พระผู้เป็นอริยสงฆ์

 
พระผู้เป็นอริยสงฆ์ หมายถึงพระสงฆ์ผู้บรรลุธรรม สามารถลดละกิเลสในจิตใจ แบ่งตามลำดับได้ ๔ ขั้น เรียงจากขั้นต่ำขึ้นไปคือ พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี พระอรหันต์ พระอริยสงฆ์ ๓ ขั้นแรก เป็นผู้บรรลุธรรมขั้นสูง ที่เรียกว่าโลกุตรธรรม อันหมายถึง ธรรมะที่พ้นวิสัยของโลกมากน้อยตามลำดับ แต่ยังละกิเลสไม่หมดสิ้น ส่วนพระอริยสงฆ์ ขั้นที่ ๔ คือพระอรหันต์ สามารถขจัดกิเลสได้หมดสิ้น ทั้งความโลภ ความโกรธ ความหลง ประเทศไทยนับถือพระพุทธศาสนา เป็นศาสนาประจำชาติ ผู้คนต่างยึดธรรมะและคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มาเป็นข้อปฏิบัติในการดำเนินชีวิตมากบ้างน้อยบ้างตามความเคร่งครัดของแต่ละบุคคล โดยมีพระสงฆ์ผู้เป็นสาวก รับฟังคำสอนของพระพุทธองค์ แล้วนำไปปฏิบัติจนได้ผลและนำหลักธรรมคำสอนนั้นไปเผยแผ่ให้ผู้อื่นทราบด้วย พระสงฆ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบตามแนวทางแห่งพระพุทธศาสนา ซึ่งถูกเรียกว่า “พระอริยสงฆ์” จึงมีอยู่มากมายและเป็นที่เคารพศรัทธาของผู้คนทั่วทุกแห่งหน พระอริยสงฆ์แต่ละท่านล้วนประกอบไปด้วยความเมตตากรุณาช่วยเหลือพุทธศาสนิกชนทุกหมู่เหล่าอบรมสั่งสอนให้ปฏิบัติในทางที่ถูกต้องตามหลักธรรมทางศาสนา และคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมมาพุทธเจ้าที่ชาวพุทธปฏิบัติสืบต่อกันมาถึงทุกวันนี้
 
 
กุฏิพระสงฆ์ภาคกลาง

 
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)
วัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพฯ
พุทธศาสนิกชนมักกล่าวถึงท่านในนาม “สมเด็จโต วัดระฆังโฆสิตาราม” ถือกำเนิดในวันพฤหัสบดี ขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือน ๕ ตรงกับวันที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ. ๒๓๑๙ ที่บ้านไก่จ้น (ท่าหลวง) อำเภอท่าเรือ จังหวัด พระนครศรีอยุธยา เมื่อท่านเป็นเด็กรูปร่างแบบบาง ผู้ใหญ่จึงตั้งชื่อให้ตรงกันข้ามว่า “โต” กล่าวกันว่า ขณะที่ท่านยังเป็นทารก มารดา พาท่านไปพักอยู่ที่ ตำบลไชโย จังหวัดอ่างทอง ต่อมาจึงได้ย้ายมาอยู่ ที่บ้านบางขุนพรหม จังหวัด พระนคร(ในภายหลัง ท่านได้สร้างพระพุทธรูปใหญ่ ไว้ ณ ตำบลทั้งสาม เพื่อเป็นอนุสรณ์)
 
กุฏิพระสงฆ์ภาคกลาง Monastis Cell in Central Region เป็นที่ประดิษฐานหุ่นขี้ผึ้ง สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) และ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อยู่ ญาโณทัย)เมื่อถึงวัยพอสมควรมารดาได้พามามอบตัวเป็นศิษย์ ท่านเจ้าคุณอรัญญิก เจ้าอาวาสวัด อินทรวิหาร ก่อนบรรพชาเป็นสามเณรใน พระพุทธศาสนาเมื่ออายุ ๑๒ ปี ได้ศึกษาเล่า เรียนอยู่ ณ วัดอินทรวิหาร จนหมดความรู้ของครูอาจารย์ แต่มีความประสงค์จะศึกษา ภาษาบาลีและพระปริยัติธรรมต่อ ท่านเจ้าคุณ อรัญญิก จึงได้นำไปฝากอยู่กับ สมเด็จพระพุทธ โฆษาจารย์ (นาค) วัดระฆังโฆสิตาราม ครั้นเมื่ออายุครบอุปสมบท พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ ๑ ได้โปรดเกล้าฯ ให้เป็นนาคหลวง อุปสมบท ณ วัดพระศรีรัตน ศาสดาราม โดยมีสมเด็จพระสังฆราช (สุก) วัดมหาธาตุ เป็นพระอุปัขฌาย์ ให้ฉายาว่า “พรหมรังสี”
 
 
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อยู่ ญาโณทัย)
วัดสระเกศ กรุงเทพฯ
พระนามเดิมว่า “อยู่” พระนามฉายาว่า “ญาโณทโย” ประสูติเมื่อวันจันทร์ที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๑๗ ใน รัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ที่เรือนแพหน้าวัดกัลยาณมิตร อำเภอ บางกอกใหญ่ จังหวัดธนบุรี ได้รับการศึกษาเบื้องต้น ที่สำนักของบิดา
 
ต่อมาได้ ย้ายมาอยู่ สำนักของพระ อาจารย์ช้าง วัดสระเกศ ได้ทรงเล่าเรียนสืบมาจนกระทั่งบรรพชาเป็นสามเณร ศึกษา ภาษาบาลี ที่วัดสระเกศ ได้เข้าแปลพระปริยัติธรรมในสนามหลวงจนได้เปรียญ ๔ ประโยค ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๓๗ ทรงได้รับอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ที่วัดสระเกศ โดยมีสมเด็จพระวันรัต (แดง) วัดสุทัศน์ เป็นพระอุปัชฌาย์ หลังจากนั้นได้ทรงเข้าแปลพระปริยัติธรรม จนได้เปรียญธรรม ๙ ประโยค ในปี พ.ศ.๒๔๔๕
 
มื่อพระชนมายุ ๒๘ พรรษา ซึ่งนับแต่ทรงเข้าแปลพระปริยัติธรรม มาตั้งแต่ประโยคต้นจนถึงประโยคสุดท้ายคือ ประโยค ๙ ไม่เคยแปลตกเลย และทรงเป็นเปรียญ ๙ ประโยคองค์แรก ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้รับ พระมหากรุณาธิคุณ ให้นำรถยนต์หลวงมาส่งถึงพระอารามเป็นพิเศษ และกลายเป็นธรรมเนียมปฏิบัติมาจนถึงปัจจุบัน ครั้นสมเด็จพระสังฆราช (ปลด กิตติโสภณมหาเถร) ทรงสิ้น พระชนม์ ในปี พ.ศ.๒๕๐๕ พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งผู้ปฏิบัติหน้าที่ สมเด็จพระสังฆราช และประธานกรรมการมหาเถรสมาคม จวบจนเมื่อวันที่ ๔พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๐๖ ได้ทรงพระกรุณาโปรดสถาปนาให้ทรงเป็นสมเด็จ พระสังฆราชองค์ที่ ๑๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ 
 
เนื่องในพระราชพิธีฉัตรมงคล เมื่อพระองค์ทรงได้รับการสถาปนาตำแหน่งแล้ว พระองค์ทรงบริหารการคณะสงฆ์ โดยมิทรงคำนึงถึง ความชราภาพ ทรงทำทุกอย่างเพื่อความสงบสุขของสังฆมณฑล ทรงอุปถัมภ์ส่งเสริมการศึกษา พระปริยัติธรรมทั้งแผนกบาลีและนักธรรม ตลอดจนทรงสนับสนุนพระภิกษุให้ออกไปทำการเผยแพร่ พระพุทธศาสนาทั้งในและนอกประเทศ ทรงบูรณะปฏิสังขรณ์ พระบรมบรรพตหรือ ภูเขาทอง วัดสระเกศ จนสำเร็จเรียบร้อย เป็นปูชนียสถานทางพระพุทธศาสนาที่เป็นศรีสง่าแก่คนไทยมาจวบถึงปัจจุบัน
 
 
กุฏิพระสงฆ์ภาคเหนือ

 
ครูบาศรีวิชัย สิริวิชโย
วัดบ้านปาง อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน
ครูบาศรีวิชัย ได้รับการยกย่องว่าเป็นนักบุญแห่งล้านนา ไทย เดิมชื่อเฟือน หรืออินท์เฟือน บ้างก็ว่าอ้ายฟ้าร้อง เนื่องจากในขณะที่ท่านถือกำเนิดเมื่อวันที่ ๑๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๒๑ ที่หมู่บ้านปาง ต.แม่ตื่น อ.ลี้ จ.ลำพูน นั้น ปรากฏว่าเกิด พายุฝนฟ้าคะนองอย่างหนัก ท่านบรรพชา เป็นสามเณรเมื่ออายุ ๑๘ ปี ที่วัดบ้านปาง ซึ่งเป็นพระ อารามเล็กๆ ประจำหมู่บ้าน และอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ที่วัดบ้านโฮ่งหลวง อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน
 
เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๒ มีพระครูสุมโณ เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่า “สิริวิชโยภิกขุ” มีนามบัญญัติว่า พระศรีวิชัย เมื่ออุปสมบท แล้วได้ศึกษากรรมฐานและวิชาอาคม กับ ครูบาอุปละ วัดดอยแค อ.แม่ทา จ.ลำพูน (ปัจจุบันอยู่ ใน ต.เหมืองจี้ อ.เมือง จ.ลำพูน) เป็นเวลา ๑ พรรษา ก่อนกลับไปจำพรรษาที่วัดบ้านปาง เมื่อได้รับการแต่งตั้ง เป็นเจ้าอาวาส ท่านจึงได้ย้ายวัดไปยังสถานที่ที่เห็นว่า เหมาะสม คือบริเวณเนินเขาด้านทิศใต้ซึ่งเป็นที่ตั้งของวัดในปัจจุบัน เพราะเป็นที่วิเวกสามารถปฏิบัติธรรมได้เป็นอย่างดี โดยได้ให้ชื่อใหม่ว่า วัดจอมศรีทรายมูลบุญ เรือง แต่ชาวบ้านทั่วไปยังนิยมเรียกวัดบ้านปางตามชื่อหมู่บ้าน
 
ท่านเป็นผู้มีอุปนิสัยสงบเสงี่ยม เจียมตัว พูดน้อย งดฉันเนื้อสัตว์ ตั้งแต่อายุ ๒๖ ปี และฉันเพียงมื้อเดียว ซึ่งมักเป็นผักต้มใส่เกลือกับพริกไทยเล็กน้อย บางทีก็ไม่ฉันข้าวเป็นเวลานาน คงฉันเฉพาะลูกไม้หัวมันเท่านั้น ขณะที่ท่านได้เดินทางธุดงค์ไปทั่วแผ่นดินล้านนา ได้พบเห็นโบราณสถานสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองหลายแห่ง เก่าแก่ทรุดโทรมเป็นอันมาก จึงได้เป็นผู้นำในการบูรณะ ปฏิสังขรณ์วัดวาอารามตลอดจนโบราณสถานทั่วแผ่นดิน ล้านนามากมาย อาทิ พระบรมธาตุวัดพระธาตุหริภุญชัย จ.ลำพูน พระธาตุช่อแฮ จ.แพร่ ฯ ลฯ รวมวัดต่างๆ ที่ท่านได้พลังศรัทธาจากเหล่าพุทธศาสนิกชนทั้งกำลังกาย และกำลังทรัพย์ บูรณะปฏิสังขรณ์ทั้งสิ้น ๑๐๘ วัด รวมถึงการสร้างทางเดินขึ้นดอยสุเทพ จ.เชียงใหม่ ได้เป็นผลสำเร็จ
 
โดยเริ่มสร้างเมื่อวันที่ ๙ พฤศจิกายน ๒๔๗๗ แล้วเสร็จเมื่อวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๔๗๘ โดยไม่ใช้งบ ประมาณ ของรัฐเลย งานชิ้นสุดท้ายของท่านคือ การ สร้างสะพานข้ามแม่น้ำปิง ระหว่างบ้านริมปิง จ.ลำพูน กับ อ.หางดง จ.เชียงใหม่ แต่มาแล้วเสร็จภายหลังจาก ท่านมรณภาพ
 
 
หลวงปู่แหวน สุจิณโณ
วัดดอยแม่ปั๋ง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ 
เป็นพระอริยสงฆ์รูปหนึ่ง ที่พุทธศาสนิกชนไทยให้ความเคารพ นับถือกันทั่วประเทศ ท่านเกิดในตระกูลช่างตีเหล็ก เมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๓๐ ที่บ้านนาโป่ง อำเภอเมือง จังหวัดเลย บิดามารดาได้ตั้งชื่อท่านว่า “ญาณ” ซึ่งแปลว่า ปรีชา หยั่งรู้หรือความสามารถหยั่งรู้เป็นพิเศษ เมื่ออายุ ๕ ปี มารดาป่วยหนัก ก่อนเสียชีวิตได้สั่งเสียไว้ว่า ขอให้บวชตลอดชีพ อย่าลาสิกขามา มีครอบครัว จนได้บรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุ ๙ ปี ที่วัดโพธิ์ชัย พร้อมทั้งเปลี่ยนชื่อเด็กชายญาณ เป็นสามเณรแหวนนับแต่นั้นมา 
 
ต่อมาได้ถูกนำไปฝากถวายเป็นลูกศิษย์ของท่านพระ อาจารย์สิงห์ ขนังตยาคโน วัดบ้านสร้างถ่อ จ.อุบลราชธานี กระทั่งอุปสมบทระหว่างศึกษาเล่าเรียนอยู่นั้น ครูอาจารย์หลายท่านได้ลาสิกขาออกไปมีครอบครัวกัน ท่านจึงเกิดความรู้สึกขึ้นมาว่า บรรดาครูอาจารย์เหล่านั้นล้วนออกไปเพราะ อำนาจของกามทั้งสิ้น จึงเกิดความคิดขึ้นมาว่าการออกปฏิบัติตามป่าเขา ไม่อาลัยอาวรณ์อยู่กับหมู่คณะ เป็นหนทางเดียวเท่านั้น ที่จะทำให้ครองสมณเพศได้ตลอดชีวิต
 
ท่านได้ตั้งสัจจาธิษฐานขออุทิศชีวิตพรหมจรรย์แด่ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ พร้อมออกธุดงค์แสวงหาสัจจธรรม ตามป่าเขาต่างๆหลายแห่ง เพื่อมุ่งหน้าไปกราบนมัสการพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ที่ อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี พระอาจารย์มั่น ได้กล่าวคำสอนแก่หลวงปู่ว่า “ต่อไปนี้ให้ภาวนา ความรู้ที่เรียนมาให้ เอาใส่ตู้ไว้ก่อน”เพียงคำพูดนี้เอง ทำให้ท่านเกิดความเลื่อมใสศรัทธา และถวายตัวเป็นลูกศิษย์ ในเวลาต่อมา
 
 
กุฏิพระสงฆ์ภาคอีสาน

 
พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
วัดป่าสุทธาวาส จังหวัดสกลนคร
กำเนิดในสกุล แก่นแก้ว เมื่อวันที่ ๒๐ มกราคม พ.ศ. ๒๔๑๓ ที่บ้านคำบง อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี เมื่อวัยเด็กเป็นผู้มีสติปัญญาดี ว่านอนสอนง่าย ได้เรียน อักขรสมัยในสำนักของอาคือ เรียนอักษรไทยน้อย อักษรไทย อักษรธรรมและอักษรขอม อ่าน เขียนได้อย่างรวดเร็ว เพราะมีความทรงจำและขยันหมั่นเพียรของการเล่าเรียนศึกษา ท่านบรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุได้ ๑๕ ปี ที่วัดบ้าน คำบง แต่เพียง ๒ ปี ท่านก็จำเป็นต้องลาสิกขาเพื่อไปช่วยการงานทางบ้าน แต่ยังคิดที่จะบวชอยู่เสมอ
 
พออายุได้ ๒๒ ปี ท่านจึงเข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุและได้เข้าฝึก ปฏิบัติธรรมในสำนักวิปัสสนา กับท่านพระอาจารย์เสาร์ กันตสีโล พระอาจารย์ ทางวิปัสสนากรรมฐานชื่อดังของ ภาคอีสาน และเข้ามาศึกษา สดับธรรมเทศนากับ ท่านเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปจารย์ (จันทร์ สิริจันโท) แล้วออกแสวงหาวิเวกในถิ่นต่างๆ ทั้งในเขตภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคอีสาน จนได้รับความรู้แจ่มแจ้งในพระธรรมวินัย สิ้นความสงสัย และได้นำมาสงเคราะห์ อบรมสั่งสอนสมถ วิปัสสนา แก่สหธรรมิกและอุบาสกอุบาสิกา มีผู้เลื่อมใส ในธรรมปฏิบัติตามถิ่นต่างๆ ที่พอใจปฏิบัติ ศิษยานุศิษย์ของท่านได้มีแพร่กระจาย ไปทั่วทุกภาคของประเทศมาก ขึ้นไปโดยลำดับ
 
ท่านถือธุดงควัตร ๔ ประการอย่างเคร่งครัด คือ
 
หนึ่ง... ถือนุ่งห่มผ้าบังสุกุล นับแต่วันอุปสมบทมาตราบจนกระทั่งถึงวัยชรา จึงได้ผ่อนให้คหบดี จีวรบ้าง เพื่ออนุเคราะห์แก่ผู้ศรัทธานำมาถวาย
สอง... เที่ยวบิณฑบาตมาฉันเป็นนิตย์แม้อาพาธ ในละแวกบ้าน ไม่ได้ก็บิณฑบาตในเขตวัด
สาม... ถือฉันในบาตรเป็นนิตย์
สี่... ฉันหนเดียวเป็นนิตย์ แม้ช่วงอาพาธหนักก็มิได้เลิกละ ส่วนธุดงควัตรข้ออื่นถือปฏิบัติเป็นครั้งคราว
 
หลวงปู่มั่นเป็นพระปฏิบัติที่มีชื่อเสียงและผู้คนศรัทธานับถือทั้งประเทศ มีศิษยานุศิษย์ที่เป็นพระเถระ ซึ่งเป็น ที่เคารพของผู้คนอาทิเช่น หลวงปู่ดุลย์ อตฺโล, หลวงปู่ แหวน สุจิณโณ,หลวงปู่ฝั้น อาจาโร เป็นต้น ธรรมโอวาท อันเป็นคติที่ท่านกล่าวอยู่บ่อยๆ ที่เป็นหลักวินิจฉัยความดี ที่ทำด้วยกาย วาจา ใจ แก่ศิษยานุศิษย์คือ ดีใดไม่มีโทษ ดีนั้นนับว่าเลิศ, ได้สมบัติทั้งปวง ไม่ประเสริฐเท่าได้ตน เพราะตัวตน เป็นที่เกิดแห่งสมบัติทั้งปวง ฯลฯ
 
 
หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ
วัดอรัญบรรพต อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย
นามเดิมว่า เหรียญ ใจขาน เกิดเมื่อวันที่ ๘ มกราคม พ.ศ.๒๔๕๕ ที่ ต.บ้านหม้อ อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย เมื่ออายุ ๒๐ ปี ก็มีความปรารถนาจะออกบวช โดย พิจารณาเห็นว่า ชีวิตนี้เกิดมาแล้ว ทำงานไม่รู้จักจบสิ้น ตายแล้วก็ไม่ได้อะไรติดตัวไปโลกนี้มีทั้งสุขและทุกข์ แต่ความสุขที่ว่านี้ เป็นความสุขชั่วคราว ที่ไม่ยั่งยืน มัน เป็นเพียงเหยื่อล่อ ให้คนเราติดอยู่ในทุกเท่านั้น คนเราเกิดแล้วก็ต้องตายด้วยกันทุกคน ร่างกายนี้เมื่อจิตละไปแล้ว ก็ต้องแตกสลายออกจากกัน ไม่มีอะไรเป็นชิ้น เป็นอันเลย เมื่อพิจารณาดังนี้แล้ว ท่านจึงไปบอกแก่ บิดามารดาเพื่อขอลาออกบวช
 
เมื่อได้รับอนุญาตแล้ว ท่านก็ได้บวช ในเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๔๗๕ ที่วัดบ้านหงษ์ทอง อ.ท่าบอ จ.หนองคาย โดยมีท่านพระครู วาปีดิฐวัตร เป็นพระอุปัชฌาย์ บวช แล้วจึงกลับมาอยู่วัดโพธิ์ชัย ที่บ้านเกิดพร้อมศึกษา ธรรมะปฏิบัติ ในขณะเดียวกัน ก็เผชิญกิเลสที่เข้ามา ดังเป็นบททดสอบจิตใจของท่าน จนคิดจะลาลิกขาอยู่หลายครั้งหลายหน แต่ท่านก็เอาชนะสิ่งเหล่านั้นมาได้ ท่านตั้งใจบำเพ็ญเพียงอย่างจริงจัง ไม่นอนกลางวัน เมื่อค่ำลง ก็ทำความเพียรจนถึง 4 ทุ่ม จึงจำวัด พอถึง ตี 2 ก็ลุกขึ้นทำ ความเพียรต่อจนถึงสว่าง ท่านเป็นพระสงฆ์ที่มีศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างเต็มเปี่ยม ท่านตั้งใจบำเพ็ญเพียรและธุดงค์ไปตาม สถานที่ต่างๆ ทั้งภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคอีสาน พบ ครูบาอาจารย์ที่ให้คำสั่งสอนที่ดีมากมาย
 
ครั้งหนึ่งท่านมีความปรารถนาจะเดินทางไปพบพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เพื่อฟังธรรมโอวาทจาก ท่านพระอาจารย์มั่น เมื่อได้ฟังคำสั่งสอนของพระอาจารย์มั่นแล้ว ยิ่งเกิดความศรัทธาเลื่อมใสอย่างแรงกล้า จึงได้ออกติดตามธุดงค์อยู่ทางภาคเหนือกับพระอาจารย์เป็นเวลานาน ในขณะเดียวกันนั้นก็ได้พบกับครูบาอาจารย์หลายท่าน เช่น หลวงปู่ขาว หลวงปู่ชอบ หลวงปู่สิม ฯลฯ หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ ได้ละสังขารไปเมื่อวันที่ ๕ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๔๘ เมื่ออายุได้ ๙๓ ปี
 
 
กุฏิพระสงฆ์ภาคใต้

 
พระราชมุนีสามีรามคุณูปมาจารย์ (หลวงปู่ทวด)
วัดช้างไห้ จังหวัดปัตตานี
จากหนังสือและเอกสารอ้างอิงทางประวัติศาสตร์บันทึกไว้ว่าท่านเกิดเมื่อวันศุกร์ เดือน ๔ ปี มะโรง พุทธศักราช ๒๑๒๕ ณ หมู่บ้านสวนจันทร์ ตำบลชุมพล เมืองจะทิ้งพระ (สทิงพระ) ในครอบครัวเล็กๆ ฐานะยากจนแร้นแค้น แต่มีจิตเป็นกุศล ยึดมั่นในศีลธรรม ในช่วงปลายรัชสมัย ของพระมหาธรรมราชา แห่งกรุง ศรีอยุธยา เมื่ออายุได้ ๗ ขวบ บิดามารดาพาไปฝากกับท่าน สมภารจวง วัดดีหลวง เพื่อให้เล่าเรียนหนังสือ ครั้นอายุได้ ๑๕ ปี ก็บรรพชาเป็นสามเณร ต่อมาได้ไปศึกษาต่อกับสมเด็จพระขินแสน ที่วัดสีหยัง(สีคูยัง)
 
เมื่ออายุครบอุปสมบท จึงได้เดินทางไปศึกษาต่อที่เมืองนครศรีธรรมราช ณ สำนักพระมหาเถระปิยทัสสี ได้ทำการอุปสมบทมีฉายาว่า “ราโม ธมฺมิโก” แต่คนทั่วไป เรียกท่านว่า “เจ้าสามีราม” หรือ “เจ้าสามีราโม” ท่านศึกษาหาความรู้อยู่ที่วัดท่าแพ วัดสีมาเมือง และวัดอื่นอีกหลาย วัดภายใน เมืองนครศรีธรรมราช จากนั้นจึงโดยสารเรือสำเภามาศึกษาต่อที่กรุงศรีอยุธยา พำนักอยู่ที่วัดแค ศึกษาธรรมะที่วัดลุมพลีนาวาส ต่อมาได้ไปพำนักอยู่ที่วัดของสมเด็จ พระสังฆราช จนเชี่ยวชาญ จึงทูลลาไปจำพรรษา ที่วัดราชานุวาส สมเด็จพระเอกาทศรถทรงโปรดเกล้าฯแต่งตั้งสมณศักดิ์ให้เป็น “สมเด็จพระราช มุนีสามี รามคุณูปมาจารย์”
 
เมื่อครั้งสามารถถอดปริศนาธรรม ที่พระเจ้าแผ่นดินแห่งเมืองลังกา ส่งมาท้าประลองดั่งการรบด้วยสติปัญญาหลังศึกษาและปฏิบัติธรรมอยู่ที่วัดราชานุวาสเป็นเวลาหลายปี ท่านก็ได้ออกธุองค์โดยมีจุดหมายเพื่อกลับถิ่นฐานที่ภาคใต้ ระหว่างเส้นทางก็เผยแพร่ธรรมะไปด้วยในขณะเดียวกัน ที่ไหนมีผู้เจ็บป่วยก็ทำการรักษาให้ เมื่อท่านธุดงค์มาถึงวัดพัทธสิงห์ บรรพตพะโคะ ซึ่งมีสภาพเสื่อมโทรมเหมือนวัดร้าง เนื่องจากถูกข้าศึกทำลาย ท่านกับอาจารย์จวง จึง คิดจะบูรณะปฏิสังขรณ์
 
เมื่อพระเจ้าแผ่นดินทรงทราบ ทรงยินดี และอนุโมทนาเป็นอย่างยิ่ง โปรดให้นายช่างผู้ชำนาญ ๕๐๐ คน และทรงพระราชทานสิ่งของและเงินตรา เพื่อการนี้เป็นจำนวนมาก ใช้เวลา ๓ ปี จึงแล้วเสร็จ ประชาชนพร้อมกันถวาย นามท่านว่า “สมเด็จเจ้าพะโคะ” และเรียกชื่อวัด พัทธสิงห์บรรพตพะโคะว่า “วัดพะโคะ” มาจนบัดนี้ พระราชมุนีสามีรามคุณูปมาจารย์ ทรงเป็นผู้ทรงศีล และปัญญาญาณอันล้ำเลิศ ไม่ว่าท่านจะไปพำนักอยู่สถานที่ใด ที่นั่นก็จะเป็นศูนย์กลางในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ไม่ว่าท่านจะจาริกไป ณ ที่ใด ก็จะมีคนกราบไหว้ฟังธรรม หลักการปฏิบัติของท่านคือ ช่วยเหลือและเผยแพร่ธรรมะ ให้ชาวโลกอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข มีความเคารพเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์ ตลอดไป
 
 
พระครูวิสัยโสภณ (พระอาจารย์ทิม ธัมมธโร)
วัดช้างไห้ จังหวัดปัตตานี
เดิมชื่อนายทิม พรหมประดู่ เกิดเมื่อวันที่ ๒๑ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๕๕ ที่บ้านนาประดู่ ต.นาประดู่ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี เป็นบุตรของนายอินทอง กับ นางนุ่ม พรหม ประดู่ เมื่ออายุได้ ๙ ขวบ บิดามารดาได้ฝากให้อยู่กับ พระครูภัทรกรณ์โกวิท ซึ่งขณะนั้นยังเป็น พระแดง ธัมมโชโต เจ้าอาวาสวัดนาประดู่ ซึ่งอยู่ใกล้บ้าน เพื่อจะได้เรียนหนังสือ
 
เมื่ออายุ ๑๘ ปี ได้บวชเป็นสามเณร จากนั้นก็สึกออกมาช่วยบิดามารดาทำนา จนอายุได้ ๒๐ ปี จึงบวชเป็นพระภิกษุที่วัดนาประดู่ จำพรรษาอยู่ ๒ พรรษา แล้วจึงย้ายไปอยู่ที่วัดมุจลิน ทวาปีวิหาร อ.หนองจิก จ.ปัตตานี เพื่อศึกษาพระปริยัติ ธรรม ในปี พ.ศ.๒๔๘๔ ได้ย้ายไปเป็นเจ้าอาวาสที่วัด ราษฎร์บูรณะ(วัดช้างไห้) ซึ่งตอนแรกก็ยังคงไปๆ มาๆ ระหว่างวัดช้างไห้กับวัดนาประดู่ เพราะท่านยังคงเป็นครูสอนพระปริยัติธรรมอยู่ที่วัดนาประดู่ด้วย
 
ช่วงที่เกิดสงครามโลกครั้งที่ ๒ ทหารญี่ปุ่นยกพล ขึ้นบกที่ปัตตานี กองทหาร และสัมภาระต่างๆ ได้ถูกบรรทุกโดยรถไฟสายใต้จากหาดใหญ่ไปสุไหงโก-ลก ผ่านหน้าวัดช้างไห้ วันละหลายเที่ยวหลายขบวน ชาวบ้านในละแวกนั้นต่างหวาดผวากับภัยสงครามเสีย ขวัญและกำลังใจกันเป็นอย่างมาก ต้องรับภาระหนัก คือ ต้องจัดหาอาหารและที่พักแก่ผู้ที่เดินทางผ่านวัดไม่เว้นแต่ละวัน นับว่าท่านเป็นพระผู้ทรงความเมตตา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แก่คนทั่วไปเป็นอย่างยิ่ง
 
เมื่อท่านไปอยู่ที่วัดช้างไห้ใหม่ๆนั้น วัดอยู่ในสภาพที่ถูกทิ้งร้างทรุดโทรม ท่านได้ริเริ่มตกแต่งสถูปที่บรรจุ อัฐิหลวง ปู่ทวด ให้เป็นที่น่าเคารพบูชา ท่านได้ดำริที่จะ สร้างพระอุโบสถพร้อมบูรณะปรับปรังบริเวณวัดให้ดีกว่าเดิม ท่านจึงได้ร่วมจัดสร้างพระเครื่องหลวงปู่ทวด ซึ่งในครั้งนั้นได้ปัจจัยจากผู้มีจิตศรัทธาเป็นจำนวนหนึ่ง ซึ่งพระอาจารย์ทิม ได้เงินจำนวนนั้นมาใช้สำเร็จตามความประสงค์ ท่านเป็นผู้รื้อฟื้นประวัติของพระราชมุนีสามีรามคุณู ปมาจารย์ หรือหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด เจ้าอาวาสองค์แรกของวัดช้างไห้ ให้เป็นที่รู้จักของพุทธ ศาสนิกชนทั่วไป
 
พระอาจารย์ทิมเป็นผู้มีจิตเมตตาเคร่งครัดในพระธรรมวินัย แม้คนต่างชาติต่างภาษา ยังให้ความเคารพศรัทธา ท่านอาพาธด้วยโรคมะเร็งที่หลอดอาหาร กระทั่งมรณภาพเมื่อวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๑๒ แต่สิ่งที่ท่านได้สร้างไว้ ล้วนเป็นสิ่งที่บอกได้ถึงความ มุมานะและความพยายาม ที่จะทะนุบำรุงพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองสืบเนื่องต่อไป
 
 
 
 
บริษัท อุทยานหุ่นขี้ผึ้งสยาม จำกัด
41/1 หมู่ 3 ถ.เพชรเกษม-ดำเนินสะดวก
ต.วังเย็น อ.บางแพ จ.ราชบุรี 70160
ช่องทางติดต่อเรา
โทรศัพท์ : 032381401 , 032381404  โทรสาร : 032381403
เว็บไซต์  : www.scppark.com  อีเมล์ : scp_2549@hotmail.com