป็นประชาธิปไตยรากหญ้า (Grassroot Democracy) ที่เรียกทางวิชาการว่า “ประชาธิปไตยสังคม” (Social Democracy)
           สถานการณ์ปัจจุบันนี้ ที่ดินนั้นได้รวมศูนย์อยู่ที่คนส่วนน้อยที่เป็นเจ้าที่ดิน (Landlord) และธนาคารต่างชาติ(Banker) รวมทั้งต่างชาติและต่างด้าวไม่อยู่ในมือชาวนาชาวไร่ หรือคนไทยชนชั้นกลางและชนชั้นล่างอันเป็นรูปธรรม “กรรมสิทธิ์ต่างชาติรุกรานทำลายกรรมสิทธิ์ไทย” ดังนั้น การปฏิรูปที่ดินในสถานการณ์ปัจจุบันก็คือ การกู้ชาติ กู้แผ่นดิน จากต่างชาติและเผด็จการรัฐสภานั่นคือแก้ปัญหาเอกราชและแก้ปัญหาประชาธิปไตยนั่นเอง 

           การแก้ปัญหาประชาธิปไตยทางการเมือง โดยเฉพาะคือทำให้อธิปไตยของปวงชนและเสรีภาพของบุคคลปรากฏเป็นความจริง  ยังผลให้เกิดเสรีภาพทางการเมือง และมีการปกครองที่เข้มแข็งตามระบอบประชาธิปไตยได้แล้ว  จึงดำเนินการแก้ปัญหาประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจควบคู่กันไป  การปฏิรูปที่ดินคือ ปัญหาพื้นฐานของประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจเพราะเป็นการขยายกรรมสิทธิ์เอกชนอย่างกว้างขวางที่สุดโดยทำให้ชาวนาชาวไร่ ซึ่งเป็นประชาชนส่วนใหญ่ที่สุดของประเทศได้มีที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเองอย่างทั่วถึง ซึ่งนอกจากจะมีผลทางเศรษฐกิจอย่างสำคัญที่สุดแล้ว  ก็จะผลักดันให้เสรีภาพของบุคคลและอธิปไตยของปวงชนมั่นคงและเข้มแข็งยิ่งขึ้น
      
               การปฏิรูปที่ดินเป็นการแก้ปัญหาพื้นฐานของประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจ  ก็เพราะว่าระบบ
กรรมสิทธิ์เจ้าที่ดิน คือที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้าของที่ดิน แต่ผู้ทำนาไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้น  เป็นอุปสรรคต่อการขยายตัวเศรษฐกิจแห่งชาติในสังคมประชาธิปไตยอันเป็นสังคมอุตสาหกรรม  ระบบเศรษฐกิจแห่งชาติในระบอบประชาธิปไตยจะพัฒนาไปได้ขึ้นอยู่กับการขยายตัวของเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมควบคู่กันไป โดยต่างก็เป็นเงื่อนไขให้แก่กันและกัน  กล่าวคือเกษตรกรรมสนองวัตถุดิบให้แก่อุตสาหกรรม อุตสาหกรรมสนองเครื่องมือวัตถุอุปกรณ์ และป้องกันภัยธรรมชาติให้แก่เกษตรกรรมและเกษตรกรรมกับอุตสาหกรรมต่างก็สนองตลาดให้แก่กันและกัน  ฉะนั้น เกษตรกรรมและอุตสาหกรรมจะต้องขยายตัวไปด้วยกันทั้ง 2 ด้าน จึงจะขยายตัวไปได้ แล้วจึงจะเป็นเงื่อนไขให้พาณิชยกรรมและการขนส่งคมนาคมขยายตัวไปได้ด้วย
  
              แต่กระบวนการขยายตัวดังนี้ในปัจจุบัน อุปสรรคอยู่ที่เกษตรกรรมไม่สามารถขยายตัวและ
อุปสรรคสำคัญที่สุดของการขยายตัวของเกษตรกรรมอยู่ที่ชาวนาชาวไร่จำนวนมากไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน  ดังนั้นการปฏิรูปที่ดินจึงเป็นหัวใจของการพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติทั้งระบบ การปฏิรูปที่ดินจึงมิใช่เพื่อเกษตรกรรมแต่อย่างเดียว แต่เพื่ออุตสาหกรรม เพื่อพาณิชยกรรมและเพื่อการขนส่งคมนาคม รวมทั้งหมดนั่นคือ เพื่อเศรษฐกิจแห่งชาติทั้งระบบทีเดียว การสร้างระบบเศรษฐกิจแห่งชาติให้สำเร็จเจริญเฟื่องฟูเกิดจากการผลิตทางเกษตรกรรมที่เจริญเติบโตอย่างมากมายและมั่นคงยั่งยืนเป็นเบื้องต้นที่สุด  อันเกิดจาก “ความมั่นคงทางจิตใจของชาวนาชาวไร่” และความมั่นคงทางจิตใจของชาวนาชาวไรเกิดขึ้นได้ด้วยการมีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน กรรมสิทธิ์ในที่ดินของชาวนาชาวไร่ เกิดจากการปฏิรูปที่ดิน และการปฏิรูปที่ดินเกิดจากการปฏิวัติประชาธิปไตยนั่นเอง
 
             เมื่อวิเคราะห์สถานการณ์ทางเศรษฐกิจปัจจุบัน ที่ยังไม่มีการสร้างประชาธิปไตยและยังสร้างระบบเศรษฐกิจแห่งชาติให้สำเร็จ  จึงเป็นระบอบเผด็จการรัฐสภาที่มีระบบทุนนิยมด้อยพัฒนาหรือทุนนิยมผูกขาดโดยมีการกระชับการรวมศูนย์อำนาจทางการเมืองและมีการรวมศูนย์ทุนทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรง  สวนทางชนิดตรงข้ามกับการกระจายอำนาจและกระจายทุนของระบอบประชาธิปไตยกับระบบทุนนิยมกำลังพัฒนา  จึงเกิดปรากฏการณ์ของความล้มเหลวอย่างสิ้นเชิงของระบอบเผด็จการและระบบทุนนิยมผูกขาดเป็นปรากฏการณ์ในสถานการณ์ปฏิวัติกระแสสูงที่จะต้องหลอกลวงหลอกล่อประชาชนอย่างสุดขีดถึงขั้นขนเงินออกแจกประชาชนโดยตรงเพื่อซื้อเวลาซื้ออำนาจอยู่ไปวันต่อวัน  ไม่อาจจะดำเนินการปกครองและบริหารระบบเศรษฐกิจให้ประโยชน์แก่ประชาชนได้โดยระบอบและระบบที่เป็นโครงสร้างซึ่งดำรงอยู่ในขณะนี้  ยิ่งเพิ่มความรุนแรงของนโยบายประชานิยมมากขึ้นเท่าใด นั่นคือ ยิ่งเดินทางไปสู่ความล่มสลายใกล้เข้าไปทุกขณะแล้ว การคอรัปชั่นก็ยิ่งทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นควบคู่ไปกับนโยบายประชานิยมบ้าคลั่ง กล่าวอย่างถึงที่สุดคือ “นโยบายประชานิยม คือ นโยบายคอรัปชั่นนิยม” นั่นเอง ซึ่งคอรัปชั่นทั้งระบอบและทุกคน นี่คือปรากฏการณ์แห่งความสิ้นสุดของระบอบเผด็จการรัฐสภาและระบบทุนนิยมผูกขาดของไทยได้มาถึงแล้ว
              ขจัดการผูกขาดโดยปรับลดวิสาหกิจที่ครอบงำความเป็นอยู่ของประชาชนที่เป็นเหตุแห่งความ
ยากจนทุกข์เข็ญเดือดร้อนแก่ประชาชนส่วนใหญ่  เพราะระบบทุนนิยมนั้นย่อมมีการขูดรีดเป็นลักษณะสำคัญ  ตราบใดที่มีระบบทุนนิยมตราบนั้นก็มีการขูดรีด  แต่การขูดรีดก็นำมาซึ่งความเจริญ แต่อีกด้านหนึ่งคือความทุกข์ยากเดือดร้อนอยุติธรรม  ถ้าเปิดเสรีอย่างอนาธิปไตยมือใครยาวสาวได้สาวเอา  ปลาใหญ่กินปลาเล็ก ทุนใหญ่กินทุนเล็ก (Anarcho Capitalism) ก็ไม่ใช่ประชาธิปไตย  แต่ถ้าสุดโต่งไปอีกด้านหนึ่งแบบไม่ให้เสรีแก่เอกชนในการแข่งขันเลย  รัฐเป็นเจ้าของควบคุมโดยเด็ดขาดเบ็ดเสร็จแบบทุนนิยมโดยรัฐ (State Capitalism) ก็ไปไม่รอด เช่นประเทศคอมมิวนิสต์ จะต้องปรับให้เกิดดุลยภาพ (Equilibrium) คือส่งเสริมกรรมสิทธิ์เอกชนอย่างเสรี แต่ต้องไม่ไปครอบงำผูกขาดทำลายต่อเศรษฐกิจส่วนบุคคลเอกชน คือทำให้วิสาหกิจขนาดใหญ่ที่ครอบงำชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนจนเกิดปัญหาความยากจนทุกข์ยากเดือดร้อนแก่ประชาชนคนส่วนใหญ่ของประเทศไม่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาของระบบเศรษฐกิจแห่งชาติ  นั่นคือจะต้องดำรงการ “แข่งขัน” ไว้ให้ได้ อย่าปล่อยให้เป็นการ “บงการ” เพราะการแข่งขันคือประชาธิปไตย แต่การบงการคือเผด็จการ
 
           อำนาจอธิปไตยปวงชนหรือระบอบประชาธิปไตยจะทำให้การขูดรีดอยู่ภายใต้ความเป็นธรรมไม่เป็นโทษแก่ประชาชนคนทั้งประเทศ  คือจะควบคุมการแข่งขัน โดยขจัดด้านบงการหรือด้านครอบงำของวิสาหกิจขนาดใหญ่ที่จะครอบงำความเป็นอยู่ของประชาชนได้ที่จะต้องคอยปรับให้พอดีเหมาะสมเช่น ธนาคารพาณิชย์ อุตสาหกรรมหนัก การค้าระหว่างประเทศ การขนส่งที่สำคัญทั้งในและต่างประเทศเป็นต้น กระทำการควบคุมปรับการบงการหรือการครอบงำของวิสาหกิจขนาดใหญ่ที่มีผลต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน ด้วยมาตรการดังนี้
              1. ทำลายการรวมศูนย์ทุน ด้วยการกระจายทุน
      
              กระจายทุน โดยทำการปฏิรูปที่ดินให้เสร็จสิ้นสมบูรณ์เพื่อเปลี่ยนการผูกขาดในที่ดินให้กระจายไปสู่ชาวนาชาวไร่ และรายได้ของเจ้าที่ดินจากการเวนคืนกระจายไปสู่รัฐวิสาหกิจต่าง ๆ โดยเฉพาะคือ หุ้นส่วนเป็นพันธบัตรในรัฐวิสาหกิจ คือกระจายทุนสู่ด้านเกษตรกรรมโดยการปฏิรูปที่ดิน และกระจายทุนสู่ด้านอุตสาหกรรมรัฐวิสาหกิจโดยการลงทุนในรูปพันธบัตร  อันเป็นการขยายตัวทั้งภาคเกษตรกรรมและภาคอุตสาหกรรมคู่กัน  พร้อมกันนั้นด้านวิสาหกิจเอกชนคือ บริษัทครอบครัวของวิสาหกิจต่างๆมาเป็นบริษัทมหาชนที่สมบูรณ์แท้จริง “จากเอกชนมาสู่มหาชน” และวิธีการหรือเครื่องมือในการกระจายทุน สู่มหาชนหรือสู่ชาวไร่ชาวนาประชาชนคนส่วนใหญ่นั้นจะต้องเป็นองค์การจัดตั้งรากฐานแห่งความสามัคคีเป็นปึกแผ่นและทรงพลังนั่นคือ “ระบบสหกรณ์แบบประชาธิปไตย” ที่มีการนำทางจิตวิญญาณด้วย เช่นสัจจออมทรัพย์ที่ทำสำเร็จขึ้นแล้วแต่ถูกปิดล้อมโดยระบบทุนนิยมผูกขาดของระบอบเผด็จการรัฐสภาทำให้ขยายตัวไม่ออก

              2. ระบบเศรษฐกิจพอเพียง
    
             โดยแท้จริงแล้วระบบเศรษฐกิจพอเพียงเป็นระบบเศรษฐกิจผลิตพอกินพอใช้ของระบบเศรษฐกิจฟิวดัล (Self-sufficient Economy) แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประยุกต์เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน  คล้ายยุทธศาสตร์ “แจ๊กผู้ฆ่ายักษ์” แจ๊กคือประชาชน ยักษ์คือทุนผูกขาดเผด็จการและทุนข้ามชาติ ทุนเล็กทุนน้อยสู้ทุนใหญ่ เช่น ทุนชุมชน   ไร่นาส่วนผสม คือมีระบบเศรษฐกิจพอเพียงเป็นหัวใจ1 ส่วนและมีระบบเศรษฐกิจเสรีนิยมอีก 3 ส่วน รวมกันเป็นระบบเศรษฐกิจแห่งชาติของไทย เป็นทฤษฎีใหม่ของโลกซึ่งเป็นสัมพันธภาพระหว่างจิตวิญญาณ เศรษฐกิจ การเมืองและวัฒนธรรม
 
            3. รัฐเข้ามีส่วนช่วยในการบริหารโดยตรง แต่ต้องไม่ทำลายกรรมสิทธิเอกชนซึ่งเป็นหัวใจของระบบเสรีนิยมและต้องไม่ทำลายดุลยภาพระหว่างเศรษฐกิจภาคเอกชนกับเศรษฐกิจภาคสาธารณะ
 
            4. กระชับความเข้มแข็งในการบริหารจัดการของรัฐต่อรัฐวิสาหกิจโดยเฉพาะรัฐวิสาหกิจที่เป็นสาธารณูปโภคโดยปฏิรูปให้เป็นประชาธิปไตยโดยให้ผู้แทนของกรรมกรแรงงานเข้าร่วมถืออำนาจบริหารในบอร์ดหรือคณะกรรมการบริหารของรัฐวิสาหกิจอย่างพอเหมาะพอดี คือประมาณ 50% ต่อ 50%
การนำทางการเมือง การนำใหม่ของพรรคความหวังใหม่
 
              การเมืองคือคุณธรรม การต่อสู้เพื่อคุณธรรมจะทำให้เกิดการนำทางการเมืองขึ้นมาอย่างเป็นไปเอง เช่นการต่อสู้กับประเทศนักล่าอาณานิคมเพื่อเอกราช   การต่อสู้กับเผด็จการเพื่อประชาธิปไตย  การต่อสู้เพื่อความชอบธรรมหรือเพื่อความถูกต้องทั้งปวงในทางการเมืองนั้น  จะเกิดการนำทางการเมืองขึ้น แต่ในทางกลับกันการต่อสู้ที่ไม่ถูกต้องไม่ชอบธรรมทั้งปวงจะไม่ทำให้เกิดการนำทางการเมืองที่ถูกต้องหรืออาจจะไม่เกิดการนำทางการเมืองเลยแม้แต่น้อย  เช่น การต่อสู้กับประชาธิปไตยเพื่อเผด็จการเป็นต้น สรุปว่าการต่อสู้เพื่อความเป็นธรรม(Righteousness) หรือผลประโยชน์ของประชาชน หรือระบอบประชาธิปไตย หรืออำนาจอธิปไตยของปวงชน คือธรรมาธิปไตยย่อมเกิดการนำทางการเมืองเสมอไป 

              การนำทางการเมืองจะบังเกิดขึ้นกับประชาชนเมื่อประชาชนรู้ว่าอะไรคือเผด็จการ อะไรคือประชาธิปไตย อะไรคือเอกราช อะไรคือคอมมิวนิสต์ อะไรคือความอยุติธรรม อะไรคือความถูกธรรม  ประชาชนก็จะเกิดการต่อสู้อย่างเป็นไปเอง  และประชาชนจะมีผู้นำมีองค์การมวลชน มีองค์การพรรค หรือมีองค์การรัฐนำต่อสู้ จะเกิดการนำทางการเมืองที่เป็นเอกภาพเป็นรูปธรรมนำสู่ชัยชนะหรือบรรลุความสำเร็จในท้ายที่สุด 
 
 
              ถ้าผู้นำก็ดี องค์การมวลชน องค์การพรรค หรือองค์การรัฐก็ดี ได้แสดงออกถึงลักษณะการต่อสู้ที่ก้าวหน้าเป็นปฏิวัติอย่างเด็ดเดี่ยวที่สุด และกล้าหาญที่สุดปราศจากความกลัว (Fearlessness) จะเกิดการนำทางการเมืองที่ทรงพลังสูงสุด ประชาชนจะเข้าร่วมอย่างสุดจิตสุดใจและล้นหลามกว้างใหญ่ไพศาลมโหฬาร 
 
             การนำทางการเมืองที่สมบูรณ์ที่สุดเกิดจากผู้นำหรือองค์การนำที่มีทั้งนักทฤษฎี
แหลมคม (Theoretician) มีทั้งนักยุทธศาสตร์ที่ชาญฉลาด (Strategist) และมีทั้งนักจัดตั้งมืออาชีพ (Organizer) ที่รวมเรียกว่า “ นักปฏิวัติมืออาชีพ” (Professional Revolutionist) และจะยิ่งเยี่ยมยอดสูงส่งและสูงสุดคือมีลักษณะเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณที่หลุดพ้น (Spiritual Leader) กล่าวคือสามารถนำทั้งทางจิตวิญญาณ นำทางความคิด นำทางการจัดตั้ง ก็จะนำทางการเมืองได้อย่างทรงพลังสูงสุดนั่นเอง 
 
             ม็อบ(Mob) มีการนำทางการเมือง แต่ไม่มีการนำทางความคิดและจิตวิญญาณ แม้แต่การนำทางการจัดตั้งก็มีน้อย  กล่าวคือใช้อารมณ์ร่วมในการต่อสู้กับเผด็จการหรือความไม่เป็นธรรม ความไม่ถูกต้อง  ขาดการจัดตั้งทางความคิดและการจัดตั้งองค์การและการหล่อหลอมทางจิตวิญญาณอย่างเป็นระบบครบถ้วน  จึงไม่สามารถนำเอาม็อบไปสร้างประชาธิปไตยหรือสร้างคอมมิวนิสต์ได้ เช่น ทุกสังคมในเมืองไทยตั้งแต่ 14 ตุลา พฤษภาทมิฬ ม็อบเสื้อแดงม็อบเสื้อเหลือง แต่ถ้ายกระดับม็อบขึ้นสู่การจัดตั้งทางความคิดและจัดตั้งองค์การ และหล่อหลอมทางจิตวิญญาณ ด้วยอาวุธทางความคิด คือลัทธิประชาธิปไตย ลัทธิรวมศูนย์ประชาธิปไตยและปรัชญาศาสนาก็จะชนะได้อย่างแน่นอนคือสามารถผลักดันการสร้างประชาธิปไตยได้สำเร็จ  
   
            พรรค ส.ส.ปัจจุบัน ไม่มีการนำทางการเมือง มีแต่การนำทางการจัดตั้งแห่งเผด็จการ  ไม่มีการนำทางความคิด และจิตวิญญาณ ดังนั้น พรรค ส.ส.เหล่านี้ปกครองประเทศก็จะแก้ปัญหาชาติและแก้ปัญหาประชาชนไม่ได้  จึงพังไปเป็นลำดับ  โดดเดี่ยวจากประชาชนมากยิ่งขึ้น จนถูกประชาชนขับไล่โค่นล้มเป็นศัตรูของประชาชนดังนั้น เมื่อปกครองด้วยการเมืองของตนเองไม่ได้ จึงใช้นโยบายประชานิยม และแก้ปัญหาเศรษฐกิจให้ประเทศไม่ได้จึงกู้เงินและแจกเงินมากขึ้นเรื่อยๆ 
 
            กองทัพทำรัฐประหารนำทางการเมืองสร้างประชาธิปไตยไม่ได้ เช่น เมื่อใช้นโยบาย 66/23 ในอดีต จึงล้มเหลวถูกรุกทางการเมืองจนสูญเสียการนำทางการเมืองด้วยนโยบาย 66/23 ดังเช่นที่เคยมีการนำทางการเมืองสูงสุดในอดีตอย่างสิ้นเชิง  เพราะคณะรัฐประหารรสช. และคมช.ไม่เอานโยบาย 66/23 
   
            การนำการปฏิวัติหรือการนำทางการเมือง ถ้าถูกต้องก็สำเร็จแต่ถ้าผิดพลาดก็ล้มเหลว  เช่น การนำทางการเมืองของคอมมิวนิสต์เพื่อไปสร้างสังคมคอมมิวนิสต์ โดยเอาการนำไว้ที่ชนกรรมาชีพคือมอบอำนาจไว้ที่ชนกรรมาชีพหรือระบอบเผด็จการชนกรรมาชีพ  การนำชนิดนี้เป็นการนำที่ผิด จะไม่สามารถบรรลุสังคมอุดมคติได้เลย  และล่มสลายเช่น สหภาพโซเวียตและคอมมิวนิสต์ยุโรปตะวันออก การนำการปฏิวัติหรือการนำทางการเมืองที่ถูกต้องและปลอดภัยคือ เอาการนำมาไว้ที่ประชาชน โดยมอบอำนาจไว้ที่ประชาชน “อำนาจอธิปไตยของปวงชน” หรือระบอบประชาธิปไตย 
 
           เมื่อเอาอำนาจมาไว้ที่ประชาชน หรือให้ประชาชนนำทางการเมืองโดยประชาชนเอง ประชาชนก็จะเข้าร่วมการต่อสู้กับผู้นำของประชาชน องค์การมวลชนของประชาชน องค์การพรรคของประชาชน และองค์การรัฐของประชาชนตลอดไป การนำทางการเมืองของประชาชนเป็นการนำที่ทรงพลังที่สุด 

           การนำรวมหมู่ (Collective Leadership) ภายใต้ระบอบเผด็จการชนกรรมาชีพก็ยังไม่ใช่การนำทางการเมืองของประชาชน หรือนำโดยประชาชน กล่าวคือ การนำรวมหมู่อยู่ภายใต้อำนาจอธิปไตยเป็นของชนชั้นกรรมาชีพที่เป็นเผด็จการยังสู้ผู้นำคนเดียว  หรือคณะผู้นำหรือองค์การนำภายใต้อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน(Sovereignty of the People) ไม่ได้ คือผู้นำ องค์การนำที่ทำหน้าที่เป็นผู้แทนหรือต่อสู่เพื่อรักษาผลประโยชน์ของปวงชนคนทั้งประเทศ ประชาชนก็จะให้ความสนับสนุนและเข้าร่วม 
 
          การรุกทางการเมือง (Political Offensive) จะทำให้เกิดการนำทางการเมืองอย่างเข้มแข็งที่สุด เพราะ “การรุกทางการเมืองเป็นเครื่องกำหนดการดำรงอยู่ การขยายตัว และชัยชนะในการต่อสู้หรือสงครามยืดเยื้อยาวนาน”  ดังสัจธรรมของการรุกทางยุทธศาสตร์การเมืองที่ว่า... 
          “การปฏิวัติหรือสงครามปฏิวัติคือการรุกแห่งการปฏิวัติหรือสงครามปฏิวัติ ซึ่งเริ่มจากไม่มีมาสู่มี จากเล็กมาสู่ใหญ่ จากอ่อนแอมาสู่เข้มแข็ง จากไม่มีอำนาจทางการเมืองมาสู่เข้ายึดกุมอำนาจทางการเมือง จากไร้กองทัพแดงมาสู่การก่อกำเนิดขึ้น และจากไร้เขตอำนาจรัฐมาสู่การสถาปนาเขตอำนาจรัฐขึ้น - ในทุกขั้นตอนทั้งหมดนี้จะไม่มีแม้แต่วันเดียวที่เราจะปล่อยให้ตกเป็นฝ่ายตั้งรับแม้แต่นิดเดียว” (A revolution or revolutionary war is on the offensive, a revolution or revolutionary war starts from naught to being, from small to big, from emergence to development, from lack of political power to seizer of political power, from the absence of red army to its creation and from the absence of Soviet area to the establishment – in all these there is not a single day in which we can be permitted to be on the simple defensive.จากหนังสือStrategic Problems of China’s Revolutionary War) ซึ่งกำหนดขึ้นตามทฤษฎีทางปรัชญาจาก “0” มาสู่  1 2 3 จากไม่มีมาสู่มี จากอสังขตธรรมมาสู่สังขตธรรม นั่นเอง อันเป็นความจริงแท้ (Reality) 
 
           ตามนโยบาย 66/23 รุกทางการเมืองเอาชนะต่อเผด็จการคอมมิวนิสต์ด้วยการสร้างประชาธิปไตยคือขยายเสรีภาพของบุคคล ขยายอำนาจอธิปไตยของปวงชน ทำลายเผด็จการรัฐสภา จะทำให้เกิดการนำทางการเมืองเข้มแข็งทรงพลังที่สุด  จะดึงดูดเหนี่ยวนำให้ประชาชนเข้าร่วมกับฝ่ายที่ทำการรุกทางการเมืองอย่างมโหฬารกว้างใหญ่ไพศาล อันเป็นการโดดเดี่ยวเผด็จการคอมมิวนิสต์และเผด็จการรัฐสภาออกจากประชาชนอย่างรุนแรง 
                
           รูปธรรมของการรุกทางการเมือง คือ “การใช้นโยบายเป็นเครื่องมือรุกเอาชนะ” เช่น นโยบาย 66/23 ในการต่อสู้เพื่อเอาชนะสงครามปฏิวัติและในสถานการณ์สงครามเรียกว่า “นโยบายต่อสู้เพื่อเอาชนะคอมมิวนิสต์” ในสถานการณ์สันติภาพเรียกว่า “นโยบายสร้างประชาธิปไตย” 
 
             ในการเลือกตั้งทั่วไปพรรคการเมืองและผู้สมัครรับเลือกตั้งจะต้องทำการรณรงค์เลือกตั้ง (Election Campaign) คือการนำเอานโยบายไปต่อสู้กับนโยบายของพรรคต่างๆ ประชาชนเห็นว่านโยบายพรรคไหนดีมีประโยชน์ต่อประชาชนก็เลือกพรรคนั้นให้ขึ้นไปปฏิบัตินโยบายผ่านทางสภาและรัฐบาล คำว่า “รณรงค์” (Campaign) คือการต่อสู้หรือการทำสงครามให้ชนะ คำว่า  “Campaign” คือสงครามระดับสูงสุดคือ “การทัพ” (สงครามแบ่งออกเป็น 3 ระดับคือการรบ (Combat) การยุทธ์ (Battle) การทัพ (Campaign) ดังนั้น การรณรงค์คือการต่อสู้หรือการทำสงครามขั้นระดมสรรพกำลังทั้งสิ้นเข้ารบขั้นแตกหักเอาชนะสุดท้าย คือการทำสงครามขั้นการทัพทั้งสิ้น (Campaign) นั่นเอง  ฉะนั้นในการเลือกตั้งทั่วไป พรรคการเมืองไม่ใช่ไปหาเสียงซึ่งเป็นการเลือกตั้งแบบเผด็จการ แต่จะต้องทำการรณรงค์การเลือกตั้งแบบประชาธิปไตยคือการนำเอานโยบายไปต่อสู้หักล้างเอาชนะกันระหว่างพรรคการเมืองต่างๆที่ลงเลือกตั้ง ไม่ใช่โฆษณานโยบายเฉย ๆ ต่อประชาชน มิฉะนั้นก็ไม่ใช่การรณรงค์  ตัวอย่างเช่น การรณรงค์การเลือกตั้งในประเทศประชาธิปไตยทั้งหลาย ทั้งในระบบรัฐสภาและระบบประธานาธิบดี 
             นโยบายคือรูปธรรมของการรุกทางการเมืองที่จะทำให้เกิดการนำทางการเมืองที่ดีที่สุดที่จะนำไปสู่ความสำเร็จของการแก้ปัญหาชาติและปัญหาประชาชน  แต่จะต้องเป็นนโยบายที่ถูกต้องที่มาจากอุดมการณ์ลัทธิประชาธิปไตยที่ประยุกต์เข้ากับสถานการณ์ของประเทศชาติ คือ สะท้อนการแก้ปัญหาชาติที่ถูกต้อง หรือสอดคล้องกับความต้องการของชาติและประชาชน คือ นโยบายสร้างประชาธิปไตย ไม่ใช่นโยบายเผด็จการประชานิยมซื้อเสียงที่ไม่มีการยกเลิกระบอบเผด็จการ สร้างระบอบประชาธิปไตย  
           
         แต่นโยบายที่ถูกต้องอาจจะยังใช้รุกทางการเมืองไม่ได้ผลเพราะถูกบดบังด้วยความเห็นผิดมิจฉาทิฎฐิ เช่นเข้าใจผิดว่าประเทศไทยปัจจุบันนี้เป็นการปกครองระบอบประชาธิปไตยแล้วทั้ง ๆ ที่ความเป็นจริงคือระบอบเผด็จการรัฐสภา ถ้ามีปัญหาความเห็นที่ยังแก้ไม่ตกบดบังปัญหาประชาธิปไตยอยู่เช่นนี้ จะต้องแก้ปัญหาความเห็นและแก้ปัญหาประชาธิปไตยด้วยนโยบายไปพร้อมๆกันอย่างเป็นระบบ ซึ่งก็คือการให้การศึกษาวิชาการเมือง หรือวิชาปฏิวัติ หรือวิชาประชาธิปไตยต่อประชาชน และต่อผู้ปกครองนั่นเอง 
 
            การแก้ปัญหาความเห็นนั้นเป็นการแก้ปัญหาที่ยากที่สุด เพราะความเห็นผิดนั้นถูกปลูกฝังมายาวนานและมีการยึดมั่นถือมั่นที่เรียกว่า “ทิฎฐุปาทาน” จะแก้ได้ด้วยการปฏิบัติธรรมและประสานกับใช้หลักวิชาและวิชาประชาธิปไตยที่มีจินตภาพรูปธรรม (Concrete) มาเป็นเครื่องมือแก้ปัญหาความเห็นให้ถูกต้อง 
             การรุกทางการเมืองต่อฝ่ายตรงข้ามอย่างแหลมคมแจ่มชัดจะเป็นการโดดเดี่ยว (Isolation) ฝ่ายตรงข้ามออกจากประชาชนโดยชี้ให้เห็นความผิดพลาดของฝ่ายตรงข้ามทำให้เกิดความเสียหายร้ายแรงแก่ประชาชนประเทศชาติ หรือชี้ว่าฝ่ายตรงข้ามทำลายผลประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติอย่างชัดเจนที่สุด โดยฝ่ายเราเป็นฝ่ายที่รักษาผลประโยชน์ของประชาชนประเทศชาติอย่างไรบ้าง ชี้ให้เห็นอย่างคมชัดตัดขาวตัดดำ (Sharp & Keen, Clear & Cut) แต่ต้องเป็นไปตามความเป็นจริง ถ้าไม่จริงหรือเป็นการโจมตีหรือใส่ร้ายป้ายสีอย่างปราศจากข้อเท็จจริงรองรับก็จะไม่ได้ผล กลับจะเป็นการโดดเดี่ยวตนเองเสียเอง  ดังการรุกทางการเมืองของบิสมาร์กที่สามารถรวบรวมอาณาจักรไรท์ได้สำเร็จที่ว่า “ความจริงคือนโยบายที่ดีที่สุด” (Honesty Is the Best Policy) 
 
               การอธิบายนอกจากจะเป็นการทำให้เกิดการนำทางความคิดแล้วก็ยังเป็นการรุกทางการเมืองที่ดีจนทำให้ชนะได้ ดังคำกล่าวของนักปฏิวัติระดับโลกท่านหนึ่งว่า “ความสำเร็จของการปฏิวัติคือการอธิบาย อธิบาย อธิบาย และอธิบาย” (Explain, Explain, Explain and Explain) แต่ “การรุกทางการเมืองขั้นตอนสุดท้ายที่ทำให้มีชัยชนะอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาดสิ้นเชิงคือ การปฏิบัติ ปฏิบัติ ปฏิบัติ และปฏิบัติให้ปรากฏเป็นจริง” เช่น กองทัพแห่งชาติจะมีชัยชนะต่อคอมมิวนิสต์เด็ดขาดก็ต้องปฏิบัติการขยายเสรีภาพของบุคคลและขยายอธิปไตยของปวงชน บรรลุการปกครองแบบประชาธิปไตยให้แล้วเสร็จเป็นจริงแต่ถ้ายังไม่ปฏิบัตินโยบาย 66/23 ให้ปรากฏเป็นจริง คอมมิวนิสต์ก็จะต้องมีอยู่และเคลื่อนไหวต่อสู้ต่อไป 
               มหาตมะ คานธี ผู้นำกู้ชาติอินเดียแบบอหิงสาได้นำชาวอินเดียนับหลายร้อยล้านคนเข้ารุกทางการเมืองต่ออังกฤษด้วยการเรียกร้องเอกราชอินเดียจากอังกฤษด้วยการปฏิบัติสัตยาเคราะห์คือ ปฏิบัติอหิงสาธรรมเยี่ยงนักบวชหรือนักบุญที่รุกทางการเมืองในฐานะนักการเมืองกู้ชาติ ดังคำกล่าวของมหาตมะ คานธีว่า “ I am a politician, trying to be a saint.” แปลความว่า “ ข้าพเจ้าเป็นนักการเมืองที่พยายามจะเป็นนักปฏิบัติธรรม (นักบุญ นักบวช)” 
 
            มหาตมะ คานธี เป็นผู้นำแสดงคุณธรรมของพระพุทธศาสนาให้ประจักษ์แก่ชาวโลก โดยเฉพาะเรื่อง “อหิงสา” ความเมตตา ซื่อสัตย์และตบะความอดทนอย่างเด่นชัด เพราะศาสนาพราหมณ์เริ่มประสมกลมกลืนกับพระพุทธศาสนาเกิดเป็นฮินดูในอินเดียประมาณ พ.ศ. 1001-พ.ศ.1500 
           ดร.อัมเบดการ์ (Dr.Ambedkar) เป็นตัวอย่างของผู้นำชาวจัณฑาล (Untouchable) ในอินเดียที่ได้สถาปนาการนำทางการเมืองอย่างทรงพลังที่สุด ได้ต่อสู้กับการกดขี่ทางสังคมที่ร้ายแรงที่สุดคือ “ระบบวรรณะ” ของลัทธิฮินดูอันเป็นการต่อสู้ระดับความเห็น (ทิฎฐิ)  คือ ต่อสู้กับมิจฉาทิฎฐิระบบวรรณะของลัทธิฮินดู และเปลี่ยนมาเป็นสัมมาทิฎฐิคือพุทธศาสนาตามแบบอย่างพระพุทธเจ้าอันเป็นการเปลี่ยนมาเป็นสัมมาทิฎฐิในพุทธศาสนาตามแบบอย่างพระพุทธเจ้า อันเป็นการเปลี่ยนศาสนาจากฮินดูสู่พุทธ  นำคนจัณฑาลนับร้อยล้านคนปลดปล่อยสู่อิสรภาพ เสมอภาค ภราดรภาพ ดังเช่นคำกล่าวของ ดร.อัมเบดการ์ ว่า “สาระสำคัญของพระพุทธศาสนานั้นตั้งอยู่บนฐานปฏิบัติการเพื่อเสรีภาพของบุคคลคือ เสรีภาพทางเศรษฐกิจ เสรีภาพทางสังคมและเสรีภาพทางการเมือง พระพุทธเจ้าคือบุคคลผู้ชูประทีปแห่งประชาธิปไตยและเป็นผู้สนับสนุนจริงจังต่ออิสรภาพ เสมอภาค และภราดรภาพ เป็นอันว่าพระพุทธศาสนาเท่านั้นที่มนุษย์จะมีเสรีภาพที่แท้จริงได้”  และนำคนจัณฑาลกู้ชาติจากอังกฤษอันเป็นการปฏิวัติประชาชาติ และปฏิวัติประชาธิปไตยที่ยิ่งใหญ่ในประวัติแห่งมวลมนุษยชาติโดยอหิงสาของพระพุทธศาสนา ดร.อัมเบดการ์ กล่าวว่า “ข้าพเจ้าเกิดมาเป็นฮินดู เพราะข้าพเจ้าควบคุมไม่ได้ แต่จะไม่ยอมตายในฐานะเป็นฮินดู แต่ขอตายในฐานะชาวพุทธ” 
  
          แม้แต่มหาตมะคานธี ยังถูก ดร.อัมเบดการ์ รุกทางการเมืองอย่างรุนแรง “ครั้งหนึ่งข้าพเจ้าได้พบกับมหาตมะคานธี ท่านได้บอกข้าพเจ้าว่า “ท่านเชื่อในระบบวรรณะ (วรรณะ4) จตุวรรณะชนิดไหนกัน?” ข้าพเจ้าถามพร้อมกับชี้ไปที่มือของข้าพเจ้า ซึ่งนิ้วก้อยถูกทับอยู่ข้างล่าง นิ้วหัวแม่มืออยู่บนสุดหรือแบบนี้  พร้อมวางฝ่ามือราบอยู่บนโต๊ะ นิ้วมือวางเรียงกันไป คำว่า “จตุวรรณะหมายถึงอะไร ? มันเริ่มขึ้นเมื่อไร ? และจะสิ้นสุดเมื่อไร? ข้าพเจ้าถามท่านคานธี ท่านไม่อาจตอบปัญหานี้อย่างน่าพอใจได้” และด้วยการรุกทางการเมืองอย่างทรงพลังต่อเนื่องรัฐบาลของพรรคคองเกรสอินเดียก็ออกกฎหมายยกเลิกระบบจัณฑาล ดร.อัมเบดการ์ จึงเป็นรัฐบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ที่ทำให้อินเดียมีประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ และทำให้อินเดียมีพระพุทธศาสนาฟื้นฟูกลับมาได้อีกครั้งหนึ่ง ด้วยการต่อสู้ที่เด็ดเดี่ยวจึงได้รับเลือกเป็นประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญอินเดีย ทำให้รัฐธรรมนูญอินเดียสะท้อนภาพความเป็นเอกราชและประชาธิปไตยที่สมบูรณ์  และบรรจุพระพุทธสาสนาไว้ในรัฐธรรมนูญอินเดียอย่างมากมาย เช่น กำหนดให้ตราธรรมจักรเป็นตราธงชาติ และหัวสิงห์ของพระเจ้าอโศก มหาราชเป็นตราของรัฐบาลอินเดีย เป็นต้น กล่าวได้ว่า ดร.อัมเบดการ์มีลักษณะปฏิวัติมากกว่ามหาตมะคานธี จนสรุปว่า ดร.อัมเบดการ์ เป็นผู้นำปฏิวัติมหาตมะคานธี เป็นผู้นำนักปฏิรูป 

             การนำทางการเมืองที่เกิดจากการรุกทางการเมืองที่แหลมคมต่อลัทธิคอมมิวนิสต์ว่า...  
   
           “ถึงแม้พระพุทธเจ้าและคาร์ลมาร์กซ์จะมีจุดประสงค์เหมือนกัน คือกำจัดความอยุติธรรมของสังคมก็ตาม แต่พระพุทธเจ้าและคาร์ลมาร์กซ์มีวิธีการแตกต่างกันอย่างชนิดขาวกับดำทีเดียว  เพราะพระพุทธเจ้าดำเนินโดยสันติวิธีเช่น ให้พระภิกษุได้อดิเรกลาภมาต้องเอาไปเข้ากองกลาง พระองค์ก็ไม่บังคับ คือให้ทำด้วยความสมัครใจ พระพุทธเจ้าคำนึงถึงจิตใจของบุคคลเป็นสำคัญ ส่วนคาร์ลมาร์กซ์นิยมใช้วิธีรุนแรง (Violence) การจะกำจัดสมบัติส่วนตัวก็ใช้วิธีบังคับ  พระพุทธเจ้าใช้สันติวิธีและแน่นอน ส่วนคาร์ลมาร์กซ์ใช้การรุนแรงซึ่งเป็นการกระทำที่ไม่แน่นอน คนมีทรัพย์อาจจะยอมเมื่อถูกบังคับด้วยกำลัง  แต่ถ้าเมื่อใดกำลังที่ใช้บังคับนั้นอ่อนลง ผู้ถูกบังคับก็จะลุกขึ้นต่อสู้แก้แค้นอีก การต่อสู้กันก็จะหาที่สิ้นสุดมิได้  ความหวังที่คาร์ลมาร์กซ์จะกำจัดสงครามชนชั้นก็จะไม่มีวันบรรลุถึงเป้าหมายได้...เราได้เตือนเยาวชนเอเชียทั้งหลายว่า อย่าได้คิดว่าคาร์ลมาร์กซ์เป็นศาสดา (Prophet) ที่เลอเลิศเลย บรมครูชาวเอเชียของเราคือพระพุทธเจ้า ได้วางหลักเพื่อสร้างสันติสุขไว้ให้เราเมื่อ 2,000 กว่าปีมาแล้ว  ซึ่งเราสามารถได้รับสันติสุขจริงๆถ้าเราปฏิบัติตาม” 

             อหิงสา คือ การต่อสู้อย่างไม่รุนแรงไม่เบียดเบียน เพื่อเอกราช เพื่อประชาธิปไตยอันเป็นการเมือง จึงทำให้เกิดการนำทางการเมืองต่อประชาชน เช่น มหาตมะ คานธี และดร.อัมเบดการ์ได้ทำให้เกิดขึ้นจนสามารถกู้เอกราชจากอังกฤษได้สำเร็จและสร้างประชาธิปไตยสำเร็จไปพร้อมๆกัน สำหรับประเทศไทยแล้วจะต้องสร้างการนำทางการเมืองหรือการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยตาม “แนวทางการต่อสู้อย่างสันติตามหลักพุทธอหิงสาธรรม” จึงจะแก้ปัญหาประเทศไทยได้สำเร็จเพราะประเทศไทยมีชาวพุทธถึง 94% ของพลเมืองทั้งหมด และมีปัญหาความเห็นที่ยากแก่การแก้ไขในระดับทั่ว ๆ ไปได้
   
         “เผด็จการย่อมโง่เสมอ” เป็นอมตะวาจาทางการเมืองของโจวเอินไหล นายกฯตลอดกาลของจีน สะท้อนให้เห็นว่าการนำทางการเมืองของฝ่ายปฏิวัติเหนือกว่าการนำทางการเมืองของฝ่ายเผด็จการเจียงไคเช็คอย่างสิ้นเชิง ซึ่งเป็นไปตามการเมืองที่ว่า “เผด็จการแพ้คอมมิวนิสต์” แต่ประเทศไทยโดยนโยบาย66/23 คือ “คอมมิวนิสต์แพ้ประชาธิปไตย” สะท้อนว่านโยบาย66/23 มีการนำทางการเมืองที่เหนือกว่าคอมมิวนิสต์
 
             “การเมืองอ่อน การจัดตั้งก็เอนอียง” ฉะนั้นการจัดตั้งขึ้นต่อการเมือง การรุกทางการเมืองจะทำให้การเมืองแข็ง การเมืองแข็งเกิดจากความคิดที่แหลมคม จิตวิญญาณที่ไม่กลัวทำให้มีความคิดที่แหลมคมมีปัญญา จิตวิญญาณที่ไม่กลัวไม่หวั่นไหวเกิดจากการปฏิบัติโมกษธรรม

          การทำให้อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน เป็นการรุกทางการเมืองที่สำคัญที่สุดในสถานการณ์ปฏิวัติกระแสสูงปัจจุบันนี้  จะก่อเกิดการนำทางการเมืองระดับสูงอย่างเป็นรูปธรรมที่แจ่มชัดและแหลมคม  จะรุกทำลายเผด็จการทุกรูปแบบอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาดสิ้นเชิง โดยชี้ขาดที่มีรูปธรรมคือ...อำนาจอธิปไตยของปวงชนสำแดงออกเป็นรูปธรรม 2 ทางคือ ทางนโยบายของรัฐบาลและทางผู้แทนของรัฐสภา  กล่าวคือทำให้มีนโยบายของรัฐบาลที่สะท้อนผลประโยชน์ของปวงชนชาวไทยอย่างแท้จริงในสถานการณ์ปัจจุบันคือ นโยบายสร้างประชาธิปไตยอย่างถูกต้องพร้อมสมบูรณ์ตามลัทธิประชาธิปไตยด้านความคิดที่สะท้อนภาพเป็นจินตภาพรูปธรรมของประชาธิปไตย 8 ประการทั้งด้านการเมือง ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคมวัฒนธรรม การป้องกันประเทศ การต่างประเทศ เป็นต้น โดยต้องยุติความผิดพลาดที่ใช้รัฐธรรมนูญมาเป็นเครื่องมือสร้างประชาธิปไตยตั้งแต่พ.ศ. 2475 จนถึงปัจจุบัน  หันไปใช้นโยบายเป็นเครื่องมือสร้างประชาธิปไตยตามแบบอย่างที่ถูกต้องของพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 5 รัชกาลที่ 6 และรัชกาลที่ 7 แล้วจึงใช้รัฐธรรมนูญมาทำหน้าที่รักษาประชาธิปไตยที่สร้างด้วยนโยบายเสร็จแล้วไว้ต่อไป

              ทำให้มีตัวแทนในรัฐสภาเป็นผู้แทนของปวงชนชาวไทยอย่างแท้จริง มิใช่เป็นผู้แทนของคนส่วนน้อย ซึ่งมีผู้แทน 2 ประเภทที่จะสะท้อนภาพว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน คือผู้แทนเขตพื้นที่ทั่วทั้งประเทศ เช่น ส.ส.และผู้แทนอาชีพทุกอาชีพทั่วทั้งประเทศ เช่น ส.ว. หรือ ส.ช. (ผู้แทนสาขาอาชีพ) โดยเน้นให้ได้มาซึ่งผู้แทนที่มีลักษณะเป็นผู้แทนของปวงชนชาวไทยที่แท้จริงด้วยวิธีเลือกตั้งแบบประชาธิปไตยและ/หรือแต่งตั้งแบบประชาธิปไตย ไม่ใช้การเลือกตั้งและแต่งตั้งแบบเผด็จการที่ทำให้ผูกขาดได้แต่ผู้แทนของคนส่วนน้อย ขัดขวางปิดทางการได้มาซึ่งผู้แทนของปวงชนชาวไทยที่แท้จริง  โดยผู้แทนเหล่านี้จะต้องเป็นประชาธิปไตยคือ ยึดถือสนับสนุนนโยบายสร้างประชาธิปไตย ถ้าไม่ยึดถือสนับสนุนนโยบายสร้างประชาธิปไตยก็ไม่ใช่ผู้แทนประชาธิปไตยของปวงชนชาวไทยคือ ไม่ใช่ภาพสะท้อนของอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทยนั่นเอง
 
             ประชาธิปไตยคือ การปกครองโดยประชาชน มีรูปธรรมอยู่ที่มีผู้แทนของปวงชนที่แท้จริงขึ้นไปใช้อำนาจเอง การปกครองเพื่อประชาชนมีรูปธรรมอยู่ที่มีนโยบายที่สะท้อนผลประโยชน์ของปวงชนชาวไทย  จึงเป็นการปกครองของปวงชนที่มีรูปธรรมอยู่ที่อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน  กล่าวคือ การปกครองโดยผู้แทนของประชาชน การปกครองที่มีนโยบายสะท้อนประโยชน์เพื่อประชาชน จึงเป็นการปกครองของประชาชนหรืออำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนที่มีรูปธรรมที่สุดอยู่ที่อำนาจและผลประโยชน์เป็นของประชาชนนั่นเอง นั่นคือใครใช้อำนาจคนนั้นก็เป็นเจ้าของอำนาจ ใครได้ประโยชน์ อำนาจก็เป็นของคนนั้น
            รัฐบาลแห่งชาติและการปกครองเฉพาะกาลคือรูปธรรมของการทำให้อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน  เมื่อทำให้อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนแล้ว จึงนำอำนาจหรือระบอบนี้ไปปฏิบัตินโยบายสร้างประชาธิปไตยทั้งหมดให้สำเร็จต่อไป  แต่ถ้าอำนาจอธิปไตยเป็นของคนส่วนน้อยหรือระบอบเผด็จการรัฐสภาคือ ไม่ว่ารัฐบาลหรือสภาของอำนาจนี้ หรือระบอบนี้จะพยายามปฏิบัตินโยบายก็จะไม่สำเร็จเพราะเป็นระบอบหรืออำนาจ(รัฐบาล รัฐสภา) ที่อ่อนแอเกินไป จะต้องเป็นอำนาจใหม่ ระบอบใหม่ นั่นคือ รัฐบาลชนิดใหม่ และรัฐสภาชนิดใหม่ คือ รัฐบาลแห่งชาติ และการปกครองเฉพาะกาลเท่านั้นจึงจะแข็งแรงพอที่จะปฏิบัตินโยบายสร้างประชาธิปไตยได้ เพราะอำนาจประชาชนเป็นอำนาจที่เข้มแข็ง อำนาจของคนส่วนน้อยเป็นอำนาจที่อ่อนแอ นี่คือกฎเกณฑ์แห่งยุคสมัย  นี่คือหัวใจของนโยบายที่เป็นการนำทางการเมืองสูงสุด !
 
 
การนำทางการจัดตั้ง การนำใหม่โดยพรรคความหวังใหม่
 
 
                การจัดตั้งองค์การ (Organization) คือรูปธรรมทางกายภาพของอุดมการณ์และอุดมคติ ถ้าปราศจากการจัดตั้งก็จะไม่มีวันที่จะบรรลุความสำเร็จในการสร้างสังคมอุดมคติ (Ideal) โดยวิธีคิดของลัทธิ (Ideology)ใดๆทั้งสิ้น  ในทางการเมืองมีการจัดตั้งอยู่ 2 ชนิด คือ การจัดตั้งทางความคิดและการจัดตั้งองค์การ ดังนั้นจะต้องมีการจัดตั้งทางความคิดก่อนอื่นทั้งสิ้น แล้วจึงไปสู่การจัดตั้งองค์การในท้ายที่สุดต่อไปให้แล้วเสร็จ การจัดตั้งทางความคิดก็จะบังเกิดการนำทางความคิดและการจัดตั้งองค์การก็จะเกิดการนำทางการจัดตั้งตามกฎเกณฑ์เสมอไป 
 
               ภารกิจทางประวัติศาสตร์ที่เป็นภารกิจเปลี่ยนยุคเปลี่ยนสมัย คือ การสร้างประชาธิปไตยนั้นจะกระทำสำเร็จได้มีทางเดียวเท่านั้นคือต้องมี “ระบบพรรคการเมืองที่เข้มแข็ง” การสร้างระบบพรรคการเมืองที่เข้มแข็ง มี 2 มาตรการคือ 
 
              1. มีนโยบายที่สะท้อนผลประโยชน์และความต้องการของประชาชนทั้งชาติ
              2. มีวิธีจัดตั้งองค์การที่สามารถทำให้นโยบายดังกล่าวบังเกิดผลทางปฏิบัติ 
             การนำทางการจัดตั้งแบบประชาธิปไตยที่ทรงพลังที่จะนำพาหมู่มวลสมาชิกมวลชนประชาธิปไตยอันกว้างใหญ่ไพศาลไปต่อสู้ปฏิบัติภารกิจอันยิ่งใหญ่ให้บรรลุความสำเร็จเสร็จสิ้นสมบูรณ์นั้นจะต้องมีการจัดตั้งตามหลักประชาธิปไตย  คือมีความเป็นพรรคมวลชน (Mass Party) มีความเป็นพรรคที่มีการจัดตั้ง(Organized Party) มีความสุขุมคัมภีรภาพ (Resourcefulness) มีเอกภาพ (Unity) มีดุลยภาพ (Equilibrium)  

              รูปธรรมของการจัดตั้งตามหลักประชาธิปไตยดังกล่าวนี้ จะต้องดำเนินการดังต่อไปนี้ คือ ต้องมีสถาบันหลักของพรรคเป็นผู้ถือดุล ต้องใช้ระบบผู้ปฏิบัติงานพรรค (Party’s Worker) ทั้งประเภทอาชีพและสมัครเล่น ไม่ใช้ระบบหัวคะแนนเผด็จการ (Canvassor) ต้องใช้ระบบรายงานการประชุมเป็นเอกภาพกับประชาพิจารณ์ (Public Opinion) หรือระดมความคิดเห็น (Brain Storming) โดยถือหลักธรรมาธิปไตย ต้องมีการอภิปรายโดยเสรีก่อนและลงมติปัญหาใด ๆ และเมื่อพรรคลงมติแล้ว สมาชิกจะต้องปฏิบัติ  ต้องมีการรวมศูนย์แบบประชาธิปไตยคือสมาชิกพรรคแต่ละคนขึ้นต่อองค์การพรรค  องค์การพรรคชั้นล่างขึ้นต่อองค์การพรรคชั้นบน  ต้องดำเนินการนำทางการเมืองด้วยนโยบายที่ถูกต้อง และทำให้เกิดความเชื่อถือศรัทธาด้วยการกระทำ  ต้องคัดเลือกบุคคลให้เหมาะสมกับนโยบาย (Put the Right Man in the Right Policy) ต้องสร้างพรรคตามปรัชญาความจริงแท้หรือสภาวะธรรมชาติ(Reality) จากไม่มีมาสู่มี จากเล็กมาสู่ใหญ่ จากอ่อนแอมาสู่เข้มแข็ง 
 
              การจัดตั้งที่ดีที่สุดคือการไม่จัดตั้ง เรียกว่า “จัดตั้งแบบไม่จัดตั้ง” คือ “การจัดตั้งแบบอนัตตา” ไม่ใช่การจัดตั้งแบบคอมมิวนิสต์ที่รวมศูนย์เป็นอัตตา การจัดตั้งแบบไม่จัดตั้งก็จะได้การจัดตั้งที่มั่นคงเข้มแข็งถาวรยั่งยืน ยาวนานที่สุด เช่น การจัดตั้งของศาสนาต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือศาสนาพุทธที่มีอายุยืนยาวกว่า 2,500 ปี โดยประยุกต์จากการจัดตั้งของศาสนามาสู่การจัดตั้งทางการเมือง คือการเริ่มจากการนำทางจิตวิญญาณ สู่การนำทางความคิด สู่การนำทางการเมือง สู่การนำทางการจัดตั้ง ซึ่งเป็นการนำใหม่ที่สุดของโลกที่มีครบถ้วนสมบูรณ์ทั้ง 4 ระดับ ในยุคประวัติศาสตร์สมัยใหม่ ซึ่งกำลังจะเปลี่ยนผ่านขึ้นสู่ยุคหลังสมัยใหม่ต่อไป  การนำที่ไม่ถูกต้องสมบูรณ์ครบถ้วนจะไม่สามารถนำพามวลมนุษยชาติเปลี่ยนผ่านไปได้ 
 
             นักจัดตั้ง (Organizer) มีบทบาทสำคัญยิ่งที่จะสามารถสร้างการจัดตั้งองค์การเพื่อเหนี่ยวนำมวลมหาประชาชนไปปฏิบัติภารกิจอันยิ่งใหญ่ได้สำเร็จ  นักจัดตั้งจะมีคุณสมบัติสำคัญ 3 ประการคือ 
 
             1. มีความน่าเชื่อถือน่าศรัทธา
             2. มีความทุ่มเทเสียสละ
             3. มีลักษณะอนัตตาหรือผู้ถือดุลแห่งสุญญตา 

             การจัดตั้งที่จะบังเกิดการนำทางการจัดตั้งที่ทรงพลังสูงสุดนั้น คือ การจัดตั้งที่สะท้อนภาพการจัดตั้งตามธรรมชาติของมนุษย์และจักรวาล อันเป็นสัมพันธภาพระหว่างจิตกับวัตถุนั่นเอง นั่นคือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา หรือ สังขตธรรมและอสังขตธรรม หรือรูป จิต เจตสิก นิพพาน 
 
            การนำทางการจัดตั้งแม้จะมีพลังการนำที่อ่อนที่สุดในบรรดาการนำอื่นๆก็ตาม แต่ก็เป็นการนำที่เป็นรูปธรรมที่สุด ที่เป็นรากฐานรองรับการนำอื่นๆ ทั้งสิ้นไว้  ดังเช่นความสัมพันธ์ระหว่างจิตกับกาย  แน่นอนจิตเป็นใหญ่ จิตเป็นประธาน จิตทำให้สำเร็จ  แต่จิตก็ต้องมีร่างกายเป็นสังขารรองรับ  จิตกับกาย การเมืองกับการจัดตั้งจึงแยกกันไม่ได้โดยเด็ดขาด และจะต้องเป็นเอกภาพกัน ขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้หรืออย่างใดอย่างหนึ่งบกพร่องไม่ได้ “จิตวิญญาณ ความคิด รวมศูนย์ที่การเมืองโดยมีการจัดตั้งเป็นรูปธรรมรองรับ” 

             กล่าวโดยสรุปคือ “ จิตวิญญาณต้องนำโดยโมกษธรรม ความคิดต้องนำโดยลัทธิประชาธิปไตย การเมืองต้องนำโดยการรุกต่อสู้เอาชนะ  การจัดตั้งต้องนำโดยความเป็นเอกภาพ” 
 
             นี่คือ การนำใหม่โดยพรรคความหวังใหม่ นำไทยขึ้นสู่สากล และนำมนุษยชนขึ้นสู่โลกยุคหน้าที่ท้าทาย  ยังไม่มีใครก้าวไปถึง  อันเป็นภารกิจเปลี่ยนผ่าน 3 ยุคแห่งประวัติศาสตร์ของมวลมนุษยชาตินำโดยคนไทยทุกคนนั่นเอง
             สวัสดี...
 
 
 
(นายชิงชัย  มงคลธรรม)
หัวหน้าพรรคความหวังใหม่ภายใต้การนำใหม่
รักษาการประธานกรรมการบริหารขบวนการประชาธิปไตยแห่งชาติ
24 มิถุนายน 2552
  
     
 
 

ปฏิวัติสันติ

 
สมัคร ยกเลิก
 
 
Revolutionary Press Agency
Online Journal and News Agency for Peace  :  วารสารและข่าวออนไลน์เพื่อสันติภาพ
Copyright © 2024 www.rpathailand.com All Rights Reserved.
ทำเว็บ  ออกแบบเว็บ  Web Design  เว็บสำเร็จรูป  เว็บไซต์สำเร็จรูป