เดิมชื่อนายทิม พรหมประดู่ เกิดเมื่อวันที่ ๒๑ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๕๕ ที่บ้านนาประดู่ ต.นาประดู่ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี เป็นบุตรของนายอินทอง กับ นางนุ่ม พรหม ประดู่ เมื่ออายุได้ ๙ ขวบ บิดามารดาได้ฝากให้อยู่กับ พระครูภัทรกรณ์โกวิท ซึ่งขณะนั้นยังเป็น พระแดง ธัมมโชโต เจ้าอาวาสวัดนาประดู่ ซึ่งอยู่ใกล้บ้าน เพื่อจะได้เรียนหนังสือ
เมื่ออายุ ๑๘ ปี ได้บวชเป็นสามเณร จากนั้นก็สึกออกมาช่วยบิดามารดาทำนา จนอายุได้ ๒๐ ปี จึงบวชเป็นพระภิกษุที่วัดนาประดู่ จำพรรษาอยู่ ๒ พรรษา แล้วจึงย้ายไปอยู่ที่วัดมุจลิน ทวาปีวิหาร อ.หนองจิก จ.ปัตตานี เพื่อศึกษาพระปริยัติ ธรรม ในปี พ.ศ.๒๔๘๔ ได้ย้ายไปเป็นเจ้าอาวาสที่วัด ราษฎร์บูรณะ(วัดช้างไห้) ซึ่งตอนแรกก็ยังคงไปๆ มาๆ ระหว่างวัดช้างไห้กับวัดนาประดู่ เพราะท่านยังคงเป็นครูสอนพระปริยัติธรรมอยู่ที่วัดนาประดู่ด้วย
ช่วงที่เกิดสงครามโลกครั้งที่ ๒ ทหารญี่ปุ่นยกพล ขึ้นบกที่ปัตตานี กองทหาร และสัมภาระต่างๆ ได้ถูกบรรทุกโดยรถไฟสายใต้จากหาดใหญ่ไปสุไหงโก-ลก ผ่านหน้าวัดช้างไห้ วันละหลายเที่ยวหลายขบวน ชาวบ้านในละแวกนั้นต่างหวาดผวากับภัยสงครามเสีย ขวัญและกำลังใจกันเป็นอย่างมาก ต้องรับภาระหนัก คือ ต้องจัดหาอาหารและที่พักแก่ผู้ที่เดินทางผ่านวัดไม่เว้นแต่ละวัน นับว่าท่านเป็นพระผู้ทรงความเมตตา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แก่คนทั่วไปเป็นอย่างยิ่ง
เมื่อท่านไปอยู่ที่วัดช้างไห้ใหม่ๆนั้น วัดอยู่ในสภาพที่ถูกทิ้งร้างทรุดโทรม ท่านได้ริเริ่มตกแต่งสถูปที่บรรจุ อัฐิหลวง ปู่ทวด ให้เป็นที่น่าเคารพบูชา ท่านได้ดำริที่จะ สร้างพระอุโบสถพร้อมบูรณะปรับปรังบริเวณวัดให้ดีกว่าเดิม ท่านจึงได้ร่วมจัดสร้างพระเครื่องหลวงปู่ทวด ซึ่งในครั้งนั้นได้ปัจจัยจากผู้มีจิตศรัทธาเป็นจำนวนหนึ่ง ซึ่งพระอาจารย์ทิม ได้เงินจำนวนนั้นมาใช้สำเร็จตามความประสงค์ ท่านเป็นผู้รื้อฟื้นประวัติของพระราชมุนีสามีรามคุณู ปมาจารย์ หรือหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด เจ้าอาวาสองค์แรกของวัดช้างไห้ ให้เป็นที่รู้จักของพุทธ ศาสนิกชนทั่วไป
พระอาจารย์ทิมเป็นผู้มีจิตเมตตาเคร่งครัดในพระธรรมวินัย แม้คนต่างชาติต่างภาษา ยังให้ความเคารพศรัทธา ท่านอาพาธด้วยโรคมะเร็งที่หลอดอาหาร กระทั่งมรณภาพเมื่อวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๑๒ แต่สิ่งที่ท่านได้สร้างไว้ ล้วนเป็นสิ่งที่บอกได้ถึงความ มุมานะและความพยายาม ที่จะทะนุบำรุงพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองสืบเนื่องต่อไป