พระพุทธรูปในสมัยนี้ ส่วนใหญ่ยังได้รับอิทธิพลมาจากสมัยสุโขทัย แต่มีการนำเอาศิลปะดังกล่าวมาประยุกต์ให้เหมาะสมกับท้องถิ่น ของอยุธยา สันนิษฐานกันว่าในสมัยอยุธยาบ้านเมืองอยู่ในภาวะศึกสงครามรบราฆ่าฟันกันอยู่บ่อยครั้ง ทำให้สกุลช่างสมัยอยุธยาไม่มีโอกาสที่จะได้สร้างสรรค์ผลงานได้อย่างเต็มที่ จึงทำให้พระพุทธรูปแข็งกระด้างไม่อ่อนช้อยเหมือนสมัยสุโขทัย และในสมัยนี้ยังพบพระพุทธรูปทรงเครื่องอีกด้วย การสร้างพระพุทธรูปในสมัยอยุธยา สามารถแบ่งออกเป็น ๒ ช่วง คือ พระพุทธรูปศิลปะแบบอู่ทอง (พุทธศตวรรษที่ ๑๘ -๒๐) แบ่งเป็น ๓ รุ่น
 
พระพุทธรูปศิลปะแบบอู่ทอง รุ่นที่ ๑ 
พระพักตร์เหลี่ยม มีไรพระศก เป็นกรอบรอบวงพระพักตร์ แบ่งส่วนพระเกศากับพระนลาฏ เส้นพระเกศาละเอียด พระหนุค่อนข้างแหลม พระนาสิกค่อนข้างแบน พระโอษฐ์แบะ ชายสังฆาฏิยาว ชายขอบ อันตรวาสก(สบง) ด้านบนเป็นสัน ขัดสมาธิราบ พระหัตถ์แสดงปางมารวิชัย 
 
พระพุทธรูปศิลปะแบบอู่ทอง รุ่นที่ ๒
ลักษณะส่วนใหญ่เหมือนรุ่นแรก ที่ต่างกันคือ มีรัศมีเป็นเปลว พระพักตร์เป็นรูปสี่เหลี่ยมมากขึ้น พระนาสิกโค้งมากขึ้น พระหนุสี่เหลี่ยม 
 
พระพุทธรูปศิลปะแบบอู่ทอง รุ่นที่ ๓
ได้อิทธิพลจากศิลปะสุโขทัยเป็นส่วนใหญ่ พระพักตร์รูปไข่ เกิดจากพระนลาฏแคบ มีไรพระศกกับพระรัศมีมีแถบกั้นระหว่างพระนลาฏกับพระสก มีรัศมีเป็นเปลว พระวรกายเพรียวบางแบบศิลปะสมัยสุโขทัยพระพุทธรูปสมัยอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ ๒๐-๒๓) พระพุทธรูปในสมัยนี้ ส่วนใหญ่มีพระพักตร์เป็นรูปสี่เหลี่ยม แบบอู่ทอง บางองค์พระพักตร์เป็นรูปไข่ตามแบบสุโขทัย มีเกตุมาลาเป็นรัศมีเปลว ชายจีวรใหญ่ และยาวถึงพระนาภี ปลายตัดเส้นตรง ส่วนมากมีพระศก มีการพบพระพุทธรูปทรงเครื่องในสมัยนี้อีกด้วย 
พระพุทธรูปสมัยอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ ๒๐-๒๓) พระพุทธรูปในสมัยนี้ ส่วนใหญ่มีพระพักตร์เป็นรูปสี่เหลี่ยมแบบอู่ทอง บางองค์พระพักตร์เป็นรูปไข่ตามแบบสุโขทัย มีเกตุมาลาเป็นรัศมีเปลว ชายจีวรใหญ่ และยาวถึงพระนาภี ปลายตัดเส้นตรง ส่วนมากมีพระศกมีการพบพระพุทธรูปทรงเครื่องในสมัยนี้อีกด้วย
 
 
สมัยสุโขทัย
 
อยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๙-๒๐ นับตั้งแต่พ่อขุนบางกลางหาว ได้รับสถาปนาเป็นเจ้าเมืองสุโขทัยและประกาศอิสรภาพ ไม่ขึ้นกับขอมมีกษัตริย์ปกครองกรุงสุโขทัย ต่อเรื่อยมาอีกหลายพระองค์ จนอาณาจักรสุโขทัยเป็นปึกแผ่น
 
ในช่วงเวลานี้พระมหากษัตริย์ทรงทำการทำนุบำรุง พระพุทธศาสนาเป็นอย่างดี พุทธศาสนาในยุคสมัยนี้จึงเจริญรุ่งเรือง บรรดาพระสงฆ์พากันไปศึกษาพุทธศาสนาในลังกาเป็นอันมาก พระพุทธรูป ในยุคนี้ได้รับแบบอย่างมาจากลังกา อีกทั้งบ้านเมืองในสมัยสุโขทัยไม่ค่อยมีศึกสงคราม ทำให้สกุลช่างสุโขทัยสามารถสร้างสรรค์งานได้อย่างเต็มที่ พระพุทธรูปสมัยนี้ได้รับการยกย่องทั่วไปว่าเป็นยุคที่มีการสร้างพระพุทธรูปได้สวยงามมากที่สุด มีลักษณะคือ รัศมียาว เส้นพระศก(ผม)ขมวดก้นหอย พระขนง(คิ้ว)โก่ง พระนาสิก(จมูก)งุ้ม พระหนุ(คาง)เสี้ยมชายสังฆาฏิยาวปลายมี ๒ แฉก และย่น เป็นเขี้ยวตะขาบ ฐานส่วนใหญ่ เป็นแบบฐานเอียง กลางโค้งเข้า ด้านใน ตรงข้ามกับสมัยเชียงแสน พระพุทธรูป ในสมัยนี้ถือได้ว่าแบ่งออกเป็น ๓ รุ่น ด้วยกัน
 
พระพุทธรูปสมัยสุโขทัย รุ่นที่ ๑
มีวงพระพักตร์กลมแบบลังกา
 
พระพุทธรูปสมัยสุโขทัย รุ่นที่ ๒
มีวงพระพักตร์ยาวและ พระหนุเสี้ยม
 
พระพุทธรูปสมัยสุโขทัย รุ่นที่ ๓
น่าจะเริ่มสร้างในรัชสมัยพระมหาธรรมราขาหรือพระเจ้าลิไท เกิดพระพุทธรูปแบบสุโขทัยขึ้นแบบหนึ่ง ได้แก่ พระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ วงพระพักตร์รูปไข่คล้าย แบบอินเดีย ปลายนิ้ว พระหัตถ์ เสมอกันทั้ง ๔

 

 
 
สมัยเชียงแสน (สมัยล้านนา)

 
อยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๖-๒๒ อยู่ทางตอนเหนือของประเทศไทย หรือจังหวัดเชียงรายในปัจจุบัน ชาวไทยได้เข้ามาตั้งรกรากอยู่ในพื้นที่บริเวณนี้มาแต่โบราณ ดังนั้นพระพุทธรูปในพื้นที่นี้จึงได้ชื่อว่า “สมัยเชียงแสน” ซึ่งเป็นฝีมือช่างไทยแรกเริ่มพระพุทธรูป ในสมัยนี้จึงถือว่าเป็นการเริ่มต้นของศิลปะไทยอย่างแท้จริง และมีอิทธิพลมาถึงศิลปะในสมัยสุโขทัย อยุธยา และรัตนโกสินทร์อีกด้วย พระพุทธรูป แบบเชียงแสน  แบ่งได้ เป็น ๓ กลุ่ม ได้แก่
 
พระพุทธรูปรุ่นสิงห์ ๑
สันนิษฐานกันว่าน่าจะได้รับอิทธิพลจากศิลปะแบบปาละของอินเดีย องค์พระอวบ พระพักตร์สั้น พระขนงโก่ง พระโอษฐ์เล็ก พระหนุป้าน ชายสังฆาฏิสั้นอยู่เหนือพระอุระด้านซ้าย ตรงชายทำเป็นแฉกหรือแบบเขี้ยว ตะขาบ ส่วนมากเป็นพุทธรูปปางมารวิชัย นั่งขัดสมาธิเพชร
 
พระพุทธรูปรุ่นสิงห์ ๒
ส่วนใหญ่เหมือนรุ่นแรก แต่องค์พระจะอวบน้อยกว่าและชายสังฆาฏิจะยาวลงมาอยู่เหนือพระนาภี
 
พระพุทธรูปรุ่นสิงห์ ๓
เปลี่ยนแปลงไปจากรุ่นแรกค่อนข้างมาก เพราะทำตามแบบสุโขทัยเป็นส่วนใหญ่ คือ พระรัศมีเป็นเปลว เส้นพระศกละเอียด มีไรพระศกระหว่างเส้นพระเกศากับพระนลาฏ ชายสังฆาฏิยาว ถึงพระนาภี ฐานแบบเอียงโค้งออก ส่วนมากเป็นปางมารวิชัยนั่งขัดสมาธิ
 
 
 
 
บริษัท อุทยานหุ่นขี้ผึ้งสยาม จำกัด
41/1 หมู่ 3 ถ.เพชรเกษม-ดำเนินสะดวก
ต.วังเย็น อ.บางแพ จ.ราชบุรี 70160
ช่องทางติดต่อเรา
โทรศัพท์ : 032381401 , 032381404  โทรสาร : 032381403
เว็บไซต์  : www.scppark.com  อีเมล์ : scp_2549@hotmail.com