เคล็ดลับการกู้เงินให้โดนใจแบงค์

        การมีธุรกิจเป็นของตนเองคงเป็นความใฝ่ฝันของใครหลายๆ คน บางคนอาจมีไอเดียในการพัฒนาธุรกิจของตนเอง อยากลองผิดลองถูก หรือบางคนที่ไม่ชอบเสี่ยง ต้องการธุรกิจสำเร็จรูปก็สามารถเลือกลงทุนในธุรกิจแฟรนไชส์ที่มีการวางระบบการจัดการมาแล้วเป็นอย่างดี แต่ไม่ว่าจะทำธุรกิจประเภทไหน ย่อมหลีกหนีไม่พ้นในเรื่องของเงินทุน ซึ่งแหล่งเงินทุนที่จะนำมาใช้ในการประกอบธุรกิจนั้นมีที่มาจากหลายแหล่ง เช่นเงินออมของตนเอง การร่วมลงทุน หรือการกู้ยืมจากสถาบันการเงิน เป็นต้น ในการเลือกใช้บริการสินเชื่อกับสถาบันการเงินนั้น ผู้ประกอบการ ควรรู้และเข้าใจในผลิตภัณฑ์เลือกใช้ให้ตรงกับวัตถุประสงค์การกู้ยืม
 ดังนั้น ถ้าคุณต้องการประสบความสำเร็จในการกู้เงิน เคล็ดลับ 9 ข้อ นี้ จะช่วยคุณได้
 
9 เคล็ดลับการของสินเชื่อให้โดนใจแบงก์
 
1.เดินบัญชีอย่างสม่ำเสมอ สร้างประวัติทางการเงิน
         ธนาคารไม่ได้รู้จักธุรกิจของท่านทุกคน งบการเงินของธุรกิจขนาดเล็กโดยเฉลี่ยมีความผิดพลาดสูง (แต่มากกว่า 80% ไม่มีงบการเงิน) เกือบทุกธนาคารจึงอ้างอิงกระแสเงินสดเข้า/ออกบัญชี (หรือที่เรียกกันยอดหมุนเวียนบัญชี) ของท่านในการประเมินรายได้ ดังนั้นการเดินบัญชีจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะสร้างประวัติธุรกิจของท่านกับธนาคาร
2. การขอสินเชื่อเป็นเรื่องของเครดิตหรือความน่าเชื่อถือ จงรักษามันให้ดีที่สุด
         หลายคนไม่ได้ใส่ใจเรื่องประวัติค้างชำระในการใช้เครดิตส่วนบุคคล (บัตรเครดิต สินเชื่อที่พักอาศัย รถยนต์ หรือสินเชื่อเงินสด เป็นต้น) โดยไม่ทราบว่าประวัติเหล่านี้ถูกเก็บไว้ที่เครดิตบูโรและจะถูกนำมาประมวลผลพร้อมกัน เมื่อท่านขอสินเชื่อ เพื่อความมีระเบียบวินัยทางการเงินของท่าน ถือเป็นคุณสมบัติประการแรกๆ ของการพิจารณาสินเชื่อเพื่อธุรกิจก็ว่าได้
3.อย่าปล่อยให้ประวัติเช็คคืนมีผลต่อการพิจารณาสินเชื่อของท่าน
         เช็คคืนที่เจ้าของธุรกิจสั่งจ่ายไป อาจแสดงถึงความสามารถในการจัดการด้านการเงินหรือสภาพคล่องที่ไม่เพียงพอของธุรกิจ เพื่อไม่ให้ประวัติเช็คคืนมีผลต่อการพิจารณาคำขอสินเชื่อของท่าน เมื่อพบว่ามีกระแสเงินสดไม่พอ ควรรีบดำเนินการติดต่อผู้รับเช็คเกี่ยวกับการขอผ่อนปรนระยะเวลาการชำระเงิน
4. ความลับทางการค้าจะไม่ถูกเปิดเผยโดยธนาคาร
         มีข้อมูลหลายอย่างที่มีความสำคัญต่อการพิจารณาสินเชื่อ (โดยเฉพาะข้อมูลการเดินบัญชีหลักที่ไม่ได้เปิดในนามกิจการ) แต่ไม่ได้มีการนำเสนอเพื่อสนับสนุนการขอสินเชื่อของท่าน เนื่องจากเจ้าของธุรกิจหลายท่านกลัวความลับทางการค้า หรือทางภาษีเหล่านั้นรั่วไหล ความจริงคือธนาคารไม่สามารถนำเอกสารเหล่านี้เปิดเผยให้กับบุคคลใด โดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ขอสินเชื่อ
5.เอกสารทางการค้าของท่านมีมูลค่า จงเก็บมันไว้เสมอ
         เอกสารที่แสดงถึงผลการดำเนินงานของธุรกิจท่าน ไม่ว่าจะเป็นบัญชีซื้อ/ขาย สำเนาใบกำกับภาษี ใบสั่งซื้อสินค้า ใบเสร็จรับเงิน เหล่านี้เป็นเอกสารที่ท่านอาจจำเป็นต้องใช้เพื่อนำเสนอผลประกอบการต่อธนาคาร และจะจำเป็นมากขึ้น ในกรณีที่ยอดหมุนเวียนบัญชีของท่านไม่สะท้อนรายได้ของธุรกิจที่แท้จริง ท่านสามารถใช้เอกสารเหล่านี้ประกอบการขอสินเชื่อได้
6.หลักประกันคือฟันเฟืองสำคัญของการพิจารณาสินเชื่อ
         หลักประกันแม้จะเป็นสิ่งสำคัญ แต่ก็ไม่ใช่สิ่งเดียวที่ธนาคารสนใจ ธนาคารยังพิจารณาถึงความสามารถในการชำระหนี้ ซึ่งธนาคารวิเคราะห์ได้จากแผนธุรกิจ งบการเงิน และประวัติของผู้ขอสินเชื่อ หลักประกันที่ดีที่สุดสำหรับการขอสินเชื่อ คือ สถานประกอบกิจการ รองลงมาคือหลักประกันที่ท่านมีไว้ในครอบครอง แต่ไม่ได้ใช้เป็นสถานที่ประกอบกิจการ อาทิ ที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง หรือเครื่องจักร โดยทั่วไปวงเงินที่ธนาคารอนุมัติให้จะอยู่ระหว่า 80-95% ของมูลค่าหลักประกัน
7.แหล่งรายได้และภาระหนี้สินรวมคือแหล่งที่มาของวงเงิน
         แม้ว่าบางครั้งหลักประกันจะมีมูลค่ามากกว่าวงเงินที่ขอ ธนาคารอาจอนุมัติวงเงินที่ต่ำกว่าที่ขอได้เนื่องจากธนาคารไม่ได้พิจารณาตามมูลค่าหลักประกันเพียงอย่างเดียว ธนาคารยังดูภาระหนี้สินรวม หรือจำนวนเงินที่ท่านสามารถผ่อนชำระได้ในที่สุดด้วย ซึ่งความสามารถในการผ่อนชำระดังกล่าวก็ดูได้จากแหล่งรายได้ของท่านนั่นเอง
8.ไม่มีหลักประกันก็สามารถขอสินเชื่อได้
         ในการปล่อยสินเชื่อประเภทที่ไม่ใช้หลักประกัน ธนาคารถือว่ามีความเสี่ยงสูง ดังนั้นคุณสมบัติของผู้ที่จะผ่านการอนุมัติได้ ก็จำเป็นต้องสูงกว่าการขอสินเชื่อทั่วไป ไม่ว่าจะเรื่องประสบการณ์ ยอดหมุนเวียนบัญชี แม้ว่าการสมัครจะรวดเร็ว ไม่ยุ่งยากซับซ้อนเท่ากับสินเชื่อที่มีหลักประกันโดยทั่วไป อัตราดอกเบี้ยที่คิดก็มักจะสูงกว่า (ประมาณ 13%-30% ต่อปี ขึ้นอยู่กับประเภทและขนาดของวงเงินที่ได้รับการอนุมัติ) ดังนั้นถ้าท่านมีหลักประกัน สิ่งที่ดีที่สุดคือเสนอหลักประกันประกอบการขอสินเชื่อ กรณีที่มีหลักประกันไม่พอ ท่านสามารถติดต่อหน่วยงานภาครัฐ เพื่อขอใช้บริการค้ำประกันวงเงินสินเชื่อได้เช่นกัน
9.เตรียมพร้อมดี มีชัยไปกว่าครึ่ง
         การขอสินเชื่อที่ดีจำเป็นต้องมีการเตรียมพร้อมก่อนเสมอ นอกเหนือจากเอกสารประกอบต่างๆ แล้ว สิ่งที่จำเป็นต้องทำคือ ประเมินแผนการทางการเงินของท่านอย่างคร่าวๆ เช่น ท่านต้องการเงินเท่าไหร่ รายได้โดยประมาณต่อปีเป็นเท่าไหร่ สามารถใช้หลักประกันอะไรได้บ้าง ประเมินจากเงื่อนไขของแต่ละธนาคารแล้วท่านน่าจะได้วงเงินสักเท่าไหร่ ถ้าไม่พอท่านมีแผนจะทำอย่างไร ท่านจะสามารถชำระคืนได้หรือไม่ ภายในกี่ปี คำถามเหล่านี้จะช่วยให้ท่านเตรียมพร้อมก่อนดำเนินเรื่องขอสินเชื่อ

 สำหรับธนาคารกสิการไทย มีสินเชื่อหลายประเภทที่คุณสามารถเลือกให้เหมาะสมกับตัวเอง คือ
     สินเชื่อสำหรับผู้ประกอบการมือใหม่  คือ ผู้ประกอบการที่ยังไม่มีประสบการณ์ในการประกอบธุรกิจ หรือพนักงานประจำที่ทำธุรกิจส่วนตัวควบคู่ไปด้วย หรือผู้ประกอบการที่ต้องการลงทุนในธุรกิจเล็กๆ ที่ใช้เงินลงทุนไม่มาก เช่น ร้านดอกไม้ ร้านกาแฟ ร้านก๋วยเตี๋ยว และร้านซักอบรีด เป็นต้น

ประเภทสินเชื่อ 
วัตถุประสงค์การกู้และการเลือกใช้สินเชื่อ
สินเชื่อบุคคล (Personal Loan)
       -เหมาะสำหรับบุคคลทั่วไปที่มีรายได้ประจำ
        และผู้ที่ไม่มีประสบการณ์ในการประกอบธุรกิจ
     -เหมาะสำหรับการใช้จ่ายส่วนบุคคล หรือใช้เป็นวงเงินฉุกเฉิน
     -อัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียม ประมาณ 28% ต่อปี
     -วงเงินอนุมัติไม่เกิน 5 เท่าของเงินเดือน หรือรายได้ประจำ
สินเชื่อบัตรเครดิต (Credit Card)     
     -สำหรับผู้มีรายได้ไม่ต่ำกว่า 15,000 บาทต่อเดือน
     -เหมาะสำหรับการใช้เป็นเงินหมุนเวียนในชีวิตประจำวัน
     -เหมาะสำหรับคนที่มีสภาพคล่องทางการเงินสูง
     -อัตราดอกเบี้ยสูง (ประมาณ 18% ต่อปี
     -ยอดเงินขั้นต่ำที่ต้องชำระ 10% หรือ 1,000 บาท
     -วงเงินอนุมัติขึ้นอยู่กับรายได้และจำนวนบัตรที่ถืออยู่กับ
     สถาบันการเงินนั้นๆ
 
     
สินเชื่อเพื่อการผ่อนชำระ   
-เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่มีเงินก้อน แต่ต้องการซื้อสินค้า เครื่องใช้ที่จำเป็น เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า เฟอร์นิเจอร์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
     -มีวงเงินอเนกประสงค์สำหรับการใช้กดเงินสด
     -ค่าเบี้ยปรับสูง หากไม่ชำระตรงตามเวลาที่กำหนด
     -มียอดผ่อนชำระเท่ากันทุกเดือน โดยระยะเวลาผ่อนชำระจะอยู่ระหว่าง 6 – 36 เดือน
สินเชื่อสำหรับผู้ประกอบการมืออาชีพ
 คือ ผู้ประกอบการที่มีประสบการณ์ในการดำเนินธุรกิจมาแล้ว 2-3 ปี ต้องการขยายธุรกิจ หรือต้องการเงินทุนหมุนเวียนในธุรกิจ โดยผู้ประกอบการต้องใช้หลักทรัพย์ เป็นส่วนหนึ่งของการค้ำประกันสินเชื่อ
ประเภทสินเชื่อ  
วัตถุประสงค์การกู้แลการเลือกใช้สินเชื่อ
สินเชื่อระยะยาว (Term Loan)
เช่นเงินกู้      
     -เหมาะสำหรับการขยายกิจการและการลงทุน ในสินทรัพย์ถาวร เช่น โรงงาน โกดัง สำนักงาน เป็นต้น
      -สามารถเลือกรับเงินกู้เพียงครั้งเดียว หรือแบ่งรับเป็นงวดๆ
      -อัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าการกู้สินเชื่อบุคคลเพื่อใช้ในธุรกิจ และมีการคิดดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอก
      -วงเงินอนุมัติขึ้นอยู่กับรายได้และความสามารถในการชำระหนี้
 สินเชื่อระยะสั้น
ได้แก่ เงินกู้เบิก   
      -เหมาะสำหรับการใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในกิจการเงินเกินบัญชี (O/D) และตั๋วสัญญา   
      -วงเงิน (O/D) สามารถสั่งจ่ายโดยใช้เช็ค ทำให้ใช้เงิน (P/N)     คล่องตัวในการทำธุรกิจ
      -วงเงิน (P/N) เหมาะกับการใช้จ่ายค่าสินค้ามูลค่าสูง และมีเครดิตเทอมในการชำระเงิน
      -คิดดอกเบี้ยเมื่อมีการใช้วงเงิน
      -อัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าการกู้สินเชื่อบุคคล
      -วงเงินอนุมัติขึ้นอยู่กับรายได้และความสามารถในการชำระหนี้
สินเชื่อเพื่อการส่งออกและนำเข้า   
 -เหมาะสำหรับผู้ที่ประกอบธุรกิจส่งออกและนำเข้า เช่น Packing Credit, Trust Receipt  และต้องการเพิ่มสภาพคล่อง
        ให้กับธุรกิจเป็นต้น      
      -สำหรับธุรกิจส่งออกสามารถใช้สินเชื่อได้ ทั้งก่อนและหลังการส่งออก
      -การใช้สินเชื่อประเภทนี้จะช่วยลดความเสี่ยงในการ ธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ
      -มีอัตราดอกเบี้ยในการใช้วงเงินสินเชื่อและค่า ธรรมเนียม สำหรับการใช้บริการในการจัดทำเอกสารกับสถาบันการเงิน
      -วงเงินอนุมัติขึ้นอยู่กับรายได้และความสามารถในการชำระหนี้
 สินเชื่อที่ไม่ต้องใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
      -เหมาะสำหรับผู้ประกอบการที่ไม่มีหลักทรัพย์ หรือ หลักทรัพย์ที่มีติดภาระอื่นๆ ไม่สามารถนำมาเป็น หลักประกันได้
      -ผู้สมัครต้องมีประสบการณ์ในการประกอบธุรกิจ
      -อัตราดอกเบี้ยสูงกว่าสินเชื่อเพื่อการพาณิชย์โดยทั่วไป  แต่ต่ำกว่าสินเชื่อบุคคล
      -วงเงินอนุมัติสูงกว่าสินเชื่อบุคคล ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับรายได้และความสามารถในการชำระหนี้
      -อาจต้องใช้บุคคลหรือนิติบุคคลค้ำประกัน
     
 เมื่อรู้จักและเข้าใจประเภทของสินเชื่อกันแล้ว หวังว่าผู้ประกอบการทุกท่านจะสามารถเลือกใช้สินเชื่อแต่ละประเภทให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ธุรกิจของตนเอง

รับสมัครงานด่วนหลายตำแหน่ง more...
 
26 ก.พ.-1 มี.ค. 52 พบกับงานซื้อ-ขายธุรกิจครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งปี 52 งานโอกาสธุรกิจ&แฟรนไชส์ ครั้งที่ 13....
 
แบบสอบถามแฟรนไชส์ซี่ (รับสิทธิ์สมัครสมาชิกนิตยสารฯ ฟรี!! 1 ปี)
ถ้าไม่สามารถอ่านเอกสารได้
ดาวน์โหลดโปรแกรมที่นี่....
            
 
 
 

บริการงานเว็บไซค์

 

 
 
- ditto world
- music palace
- pompadour
- blink
- สังขยา กาแฟ
- big move
- โจเอลลี่ โมอีส
- จันทร์สว่าง