ทิศทางการพัฒนา โลจิสติกส์
รับมือการแข่งขันในตลาดโลก

     การเกิดขึ้นของกระแสโลกาภิวัตน์ หรือ Globalization ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของทุกภาคส่วนทั้งด้านสังคม และเศรษฐกิจ ยิ่งในเรื่องการค้าการขายการทำธุรกิจด้วยแล้ว ความรวดเร็วได้กลายเป็นปัจจัยสำคัญที่สร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน โดยเฉพาะในเรื่องการขนส่งสินค้าและบริการต้องการความมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น   ดังนั้นการบริหารด้วยระบบโลจิสติกส์ (Logistics)  ซึ่งเป็นกระบวนการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการการนำส่งสินค้าจากผู้ผลิตถึงผู้บริโภค  และช่วยเพิ่มขีดความสามารถให้แก่ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมทั้งในแง่การลดต้นทุนการผลิต  การสร้างมูลค่าเพิ่ม  การประหยัดพลังงาน  และการรักษาสิ่งแวดล้อมไปพร้อมๆกันด้วย
 นางอุไรวรรณ จันทรายุ ผู้อำนวยการส่วนเชื่อมโยงการผลิต สำนักพัฒนาอุตสาหกรรมสนับสนุน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการผลักดันการบริหารงานด้วยระบบโลจิสติกส์ไปสู่ผู้ประกอบการ SMEs   และเป็นผู้มีส่วนร่างแผนการพัฒนาโลจิสติกส์ภาคอุตสาหกรรม (Logistics Roadmap) ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาโลจิสติกส์ของประเทศไทย
 
 
ใช้โลจิสติกส์ลดต้นทุนการผลิต
     ผอ.อุไรวรรณ  จันทรายุ  กล่าวว่า  การจัดการโลจิสติกส์คือกระบวนนการจัดการและกระบวนการสารสนเทศที่ทำหน้าที่เป็นเสมือนแกนกลางในการแสวงหาแหล่งวัตถุดิบและบริการ  การจัดหา  การเก็บสินค้าเข้าคลังและการจัดส่งผลิตภัณฑ์ที่ถูกต้องไปยังสถานที่ที่ถูกต้องในเวลาที่เหมาะสมโดยมีการเก็บสินค้าคงคลัง การสิ้นเปลืองเวลา ค่าใช้จ่าย และเงินทุนน้อยที่สุดเพื่อที่จะทำให้ลูกค้าพึงพอใจอย่างมีประสิทธิผล ระบบโลจิสติกส์จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการแข่งขัน ทั้งในการลดต้นทุน การสร้างมูลค่าเพิ่ม การประหยัดพลังงาน และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ยิ่งปัจจุบันเป็นยุคแห่งโลกาภิวัตน์ มีการเปิดเสรีการค้ามากขึ้น ผลักดันให้ภาคธุรกิจต้องยกระดับความสามารถในการดำเนินธุรกิจในทุกวิถีทางที่เป็นไปได้ ธุรกิจในปัจจุบันจึงต้องแข่งขันด้วยความเร็ว ดังนั้นการเคลื่อนย้ายสินค้าและบริการจะต้องมีประสิทธิภาพ  โลจิสติกส์จึงเป็นทางออกของประเทศไทยในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคเอกชน
 “ธนาคารโลกประมาณการว่าในระดับธุรกิจ หากบริษัทสามารถลดต้นทุนการแข่งขันได้รัอยละ 1 จะทำให้ส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 5 สำหรับประเทศที่กำลังพัฒนาในเอเชียบางประเทศนั้น จะสามารถเพิ่มมูลค่าGDPได้ถึงร้อยละ 1.5-2 หากสามารถลดต้นทุนโลจิสติกส์ได้ร้อยละ 15-20”
 
 
 
 
แกะรอยยุทธศาสตร์โลจิสติกส์
     สำหรับแผนที่นำทางการพัฒนาโลจิสติกส์ที่กระทรวงอุตสาหกรรมจัดทำขึ้นนี้  ผอ.อุไรวรรณ กล่าวชี้แจงว่า ได้วางกรอบการทำงานไว้10 ปี คือตั้งแต่ ปี 2549-2558  เป็นการวางแผนระยะยาว  เพราะเล็งเห็นว่าจะทำอย่างไรให้ประเทศไทยมีการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ที่ได้มาตรฐานสู่ระดับสากล  เนื่องจากปัจจุบันการพัฒนาเรื่องนี้เรายังไปไม่ถึงไหน ในขณะที่ประเทศอื่นอย่างอเมริกาไปไกลมากเป็นระดับโกลบอลโลจิสติกส์ไปแล้ว ซึ่งในประเทศไทยผู้ประกอบการธุรกิจโลจิสติกส์ที่ไปถึงระดับโลกก็มีแต่เป็นในส่วนของบริษัทข้ามชาติที่ขยายการบริการเข้ามาในประเทศไทย ถามว่าแล้วผู้ประกอบการระดับเอสเอ็มอีของเราจะไปสู้ไหวไหม ก็เป็นหน้าที่ของกระทรวงอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งบทบาทของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมต้องสนับสนุนด้านนี้เพื่อพัฒนาให้เอสเอ็มอีรู้และเข้าใจ โดยเรื่องนี้เราเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2546 เมื่อครั้งที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเอเปค และได้รับเงินสนับสนุนจกาเอเปค 178,400 เหรียญสหรัฐฯ  โดยประเทศต่างๆ ได้เข้ามาแนะนำประเทศไทยให้มีการพัฒนาระบบโซ่อุปทาน หรือ Supply Chain ด้วยการสร้าง Support Center เพื่อดำเนินกิจกรรมพัฒนา SMEs ในแต่ละกลุ่มเศรษฐกิจขึ้นมา  จึงเห็นถึงความสำคัญในเรื่องนี้ และดำเนินกิจกรรมเพื่อพัฒนา SMEs ไปสู่ระบบโลจิสติกส์ตั้งแต่ปี 2546 เป็นต้นมา
      “แรกสุดเรามองภาพกว้างเห็นว่าระบบ Supply Chain Management จะเป็นตัวช่วยเพิ่มศักยภาพSMEs  เราไม่ได้มองแคบๆ แค่โลจิสติกส์ เพราะเราต้องการสร้างความเข้มแข็งทั้งระบบ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลชุดปัจจุบันตรงที่ต้องการเพิ่มผลิตภาพในภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะการพัฒนาประสิทธิภาพและผลิตภาพในกลุ่ม SMEs ให้มีความเข้มแข็งและมีการพัฒนาอย่างมีคุณภาพและมีความยั่งยืนมากยิ่งขึ้น”
 
บันได4ขั้นสู่ความสำเร็จ
      การดำเนินงานตาม Logistics Roadmap ของกระทรวงอุตสาหกรรม สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ในการพัฒนาโลจิสติกส์ของประเทศไทย ซึ่งหลายๆ หน่วยงานได้ร่วมกันร่างขึ้น โดยมีสำนักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเป็นแกนกลางในการจัดทำยุทธศาสตร์นี้ขึ้น   โดยในส่วนของ Logistics Roadmap จะประกอบด้วย 3 ยุทธศาสตร์ คือ
      ยุทธศาสตร์ที่ 1 การสร้างขีดความสามารถด้านโลจิสติกส์และ Supply Chain Management ให้ภาคอุตสาหกรรม แบ่งออกเป็น 3 กลยุทธ์ ได้แก่  1) ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพการจัดการโลจิสติกส์เชิงโซ่อุปทานในโรงงานอุตสาหกรรม  2) เสริมสร้างสมรรถนะบุคลากรภาคการผลิต  3) สร้างปัจจัยที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาโลจิสติกส์ภาคอุตสาหกรรม
      ยุทธศาสาตร์ที่ 2 การยกระดับประสิทธิภาพการพัฒนาการดำเนินงานของกระทรวงอุตสาหกรรมที่เอื้อต่อการประกอบธุรกิจของภาคอุตสาหกรรม แบ่งออกเป็น 2 กลยุทธ์ ได้แก่  1)พัฒนาประสิทธิภาพการให้บริการของกระทรวงอุตสาหกรรม  2) พัฒนาความสามารถของระบบให้เชื่อมโยงอย่างต่อเนื่องและอัตโนมัติ
      ยุทธศาสตร์ที่ 3 การสนับสนุนการสร้างเครือข่ายโลจิสติกส์ทั้งในและระหว่างประเทศ แบ่งออกเป็น 3 กลยุทธ์ ได้แก่ 1) ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการโลจิสติกส์ของไทยมีสภาพแวดล้อมที่สามารถแข่งขันกับบริษัทข้ามชาติได้ ประกอบด้วย 3 แผนงาน   2) ส่งเสริมให้เกิดการร่วมลงทุนความร่วมมือเชิงพันธมิตรกับต่างประเทศ   3) ผลักดันให้เกิดศูนย์รวบรวมและกระจายสินค้าของภาคอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการ
 “เป้าหมายการพัฒนาโลจิสติกส์ภาคธุรกิจอุตสาหกรรม แบ่งเป็นบันได 4 ขั้นสู่ความสำเร็จ คือช่วงปี      2549-2550 เป็นบันไดขั้นแรกเน้นการจัดการเฉพาะหน่วยย่อยในองค์กร หรือ Physical Distribution จากนั้นช่วงปี 2550-2553 เป็นบันไดขั้นที่ 2 เน้นการเชื่อมโยงการจัดการภายในบริษัทตั้งแต่การจัดซื้อวัตถุดิบจนจัดส่งถึงผู้บริโภค หรือ Internally Integrated Logistics  บันไดขั้นที่ 3 ช่วงปี 2553-2556 เน้นการเชื่อมโยงระหว่างบริษัทด้วยระบบโซ่อุปทาน (Supply Chains)  หรือ Externally Integrated Logistics และบันไดขั้นที่4 ช่วงปี 2556-2558 เน้นการจัดซื้อวัตถุดิบและจัดส่งสินค้าครอบคลุมแหล่งต่างๆงทั่วโลก หรือ Global Logistics Management” ผอ.อุไรวรรณ  กล่าวอธิบายขั้นตอนการวางแผนพัฒนาระบบโลจิสติกส์
 
เสริมกำลังเพิ่มศักยภาพSMEs 
     ผอ.อุไรวรรณ กล่าวเสริมว่า โครงการต่างๆ ภายใต้ Roadmap ของกระทรวงอุตสาหกรรม ทุกหน่วยงานมุ่งเน้นเป้าหมายให้อุตสาหกรรมไทยมีระบบโลจิสติกส์ที่ได้มาตรฐานสากลสู่ระดับโลก ซึ่งกลุ่มอุตสาหกรรมที่เป็นเป้าหมายในการพัฒนา ได้แก่ อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยาง และอุตสาหกรรมสิ่งทอ เป็นต้น โดยอุตสาหกรรมเหล่านี้จัดอยู่ในการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมของกระทรวงอุตสาหกรรมก้าวสู่อุตสาหกรรมยุคใหม่ (Industrial Modernization)  ซึ่งจะเน้นในเรื่องการลดต้นทุนการผลิตและการสร้างมูลค่าเพิ่ม สำหรับในเรื่องการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ก็จะเน้นการสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า คือการจัดส่งสินค้าถึงมือลูกค้าได้อย่างตรงเวลา รวดเร็ว และปลอดภัย  
     “เรื่องการให้คำปรึกษาแนะนำเพื่อพัฒนาศักยภาพการจัดการในโลจิสติกส์เชิงโซ่อุปทานในโรงงานอุตสาหกรรม เป็นกิจกรรมที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมดำเนินการมาตลอดตั้งแต่ปี 2546 โดยในปีที่แล้วทำทั้งหมด 45 ราย เราเข้าไปช่วยเขียนแผนให้ผู้ประกอบการ ช่วยพัฒนาเสริมสร้างสมรรถนะบุคลากร มีการพัฒนาหลักสูตร สร้างองค์ความรู้ พัฒนาบุคลากรภาคการผลิต สร้างที่ปรึกษาผู้ชำนาญการ สร้างความรู้ความเข้าใจด้าน          โลจิสติกส์ ตรงส่วนนี้คือกิจกรรมที่เราจะทำเหมือนกันในปี 2550 แต่ที่พิเศษคือจะเป็นการฝึกอบรมในเชิงลึกให้ผู้ประกอบการมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องนี้และสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิผล”
 ขณะนี้ผู้ประกอบการ SMEs ได้ให้ความสนใจเกี่ยวกับระบบโลจิสติกส์  การที่หน่วยงานราชการอย่างกรมส่งเสริมอุตสาหกรร

 

รับสมัครงานด่วนหลายตำแหน่ง more...
 
26 ก.พ.-1 มี.ค. 52 พบกับงานซื้อ-ขายธุรกิจครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งปี 52 งานโอกาสธุรกิจ&แฟรนไชส์ ครั้งที่ 13....
 
แบบสอบถามแฟรนไชส์ซี่ (รับสิทธิ์สมัครสมาชิกนิตยสารฯ ฟรี!! 1 ปี)
ถ้าไม่สามารถอ่านเอกสารได้
ดาวน์โหลดโปรแกรมที่นี่....
            
 
 
 

บริการงานเว็บไซค์

 

 
 
- ditto world
- music palace
- pompadour
- blink
- สังขยา กาแฟ
- big move
- โจเอลลี่ โมอีส
- จันทร์สว่าง