ภาคใต้เป็นบริเวณที่มีสภาพทางภูมิศาสตร์ที่แตกต่างไปจากภาคอื่นๆของประเทศ อีกทั้งยังเป็นพื้นที่ที่มีฝนตกชุก เนื่องจากได้รับลมมรสุมตะวันตกเฉียงเหนือและ ลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ทำให้ภาคนี้มีฝนตกชุก ตลอดทั้งปี ซึ่งกลายเป็นอิทธิพลสำคัญต่อการกำหนดรูปแบบเรือนพักอาศัยของประชาชนในภาคใต้ ลักษณะเรือนพักอาศัยของชาวใต้นั้นมักจะเป็นเรือนไม้ยกพื้นสูง และเป็นเรือนแฝด และสามารถต่อขยายไปได้ตามลักษณะของครอบครัว มีชานเชื่อมต่อกัน ข้างฝาใช้ไม้กระดานหรือไม้ไผ่สาน มุงหลังคาด้วยวัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น บ้างก็เพิ่มหรือ ลดระดับขั้นเรือนเพื่อแยกกิจกรรมต่างๆ ออกจากกันจึงทำให้เรือนไทยมุสลิมมีการเล่นระดับพื้นใต้ถุนเรือนใช้เป็นที่พักผ่อน เก็บของ หรือประกอบอาชีพเสริม เช่น ทำกรงนก
ลักษณะที่โดดเด่นของเรือนไทยทางภาคใต้ คือหลังคาที่มีทรงสูง มีความลาดเอียง ลงเพื่อให้น้ำฝนไหลผ่านได้อย่างสะดวก ชายคาต่อยาวออกไปคลุมถึงบันได เนื่องจากฝนตกชุกมาก เสาเรือนไม่นิยมฝังลงไปในพื้นดิน แต่จะใช้ "ตอม่อ" หรือฐานเสาที่ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง ศิลาแลง หรือที่ทำจากการก่ออิฐฉาบปูนรองรับเป็นลักษณะเด่นของเรืองทางภาคใต้ เรือนไทย เรียกได้ว่าเป็นเรือนไทยที่มี "ตีนเสา" เพื่อป้องกันปัญหาการผุกร่อนของเสาเมื่อได้รับความชื้นจากพื้นมากๆ วิธีการสร้างนั้นจะประกอบส่วนต่างๆของเรือนบนพื้นดินก่อน แล้วจึงยกส่วนโครงสร้างต่างๆขึ้นประกอบเป็นตัวเรือนอีกทีหนึ่ง การวางตัวเรือนจะหันเข้าหาเส้นทางสัญจรทั้งทางน้ำและทางบก ซึ่งสามารถรับลมบกและลมทะเลได้การวางตัวเรือนแบบนี้ ทำให้คนทางภาคใต้หันหัวนอนไปทางทิศใต้เป็นหลัก รอบบริเวณบ้านไม่มีรั้วกั้นแต่จะปลูกไม้ผลเช่น มะพร้าว มะม่วง ขนุน หรือ กล้วย เอาไว้เป็นร่มเงาและแสดงอาณาเขตของบริเวณบ้านแทน นอกจากเรือนพักอาศัยแล้วยังมีอาคารประกอบบ้านเรือน ได้แก่ "ศาลา" ซึ่งมีรูปทรงหลังคาเปลี่ยนลักษณะไปตามความนิยมของรูปแบบของเรือนพักอาศัย และการสร้างก็ขึ้นอยู่ กับลักษณะการใช้สอย เช่น ใช้สำหรับพบปะสังสรรค์ หรือ เป็นศาลาริมทางประชากร ในภาคใต้ประกอบด้วยชาวไทยพุทธ และชาวไทยมุสลิมเป็นหลักทำให้มีขนบธรรมเนียม และวัฒนธรรมประเพณีที่หลากหลาย จะเห็นได้ชัดจากการใช้ภาษา มลายู และภาษาไทย เป็นต้น ชาวใต้ประกอบอาชีพทำประมง วิถีชีวิตผูกพันกับท้องทะเล เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่โอบล้อมด้วยทะเลทั้ง ๒ ฝั่ง บางพื้นที่ประกอบอาชีพกสิกรรม เช่นยางพารา เงาะ ทุเรียน ลางสาด และ ลองกอง เป็นต้น
วิถีชีวิตวัฒนธรรมพื้นบ้านของชาวภาคใต้ มาจากรากฐานของวัฒนธรรมพื้นบ้านในท้องถิ่นที่ได้สั่งสมความรู้และความประพฤติ สืบทอดกันมาตั้งแต่ ครั้งอดีตจนถึง ปัจจุบัน การดำเนินชีวิตที่เรียบง่ายเครื่องแต่งกายของ ฝ่ายชาย จะนุ่งผ้าโสร่ง ใส่เสื้อคอกลม นิยมใช้ผ้าขาวม้าพาดบ่า ฝ่ายหญิง นิยมนุ่งซิ่น หรือผ้าปาเต๊ะ ใส่เสื้อคอกลม
เอกลักษณ์ประจำภาคใต้โดยเฉพาะฝ่ายหญิงต้องทอผ้าได้เอง มื้ออาหารของชาวใต้นั้น จะทานข้าวเจ้าเป็นหลักและทานอาหารรสจัด ปรุงแต่งสี กลิ่น รส ด้วยเครื่องเทศและสมุนไพร มีผักสดเป็นส่วนประกอบ อาหารที่สำคัญอยู่ในอาหารทุกมื้อ บ้านเรือนส่วนมากนิยมเลี้ยงนกไว้ กิจกรรมยามว่างมีการละเล่นและการแสดงที่สร้างความบันเทิงอย่างหนังตะลุง อันเป็นอีกวัฒนธรรมที่เป็นที่รู้จักและเป็นเอกลักษณ์ของภาคใต้ สภาพทางภูมิศาสตร์ที่แตกต่างไปจากภาคอื่นๆของประเทศ เป็นบริเวณที่มีฝนตกชุก ความชื้นสูงมี 2 ฤดู ได้แก่ ฤดูร้อนและฤดูฝน ในฤดูร้อน อากาศจะไม่ร้อนจัดเหมือนภาคอื่นๆเพราะภาคนี้ได้รับลมมรสุมตะวันตกเฉียงเหนือ และลมมรสุม ตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้ภาคนี้มีฝนตกชุกตลอดทั้งปี ซึ่งเป็นอิทธิพลสำคัญต่อการกำหนดรูปแบบเรือนพักอาศัยของประชาชนในภาคใต้