แฟรนไชส์ในเวียดนาม
Let U.S Commercial global business partner 800 USA-TRADE
ตลาดธุรกิจแฟรนไชส์ของเวียดนามอยู่ในช่วงขาขึ้น มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 20 เปอร์เซ็นต์ เมื่อประมาณ 2-3 ปีที่ผ่านมานี้ มีการเปิดสาขาร้านแฟรนไชส์มากกว่า 530 สาขา แม้ว่าขณะนี้ ตลาดแฟรนไชส์ในเวียดนาม จะค่อนข้างเล็ก และยังมีการแข่งขันน้อยอยู่ แต่คาดการณ์ว่าจะสามารถเติบโตไปได้อย่างรวดเร็ว ที่ผ่านมามีแฟรนไชส์จากต่างประเทศที่ประสบความสำเร็จ และได้รับความนิยมมาขยายธุรกิจในเวียดนาม
ปัจจุบันธุรกิจแฟรนไชส์ท้องถิ่นของเวียดนามเองก็ได้รับการยอมรับ แลประสบความสำเร็จขึ้นมากกว่าเดิม นอกจากนี้ในช่วงเริ่มต้น กฎหมายนี้ได้ผ่านการอนุมัติจากสมาชิกสภาแห่งชาติในปี 2005 โดยกฎหมายมีข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณสมบัติของแฟรนไชส์ ข้อกำหนดในสัญญาแฟรนไชส์ และข้อกำหนดด้านการดูแลจัดการแฟรนไชส์
ธุรกิจแฟรนไชส์เกิดขึ้นในเวียดนาม ครั้งแรกในปี พ.ศ.2533 โดยมีแฟรนไชส์อาหาร และเครื่องดื่มที่มีชื่อเสียงจากต่างชาติเข้ามาเป็นรายแรกๆ อย่างเช่น เคนตั๊กกี้ Dilmah ล๊อตเทอเลีย และจอลลี่บี ที่ผ่านมารัฐบาลเวียดนามได้สนับสนุนการลงทุนจากต่างประเทศโดยตรงเพื่อช่วยทำให้เศรษฐกิจของเวียดนาม ได้สนับสนุนการลงทุนจากต่างประเทศโดยตรงเพื่อช่วยทำให้เศรษฐกิจของเวียดนามเติบโตขึ้น แต่เนื่องจากยังไม่มีการสร้างเงื่อนไข ที่ดีเพียงพอให้ธุรกิจแฟรนไชส์ เติบโต กฎหมายที่ใช้สำหรับธุรกิจแฟรนไชส์นั้น กลับเป็นเพียงกฎหมายที่ควบคุมเรื่องการถ่ายทอดความรู้ และเทคโนโลยีที่มีการลงทุนจากต่างประเทศเท่านั้น จึงยังคงขาดกฎหมายเฉพาะสำหรับที่จะดูแลธุรกิจแฟรนไชส์โดยเฉพาะ
ปัจจุบันภาครัฐของเวียดนามได้เล็งเห็นว่าแฟรนไชส์คือวิถีทางหนึ่งที่จะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เติบโต ขึ้นได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากธุรกิจแฟรนไชส์จะช่วยดึงนักลงทุน ภาคเอกชนที่มีเงินสะสมอยู่ค่อนข้างมากออกมาใช้ เนื่องจากตลาดทุนของเวียดนามยังไม่พัฒนาไปมากนัก ธุรกิจแฟรนไชส์จึงถูกคาดหวังว่าจะช่วยเป็นเครื่องมือในการดึงเงินออมของเอกชน และนำไปสู่การลงทุนในธุรกิจใหม่ขึ้น เพราะแฟรนไชส์นั้นเป็นการลงทุนทางธุรกิจที่ทำให้นักลงทุนที่สนใจจะเริ่มต้นทำธุรกิจเองสามารถใช้เวลาอันสั้น ในการเริ่มต้นด้วยความเสี่ยงที่น้อยกว่า
ข้อดีของแฟรนไชส์อีกประการหนึ่งก็คือ ทำให้แฟรนไชส์ซีมีความเสี่ยงในการเริ่มต้นธุรกิจด้วยตัวเองน้อยลง เพราะว่าผู้เริ่มลงทุนนั้นได้เริ่มต้น โดยนำธุรกิจที่มีตราสินค้าที่เป็นที่รู้จัก และประสบความสำเร็จมาแล้ว ดังนั้นนักลงทุนท้องถิ่นที่เพิ่งจะเริ่มต้นสามารถแสวงโอกาส โดยเลือกลงทุนกับธุรกิจแฟรนไชส์ที่ดีเพื่อลดความเสี่ยงในการเริ่มต้นทำธุรกิจเองดังกล่าว
นอกจากนี้คนที่มีฐานะมากมาย และนักลงทุนหน้าใหม่ที่กำลังมองหาโอกาสในการทำธุรกิจใหม่ๆ นั้น เห็นว่าธุรกิจแฟรนไชส์ดูเหมือนจะเป็นวิธีที่คุ้มค่าที่สุดวิธีหนึ่งในการสร้างธุรกิจใหม่ๆ
นักเศรษฐศาสตร์แสดงความเห็นว่า ประเทศเวียดนามนั้นมีข้อได้เปรียบสำหรับการพัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ประการที่หนึ่ง เนื่องจากเศรษฐกิจของเวียดนามนั้นกำลังเติบโตอย่างต่อเนื่องถึงร้อยละ 7-8 ในปีที่ผ่านมานี้ ประการที่สอง ประชากรรุ่นหนุ่มสาวประมาณ 82 ล้านคน มีคุณภาพและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นมาก เนื่องจากการมีรายได้เพื่อการใช้จ่ายใช้สอยเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริเวณที่อยู่อาศัยในเขตปริมณฑล ซึ่งมีความต้องการบริโภคสินค้าที่มีคุณภาพสูง จึงเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดมีสินค้ามีสินค้า และบริการที่มีคุณภาพสูงตามมา อาจกล่าวได้ว่าปัจจุบันในภาคการผลิตของเวียดนามเองยังไม่สามารถตอบสนองความต้องการที่มีเพิ่มมากขึ้นนี้ได้ ดังนั้นธุรกิจแฟรนไชส์ซึ่งเข้ามาพร้อมกับการนำวัฒนธรรมตะวันตกให้ได้เป็นที่รู้จักคุ้นเคย กอปรกับการนำสินค้าที่มีคุณภาพ และการบริการระดับสูงเข้ามาสนองความต้องการที่เกิดเพิ่มมากขึ้นเหล่านี้ ประการที่สาม ระบบการเมืองการปกครองมีความมั่นคง และต้อนรับการลงทุนจากต่างชาติมากยิ่งขึ้น และประการที่สำคัญยิ่งกว่านั้น คือการที่รัฐบาลเวียดนามกำลังให้ความสำคัญในการปรับปรุงปัจจัยแวดล้องต่างๆ ทั้งหมดที่มีผลต่อสภาพแวดล้อมในการดำเนินธุรกิจ เพื่อเป็นการเตรียมตัวเข้าร่วมกับองค์การการค้าโลกในอนาคตอันใกล้นี้
กรมทรัพย์สินทางปัญญาแห่งชาติของเวียดนามภายใต้กระทรวงวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีรายงานว่าธุรกิจแฟรนไชส์ในปี 2548 ได้เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วกว่าแต่ก่อนมาก นับตั้งแต่ที่รูปแบบธุรกิจแฟรนไชส์ได้ถูกนำเข้ามาให้เป็นที่รู้จักกันในเวียดนามในช่วงเริ่มต้นปี 2533
ปัจจุบันนี้มีแฟรนไชส์ 530 แฟรนไชส์ เป็นทั้งแฟรนไชส์จากต่างประเทศและของท้องถิ่น การเปิดตัวของแฟรนไชส์ ต่างประเทศ ที่มีชื่อเสียงพร้อมการนำสินค้า และบริการเป็นที่รู้จักอย่างดีในต่างประเทศอยู่แล้วนั้น ทำให้นักธุรกิจรุ่นใหม่จำนวนมากที่กำลังมองหาโอกาสที่จะเริ่มต้นธุรกิจ สนใจที่จะประกอบธุรกิจกับแฟรนไชส์เหล่านี้
แฟรนไชส์เกือบทั้งหมดที่มีอยู่ในเวียดนาม เป็นแฟรนไชส์อาหารประเภทฟาสท์ฟู้ด สำหรับโอกาสของแฟรนไชส์ประเภทอื่นๆ โดยทั่วไปยังไม่เปิดตัวมากนัก ผู้เชี่ยวชาญภาคธุรกิจมองว่าการมีกฎหมายสำหรรับแฟรนไชส์ ขึ้นใหม่ รวมถึงกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ที่ก่อให้เกิดความเป็นธรรม สามารถช่วยแก้ไขปัญหาได้ถูกต้องนั้น จะทำให้ตลาดสำหรับแฟรนไชส์ สามารถเติบโตขึ้นได้เฉลี่ยถึงร้อยละ 20-30 ต่อปี เป็นระยะเวลาต่อไปในหลายปีข้างหน้า
การเติบโตสำหรับตลาดแฟรนไชส์ที่คาดการณ์ว่าจะเพิ่มสูงขึ้นมากขึ้น เป็นผลเนื่องมาจากที่มีการทำสัญญาประเภทมาสเตอร์แฟรนไชส์เกิดขึ้นใหม่ ระหว่างแฟรนไชส์ต่างชาติกับนักธุรกิจเวียดนามเป็นจำนวนมาก
โอกาสสำหรับธุรกิจแฟรนไชส์
มีปัจจัยหลายอย่างที่สนับสนุนแฟรนไชส์จากต่างประเทศให้เติบโตได้ในเวียดนาม ซึ่งจะเป็นการดึงดูดแฟรนไชส์ต่างประเทศให้เข้ามาในตลาดนี้ได้ในไม่ช้า ไม่เพียงแต่ธุรกิจประเภทอาหาร และเครื่องดื่มเท่านั้น แต่ธุรกิจประเภทอื่นๆ เช่น แฟชั่น บริการดูแลรถยนต์ ดูแลเด็ก ความสะอาด สุขอนามัย บริการจ้างงาน ท่องเที่ยว โรงแรม และโมเด็ล เครื่องเรือนตกแต่งบ้าน สินค้าและบริการด้านการศึกษา ร้านสะดวกซื้อ เครื่องสำอาง ดูแลความงาม และอื่นๆ
นอกจากนี้ ปัจจุบันตลาดเวียดนามมีความตั้งการอย่างมาก สำหรับอาหารและเครื่องดื่มที่มีมาตรฐานสูง ทั้งนี้ประชากรชาวเวียดนามจำนวน 82 ล้านคน มีจีดีพี ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องมาตลอด ประชากรมีแนวโน้มที่จะมีรายได้ และมีการจับจ่ายใช้สอยในการบริโภคอาหาร และเครื่องดื่มเพิ่มสูงขึ้น ดังนั้นในธุรกิจประเภทอาหารและเครื่องดื่มเป็นธุรกิจที่มีโอกาสมากที่สุดสำหรับตลาดเวียดนาม
แบรนด์สินค้าระดับสูงที่ได้รับความนิยมนั้น จะเป็นที่ต้องการ ในหมู่ผู้บริโภคชาวเวียดนามที่มองสินค้ามียี่ห้อจากตะวันตก ดังนั้นสินค้ามีแบรนด์จะเป็นสินค้าที่ได้รับการตอบรับจากชาวเวียดนามอย่างมาก สินค้าแบรนด์เนมดังกล่าวได้แก่สินค้าประเภทนาฬิกา เครื่องแต่งกายแฟชั่น รองเท้า และเครื่องกีฬา
ผู้ให้สิทธิ์แฟรนไชส์(แฟรนไชซอร์) นั้น ยังคงมีโอกาสในธุรกิจบริการประเภท เช่น การบริการเกี่ยวกับเด็กๆ สินค้าและบริการที่เกี่ยวกับการศึกษา บริการจัดหางาน ท่องเที่ยว สินค้าดุแลสุขภาพ เครื่องสำอาง ดูแลความสวยงาม ร้านค้าสะดวกซื้อ และร้านค้าปลีก
แฟรนไชส์ได้กลายเป็นธุรกิจที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลก แต่ยังคงอยู่ในช่วงเริ่มต้นในตลาดเวียดนาม นักวิเคราะห์เชื่อว่าแฟรนไชส์จะเป็นเครื่องมือทางการตลาด ที่ดีสำหรับบริษัทที่มียี่ห้อทางการค้า ซึ่งเป็นที่รู้จักดีแล้ว รายงานจากหน่วยงานปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาของเวียดนามกล่าวว่า เวียดนามมีแฟรนไชส์ท้องถิ่นอยู่ประมาณ 100 ยี่ห้อ สำหรับแฟรนไชส์ท้องถิ่นของเวียดนามที่ประสบความสำเร็จในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมานี้ ได้แก่ ร้านกาแฟ Trung Nguyen ร้านเบเกอรี่ Kinh Do ร้านเฝอ 24 ร้านผ้าไหม Chau
แฟรนไชส์เหล่านี้ประสบความสำเร็จกันอยู่ระดับหนึ่ง จึงยังคงต้องมีการพัฒนาและสร้างชื่อเสียงตรายี่ห้อการค้ากันต่อไปอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากยังคงมีสิ่งที่ท้าทายต่างๆ ที่แฟรนไชส์ที่ยังต้องเผชิญกันอยู่ตลอดเวลา ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาแฟรนไชส์ได้ตั้งข้อสังเกตว่ามาตรฐาน และการควบคุมคุณภาพ คือกุญแจสำคัญของความสำเร็จของธุรกิจแฟรนไชส์ทุกประเภทในตลาดเวียดนาม ซึ่งการขยายการเติบโตสร้างเครือข่ายโดยปราศจากกลไกของระบบการควบคุมคุณภาพที่เหมาะสมนั้น ในไม่ช้าก็เร็วระบบแฟรนไชส์เหล่านั้นจะต้องล้มเลิกไป สำหรับร้านกาแฟ Trung Nguyen ซึ่งเป็นธุรกิจแฟรนไชส์ร้านกาแฟของเวียดนามที่ได้รับความนิยมอันดับล่าสุดอยู่นั้นเป็นกรณีศึกษาอันหนึ่ง ที่หลังจากได้มีการขยายตัวร้านสาขาอย่างรวดเร็วเป็นจำนวนมากในปี 2543 ต้องเผชิญกับปัญหาการควบคุมและรักษาระดับมาตรฐานคุณภาพของร้านในแต่ละสาขาสมาชิกให้ได้
การนำเข้าสินค้า
สภาพแวดล้อมทางกฎหมาย
ในช่วงเวลาที่ผ่านมา ธุรกิจประเภทแฟรนไชส์ที่เข้ามายังขาดกฎหมายควบคุมดูแลอย่างชัดเจน และยังไม่มีกฏหมายแฟรนไชส์ที่เกี่ยวข้องโดยตรงในการควบคุมการดำเนินงาของแฟรนไชส์ ปัจจุบันกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจแฟรนไชส์ในเวียดนาม คือกฎหมายเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา และการถ่ายโอนทางเทคโนโลยี ตลอดจนกฎหมายที่ว่าด้วยการรับผิดชอบเรื่องสัญญา ภายใต้กฎหมายฉบับที่ 45 ออกโดยกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในปี พ.ศ.2541 กำหนดไว้ว่าแฟรนไชส์ถือเป็นธุรกิจรูปแบบหนึ่งที่มีการถ่ายทอดทางด้านความรู้ และเทคโนโลยี
วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ.2549 รัฐบาลได้ออกกฎหมายฉบับที่ 35/2006/ND-CP เพื่อใช้ในการกำกับดูแลแฟรนไชส์ในเวียดนามขึ้นฉบับใหม่
เนื้อหาทั้งหมดของกฎหมายได้แยกเรื่องแฟรนไชส์ออกมาต่างหาก จากจดหมายข่าวของกลุ่มที่ปรึกษาการลงทุนประจำวันที่ 26 เดือนมิถุนายน พ.ศ.2549 กล่าวว่ากฎหมายฉบับนี้ถือเป็นก้าวย่างที่สำคัญในความพยายามที่จะปรับปรุงกรอบกฎหมายแฟรนไชส์ของเวียดนาม อย่างไรก็ตามกฎหมายฉบับนี้ยังคงมีข้อบกพร่อมและกฎข้อบังคับที่ไม่เหมาะสม ในการบังคับเรื่องข้อกำหนดสัญญาแฟรนไชส์ ซึ่งข้อบังคับเหล่านี้เป็นตัวจำกัดการเติบโตของธุรกิจแฟรนไชส์ไม่ให้สามารถเติบโตอย่างที่คาดหมายไว้ได้
ในข้อตกลงการทำสัญญาแฟรนไชส์ พระราชกฤษฎีกา กำหนดให้สัญญาแฟรนไชส์ทุกสัญญาจะต้องจัดทำเป็นภาษาเวียดนาม หรือจัดทำเป็นภาษาเวียดนามแล้วแปลเป็นภาษาเดิมของประเทศเจ้าของสิทธิ์แฟรนไชส์ ในเชิงปฏิบัติแล้ว ข้อบังคับอันนี้สร้างความไม่สะดวกให้แก่แฟรนไชส์จากต่างประเทศเป็นอย่างสูง เนื่องจากมีแฟรนไชซีในประเทศอื่นๆ เป็นจำนวนมากอยู่แล้ว ที่ได้ใช้สัญญาฉบับมาตรฐานอันเดียวกันนี้โดยที่เป็นฉบับภาษาอังกฤษ ภาษาอังกฤษซึ่งถือว่าเป็นภาษากลางที่ใช้กัน ในทุกประเทศ การใช้ภาษาอังกฤษในการร่างสัญญาข้อตกลงต่างๆ เป็นการสร้างความมั่นใจให้กับทุกๆฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ดังนั้นสัญญาข้อตกลงที่กำหนดให้ต้องแปลเป็นภาษาเวียดนามนั้น เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดปัญหาความยุ่งยาก
บริษัทที่ปรึกษาต่างให้ความเห็นว่าควรมีการยกเลิกข้อกำหนดดังกล่าว เพื่อไม่เป็นการสร้างอุปสรรคืต่อบริษัทแฟรนไชส์ต่างประเทศที่พิจารณาว่าเวียดนามเป็นตลาดที่มีศักยภาพแห่งหนึ่ง
ภายใต้พระราชกฤษฎีการและคำประกาศนี้ ระบุว่าแฟรนไชส์ซอร์ต้องลงทะเบียนก่อนที่จะเซ็นต์สัญญาตกลงกับให้สิทธิ์แฟรนไชส์ใดๆในเวียดนาม
ในการจดทะเบียนแฟรนไชส์นั้น แฟรนไชส์ซอร์จะต้องยื่นเอกสารรายละเอียดที่เกี่ยวกับธุรกิจแฟรนไชส์ของตนเองทั้งหมด เอกสารนี้ต้องสอดคล้องกับฟอร์มมาตรฐานที่ระบุตามข้อประกาศตามกฎหมายของเวียดนาม การจดทะเบียนกับกระทรวงการค้านั้นสามารถจดได้เพียงครั้งเดียว หลังจากนั้นเมื่อมีการเซ็นต์สัญญาแฟรนไชส์กับแต่ละแห่งแล้ว ไม่ต้องจดทะเบียนกับกระทรวงฯ อีก
สำหรับเอกสารชี้แจงรายละเอียดที่เกี่ยวกับธุรกิจแฟรนไชส์จะต้องจัดส่งให้แก่แฟรนไชซีภายใน 15 วัน ก่อนที่จะมีการเซ็นต์สัญญาแฟรนไชส์ นอกเสียจากว่าทั้งแฟรนไชส์ซอร์ และแฟรนไชซี่ต่างเห็นพ้องร่วมกันว่าไม่ต้องการ p you export. export.gov
ข้อแนะนำสำหรับแฟรนไชส์ซอร์ที่ต้องการเข้าไปขยายตลาดเวียดนามซึ่งเป็นตลาดใหม่ ให้ประสบความสำเร็จ มีดังต่อไปนี้
1.แฟรนไซส์ซอร์ ควรจัดเตรียมเอกสาร และยื่นจดทะเบียน เพื่อขอคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาต่างหาก นอกเหนือจากการขอจดทะเบียน เพื่อขายแฟรนไชส์ในเวียดนาม และควรเตรียมการไว้อย่างดีในเรื่องของการถูกละเมิดลิขสิทธิ์ ตามคำแนะนำของสำนักงานกฎหมาย แฟรนไชส์ซอร์ควรจะต้องร่างสัญญาแฟรนไชส์ด้วยความรัดกุมเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นได้
2.ควรทำความเข้าใจเรื่องของความแตกต่างทางวัฒนธรรม และดัดแปลงกลยุทธ์การเข้าสู่ตลาดให้สอดคล้อง สิ่งที่แฟรนไชส์ซอร์ ควรพิจารณาเพื่อใช้ในการปรับกลยุทธ์การตลาด ได้แก่ วัฒนธรรมท้องถิ่น นิสัยใจคอ รสนิยม ทั้งนี้เพื่อให้สามารถเข้าไปสู่ตลาดได้อย่างประสบความสำเร็จ
3.ปรับราคาของสินค้าและค่าแฟรนไชซีลง เพื่อให้สามารถขยายตลาดได้สำเร็จอย่างรวดเร็ว คนเวียดนามคำนึงถึงราคาในการตัดสินใจเป็นอย่างมาก นอกจากนี้นักลงทุนชาวเวียดนามยังไม่คุ้นเคยกับแนวธุรกิจแบบแฟรนไชส์มากนัก ดังนั้นการติดต่อเจรจาธุรกิจกับนักลงทุนท้องถิ่นกลุ่มนี้จะต้องการความยืดหยุ่นที่มากกว่า
|